ประยุทธ์ อุ้มงบฯบุคลากรภาครัฐ ปี 2566 ทะลุ 7.7 แสนล้าน

ประยุทธ์

อายุขัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขีดเส้นไว้หลังจากจบการประชุมเอเปก-ปลายปี 2566 ผ่านการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท จัดงบฯทิ้งทวนก้อนสุดท้ายก่อนครบวาระ

สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 เม็ดเงินกว่า 30,185 ล้านล้านบาท ที่จะเข้าสู่สภาพิจารณาวาระแรกวันที่ 1-2 มิ.ย. 2565 แบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 2,396,942.2 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 695,077.4 ล้านบาท รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 100,000 ล้านบาท

จำแนกรายกระทรวง งบฯกลาง 590,470 ล้านบาท สำนักนายกรัฐมนตรี 32,477 ล้านบาท กระทรวงกลาโหม 197,292 ล้านบาท กระทรวงการคลัง 285,230 ล้านบาท กระทรวงการต่างประเทศ 7,556 ล้านบาท

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 5,330 ล้านบาท กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 24,626 ล้านบาท กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 124,748 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 126,067 ล้านบาท กระทรวงคมนาคม 180,502 ล้านบาท

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 6,822 ล้านบาท กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 30,638 ล้านบาท กระทรวงพลังงาน 2,707 ล้านบาท กระทรวงพาณิชย์ 6,489 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย 325,578 ล้านบาท กระทรวงยุติธรรม 24,693 ล้านบาท กระทรวงแรงงาน 54,338 ล้านบาท

กระทรวงวัฒนธรรม 6,748 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ 325,900 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุข 156,408 ล้านบาท กระทรวงอุตสาหกรรม 4,490 ล้านบาท ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี 125,257 ล้านบาท

จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 21,727 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจ 162,989 ล้านบาท หน่วยงานของรัฐสภา 7,752 ล้านบาท หน่วยงานของศาล 22,959 ล้านบาท หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ 19,085 ล้านบาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 81,180 ล้านบาท หน่วยงานอื่นของรัฐ 477 ล้านบาท สภากาชาดไทย 8,854 ล้านบาท ส่วนราชการในพระองค์ 8,611 ล้านบาท และทุนหมุนเวียน 206,985 ล้านบาท

นอกจากงบฯแผนงาน-โครงการแล้ว งบประมาณรายจ่ายบุคลากรภาครัฐในปี’66 ตั้งไว้สูงถึง 772,119 ล้านบาท ประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกำกับ จำนวน 6,922 ล้านบาท กระทรวงกลาโหม จำนวน 107,439 ล้านบาท กระทรวงการคลัง จำนวน 12,968 ล้านบาท กระทรวงการต่างประเทศ จำนวน 3,777 ล้านบาท กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 1,749 ล้านบาท

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 2,789 ล้านบาท กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 77,006 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 24,184 ล้านบาท กระทรวงคมนาคม จำนวน 9,633 ล้านบาท

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 1,618 ล้านบาท กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 11,356 ล้านบาท กระทรวงพลังงาน จำนวน 840 ล้านบาท กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 2,641 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย จำนวน 47,319 ล้านบาท

กระทรวงยุติธรรม จำนวน 10,667 ล้านบาท กระทรวงแรงงาน จำนวน 3,933 บาท กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 2,469 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 204,023 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 117,824 ล้านบาท กระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 1,593 ล้านบาท

ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี จำนวน 85,303 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจ จำนวน 2,587 ล้านบาท หน่วยงานของรัฐสภา จำนวน 4,510 ล้านบาท หน่วยงานของศาล จำนวน 15,389 ล้านบาท หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ จำนวน 13,286 ล้านบาท และหน่วยงานอื่นของรัฐ จำนวน 284 ล้านบาท

ขณะที่ 5 อันดับที่ได้รับ “งบฯบุคลากร” สูงที่สุด ได้แก่ อันดับ 1 กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 204,023 ล้านบาท อันดับ 2 กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 117,824 ล้านบาท อันดับ 3 กระทรวงกลาโหม จำนวน 107,439 ล้านบาท

อันดับ 4 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี จำนวน 85,303 ล้านบาท และอับดับ 5 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 77,006 ล้านบาท

ที่ผ่านมางบฯรายจ่ายบุคลากรภาครัฐในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ที่มาจากการเลือกตั้งมีแนวโน้มที่ลดลง ดังนี้ ปี’66 จำนวน 772,119 ล้านบาท ปี’65 จำนวน 770,159 ล้านบาท ปี’64 จำนวน 782,566 ล้านบาท ปี’63 จำนวน 777,549 ล้านบาท ปี’62 จำนวน 1,060,960 ล้านบาท ปี’61 จำนวน 1,021,488 ล้านบาท

ทว่า สวนทางกับ “งบฯกำลังพล” ของกระทรวงกลาโหม ตลอด 6 ปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีบางปีที่ลดลง แต่ปีถัดไปกลับกระโดดขึ้นมาเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้ถูกจับตา-ถูกชำแหละจากพรรคฝ่ายค้าน เป็นตำบลกระสุนตกในสภา รองลงมาจาก “งบฯจัดซื้ออาวุธ”

งบฯบุคลากรกระทรวงกลาโหม ปี’66 จำนวน 107,439 ล้านบาท ปี’65 จำนวน 105,034 ล้านบาท ปี’64 จำนวน 103,293 ล้านบาท ปี 63 จำนวน 104,682 ล้านบาท ปี 62 จำนวน 106,460 ล้านบาท ปี 61 จำนวน 104,335 ล้านบาท ปี 60 จำนวน 103,943 ล้านบาท

เจาะเข้าไปใน “งบกำลังพล” ในแต่ละกรม-กอง เหล่าทัพเพิ่มขึ้นทุกปี งบฯบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ปี’66 จำนวน 4,127 ล้านบาท ปี’65 จำนวน 4,035 ล้านบาท ปี’64 จำนวน 4,107 ล้านบาท ปี’63 จำนวน 4,101 ล้านบาท ปี’62 จำนวน 4,035 ล้านบาท ปี’61 จำนวน 3,918 ล้านบาท ปี’60 จำนวน 4,744 ล้านบาท

งบฯบุคลากรกองทัพบก ปี’66 จำนวน 60,237 ล้านบาท ปี’65 จำนวน 58,891 ล้านบาท ปี’64 จำนวน 58,092 ล้านบาท ปี’63 จำนวน 59,728 ล้านบาท ปี’62 จำนวน 60,898 ล้านบาท ปี’61 จำนวน 59,210 ล้านบาท ปี’60 จำนวน 58,500 ล้านบาท

งบฯบุคลากรกองทัพเรือ ปี’66 จำนวน 21,511 ล้านบาท ปี’65 จำนวน 21,282 ล้านบาท ปี’64 จำนวน 20,752 ล้านบาท ปี’63 จำนวน 20,484 ล้านบาท ปี’62 จำนวน 20,856 ล้านบาท ปี’61 จำนวน 20,345 ล้านบาท ปี’60 จำนวน 20,083 ล้านบาท

งบบุคลากรกองทัพอากาศ ปี’66 จำนวน 14,167 ล้านบาท ปี’65 จำนวน 13,457 ล้านบาท ปี’64 จำนวน 13,092 ล้านบาท ปี’63 จำนวน 13,150 ล้านบาท ปี’62 จำนวน 13,293 ล้านบาท ปี’61 จำนวน 13,494 ล้านบาท ปี’60 จำนวน 13,406 ล้านบาท

งบฯบุคลากรกองบัญชาการกองทัพไทย ปี’66 จำนวน 7,120 ล้านบาท ปี’65 จำนวน 7,100 ล้านบาท ปี’64 จำนวน 6,983 ล้านบาท ปี’63 จำนวน 6,939 ล้านบาท ปี’62 จำนวน 7,130 ล้านบาท ปี’61 จำนวน 7,123 ล้านบาท ปี’60 จำนวน 6,973 ล้านบาท

งบฯบุคลากรสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ปี’66 จำนวน 274 ล้านบาท ปี’65 จำนวน 265 ล้านบาท ปี’64 จำนวน 264 ล้านบาท ปี’63 จำนวน 276 ล้านบาท ปี’62 จำนวน 245 ล้านบาท ปี’61 จำนวน 242 ล้านบาท ปี’60 จำนวน 237 ล้านบาท

สำหรับปฏิทินำการจัดทำงบประมาณปี’66 หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ ในวันที่ 17 พ.ค. 65 แล้ว

วันที่ 1-2 มิ.ย. 65 สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างในวาระที่ 1

วันที่ 6 มิ.ย.-5 ส.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาร่าง (ขั้นกรรมมาธิการวิสามัญฯ)

6 มิ.ย. 65 ประชุมนัดแรก เพื่อกำหนดแนวทางการพิจารณาร่าง ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ

7 มิ.ย.-27 ก.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาร่าง จำแนกตามหน่วยรับงบประมาณ

วันที่ 21 มิ.ย. 65 การเพิ่มงบประมาณรายจ่ายฯ ปี’66 (ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การเพิ่มงบประมาณรายจ่ายฯ ปี 66

วันที่ 22 มิ.ย.–1 ก.ค. 65 หน่วยรับงบประมาณ จัดทำรายละเอียดการเพิ่มงบประมาณร่ายจ่ายณ ปี’66 ส่งสำนักงบประมาณ

วันที่ 4 ก.ค.-19 ก.ค. 65 สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำรายละเอียดการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายฯ ปี’66

วันที่ 26 ก.ค. 65 ครม.เห็นชอบรายการเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายฯ ปี’66

วันที่ 1 ส.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นัดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้แปรญัตติเสนอคำแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ

วันที่ 2-4 ส.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญณ พิจารณารายการแปรญัตติเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายฯ ปี’66 ของหน่วยรับงบประมาณ

วันที่ 5 ส.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ

วันที่ 6 ส.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ตรวจรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ

วันที่ 7-9 ส.ค. 65 สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดพิมพ์รายงานประกอบการพิจารณาร่างฯ

วันที่ 10 ส.ค. 65 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ส่งรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร

วันที่ 17-18 ส.ค. 65 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่าง ในวาระที่ 2-3

วันที่ 29-30 ส.ค. 65 วุฒิสภา พิจารณาร่าง

วันที่ 6 ก.ย. 65 สำนักเลขาธิการ ครม. นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป