สส.-สว. ลงมติกดปุ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญ เตรียมตั้ง ส.ส.ร

รัฐสภาผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแค่ 2 ร่าง ตีตกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ และอีก 4 ร่าง

วันที่ 18 พ.ย.63 ที่ประชุมได้เริ่มลงมติทั้ง 7 ร่าง ใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง และนับผลการลงมติอย่างเป็นทางการอีกประมาณเกือบ 2 ชั่่วโมง ผลเป็นดังนี้

ร่างที่ 1 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของของพรรคร่วมฝ่ายค้าน แก้มาตรา 256 ตั้งส.ส.ร.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่

รับหลักการ 576 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.449 ส.ว.127 เสียง ไม่รับหลักการ 21 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.8  เสียง ส.ว.13 เสียง งดออกเสียง 123 เสียง ส.ส.26 เสียง ส.ว.97 เสียง

ร่างที่ 2 ร่างของพรรคร่วมรัฐบาล แก้มาตรา 256 ตั้งส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญ

รับหลักการ 647 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.471 ส.ว.176 เสียง ไม่รับหลักการ 17 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.17 เสียง และ ส.ว.17 เสียง งดออกเสียง 55 เสียง ส.ส.3 เสียง ส.ว.52 เสียง

ร่างที่ 3 แก้มาตรา 272 และ 159 ไม่ให้ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ

รับหลักการ 213 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.209 ส.ว.4 เสียง ไม่รับหลักการ 35 คะแนน งดออกเสียง 472  เสียง

ร่างที่ 4 แก้มาตรา 270 และ 271 ว่าด้วยอำนาจของส.ว.ต่อการติดตามการปฏิรูปประเทศ

รับหลักการ 268 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.212 ส.ว.56 เสียง ไม่รับหลักการ 20 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.8  เสียง ส.ว.12 เสียง งดออกเสียง 432  เสียง ส.ส.263 เสียง ส.ว.169 เสียง

ร่างที่ 5 แก้มาตรา 279 ยกเลิกการรับรองคำสั่งและประกาศของคสช.

รับหลักการ 209  คะแนน เป็น ส.ส.209 ส.ว. 0 เสียง ไม่รับหลักการ 51 เสียง งดออกเสียง 460 เสียง ส.ส.261 เสียง ส.ว.199 เสียง

ร่างที่ 6 แก้ระบบการเลือกตั้งส.ส. ให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

รับหลักการ 268 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.209 ส.ว.59 เสียง ไม่รับหลักการ 19 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.8  เสียง ส.ว.11 เสียง งดออกเสียง 432 เสียง ส.ส.265 เสียง ส.ว.167 เสียง

และร่างที่ 7 ร่างแก้รัฐธรรมนูญของภาคประชาชน ที่เสนอโดยไอลอว์

รับหลักการ 212 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.209 ส.ว.3 เสียง ไม่รับหลักการ 139 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส.61  เสียง ส.ว.78 เสียง งดออกเสียง 369  เสียง ส.ส.213 เสียง ส.ว.156  เสียง

โดยเลขาธิการรัฐสภา ได้เริ่มขานชื่อสมาชิกรัฐสภาเรียงลำดับตามตัวอักษร ก่อนที่สมาชิกแต่ละคนจะขานมติว่า รับ-ไม่รับ-งดออกเสียง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละร่าง ตั้งแต่ร่างที่ 1-7 ใช้เวลาลงคะแนนเกือบ 4 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ในการผ่านวาระ 1 ขั้นรับหลักการ ต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภา “ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่สองสภา” หรือ 366 จาก 732 เสียง (มี ส.ส. ปฏิบัติหน้าที่ได้ 487 คน และ ส.ว. 245 คน) ในจำนวนนี้ต้องเป็นคะแนนเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. “ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3” ของวุฒิสภาที่มีอยู่ หรือ 84 คน

นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ ในฐานประธานวิปรัฐบาล พร้อมด้วยนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ระบุว่า ผลการลงมติชี้ชัดแล้วว่า มีเพียง 2 ร่าง ที่ผ่านพิจารณาเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภา จำนวน 1 ใน 3

สำหรับผลการลงมติอย่างไม่เป็นทางการ ตามที่เพจ Work point Today สรุปไว้ดังนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล รับหลักการทั้งญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ของรัฐบาล และ ของพรรคฝ่ายค้าน ส่วนญัตติอื่นๆ ที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทยเกือบทั้งหมดลงมติ “งดออกเสียง” อย่างไรก็ตาม “ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ” รมว.ศึกษาธิการ ได้ประกาศลงมติไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ซึ่งถือว่าเป็นการไม่ทำตามมติของวิปรัฐบาล

ส่วน ส.ว.ที่รับหลักการร่างไอลอว์ ทั้งหมดเป็น ส.ส.จาก 6 พรรคฝ่ายค้าน แต่มี ส.ว.ที่ลงมติรับหลักการเช่นกัน 3 คน คือ นายนวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  นายพีระศักดิ์ พอจิต และ พิศาล มาณวพัฒน์

ในเวลาเดียวกัน  เพจของพรรคก้าวไกล และทวิตเตอร์ของไอลอว์ ได้ประกาศว่าร่างของไอลอว์ตกไปแล้ว ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ของไอลอว์ @iLawclub เมื่อเวลา 16.36 น.ว่า หลังผ่านการลงมติไป 500+ คน เหลืออีก 232 คน ร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนเข้าชื่อกันเสนอ มี ส.ว. ลงมติไปแล้ว 183 คน “รับหลักการ” 3 คน เหลือ ส.ว. ที่จะลงมติไม่ถึง 79 คน ร่างฉบับนี้จึงตกไป

ส่วนเพจเฟซบุ๊กของพรรคก้าวไกล พรรคก้าวไกล – Move Forward Party โพสต์เมื่อเวลา 17.15 น. ระบุตอนหนึ่งว่า ผลการลงมติล่าสุดในการพิจารณาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการประชุมร่วมของ 2 สภา พบว่า ญัตติที่ 3 – 7 ตกแล้วอย่างแน่นอน

-วิปรัฐบาล-สว. ชิงประกาศชัยชนะ ผ่าน 2 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

-เช็กเสียง สส-สว. ก่อนโหวต แก่รัฐธรรมนูญ ไอลอว์-7 ร่าง