จับตาเฟดขึ้นดอกเบี้ย คุมเงินเฟ้อ VS เส้นทางสู่ภาวะถดถอย

จับตาเฟดขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 3 กันยายนนี้ จะคุมเงินเฟ้อได้ไหมหรือการขึ้นดอกเบี้ยแรงติดต่อกันจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย กับ “กวี ชูกิจเกษม” ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)

วันที่ 5 กันยายน 2565 ก้าวเข้าสู่เดือนกันยายนพร้อม ๆ กับการนับถอยหลังสู่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3  แม้เงินเฟ้อสหรัฐในเดือนกรกฏาคมจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 8.5% จาก 9% ในเดือนมิถุนายน แต่ประธานเฟดอย่าง  “เจอโรม พาวเวล” ยังคงยืนยันจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อที่ยังสูงอยู่ต่อไป   ดังนั้นการประชุมในเดือนกันยายนนี้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเท่าไหร่ และจะมีแนวโน้มอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องจับตาดู

สัปดาห์นี้  Prachachat Wealth เล่าเรื่องการลงทุน ได้พูดคุยกับ “กวี ชูกิจเกษม” ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)  ถึงแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและทิศทางเงินเฟ้อ

Q :เงินเฟ้อสหรัฐรายงานออกมาเดือนกรกฎาคมปรับลดลงมาจากระดับ 9% ในเดือนก่อน ในการปรับลดลงครั้งนี้มองว่ามันเป็นการลดลงเลย เป็นทิศทางที่จะเป็นขาลงเลยไหมหรือว่าเป็นชั่วคราว แล้วประเมินทิศทางเงินเฟ้อของสหรัฐต่อจากนี้อย่างไร

จริง ๆ แทบจะไม่ต้องตอบคำถามนี้เลย เพราะว่าตลาดตอบคำถามแทนไปแล้ว ตัวราคาหุ้นหลังจากที่มีประกาศตัวเลขเงินเฟ้อลดลงมาตลาดหุ้นก็มีการรีบาวน์กลับขึ้นไปค่อนข้างแรงก่อนหน้านี้  ดังนั้นตลาดก็คิดไปแล้วล่ะว่าเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาน่าจะถึงจุดพีก  สิ่งหนึ่งที่ทุกคนกังวลก็คือว่าเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงมามันจะลดลงมาได้มากน้อยแค่ไหนมากกว่า  เพราะว่าตอนนี้ 8.5%  ในสหรัฐอเมริกา ของไทยเราก็ไม่แพ้กันนะครับ ประมาณเดียวกัน ไม่ได้อยู่ในจุดที่ต่ำเลยถึงแม้ว่าจะปรับตัวลดลงมาแล้ว

เป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐคือระดับ 2%  ซึ่ง 2% นี่คือกรอบบนนะ  จริง ๆ มันคือ 1-2%   2% คือกรอบบน จริง ๆ อยู่ตรง 2% ต้น ๆ นี่เขาก็ไม่พอใจถือว่าเกินกรอบบนที่เขาจะรับได้  ดังนั้นเนี่ยหลายคนก็ต้องบอกว่าเงินเฟ้อถึงแม้ว่าจะปรับตัวลดลงมาแต่ว่ายังไม่มั่นใจว่าการปรับตัวลดลงมาจะต่อเนื่องไหม  เพราะว่ามันมีอีกหลาย ๆ ปัจจัยที่เรายังคาดการณ์ไม่ได้ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยให้เงินเฟ้อลงได้จริงไหม เพราะว่าปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก อย่างเช่น พอเข้าสู่ฤดูหนาวราคาก๊าชธรรมชาติปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น  ราคาน้ำมันจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามไหม

ในกรณีที่สองคือตอนนี้เรายังไม่รู้ผลกระทบชัดเจนเท่าไหร่จากความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวัน เรื่องที่สามหลายคนคงได้เห็นข่าวก็คือน้ำท่วม แต่คราวนี้คือถ้าเราไปดู จริง ๆ มันเกิดขึ้นแบบนี้ทั่วโลกเลย  แต่ว่ากลายเป็นว่าวันนี้จีนแห้งแล้งมากถึงขนาดไม่สามารถผลิตไฟโดยใช้กระแส โดยใช้พลังงานน้ำได้และก็ต้องปิดไฟในตัวเมืองในช่วงกลางคืนอยู่หลายวัน ตรงนี้มันก็จะเป็นประเด็นที่สามว่าแล้วราคาสินค้าเกษตรที่เกิดขึ้นจากภาวะน้ำท่วมและภัยแล้ง แล้วมันจะทำให้เงินเฟ้อที่คิดว่าจะลงมันจะลงได้ไหม

อันนี้คือสิ่งที่สุดท้ายวันประชุมแจ็คสัน โฮล ที่แคนซัส ซิตี้เจอโรม พาวเวล เขาออกมาเตือนมาเงินเฟ้อที่ลดลงจาก 9% เป็น 8%  เขาดีใจที่ได้เห็น  แต่เขาพูดประโยคต่อไปแต่มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย คือฟังแล้วก็เหมือนกับที่พี่พูดตอนต้น 8% มันก็ยังสูงนะ แล้วเขาก็บอกว่ายังมีงานอีกมากที่จะต้องทำ

ดังนั้นเนี่ยเขาก็บอกว่าดอกเบี้ยมันคงต้องขึ้นไปจนถึงจุดที่จะทำให้เงินเฟ้อมันลดลงมาอยู่ในระดับ 2% ได้ จาก  8% ลงไป 2% นี่งานคงหนักน่าดู อันนี้มันก็จะยิ่งกดดันให้ดอกเบี้ยต้องขึ้นไปเรื่อย ๆ  เราก็กลัวเหมือนกันว่าการที่เราจะกดเงินเฟ้อให้มาอยู่ในระดับปกติมันจะนำไปสู่การที่จำเป็นต้องให้เศรษฐกิจมันเข้าสู่ภาวะหดตัวไหม

Q : ในเดือนกันยายนนี้ จะมีการประชุมแล้วก็ปรับขึ้นดอกเบี้ย ในการประชุมครั้งนี้คุณกวีมองอย่างไร เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยแรงไหม เพราะว่าท่าทีของเขาในการประชุมที่แจ็คสัน โฮล คราวก่อนก็ยังกังวลเงินเฟ้อค่อนข้างมาก

เดิมทีเดียวก่อนการประชุมก่อนที่พาวเวลจะพูด  ก็มองว่าโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกันยายนอยู่ที่ 0.75%  พอหลังจากพาวเวลพูดเสร็จเขาก็ยังมอง 0.75% อยู่ แต่มุมมองที่เปลี่ยนไปคืออะไรรู้ไหม  คือการประชุมครั้งต่อ ๆ ไปหลังจากกันยายน ก็คือพฤศจิกายนและธันวาคม

ซึ่งเขามองว่าดอกเบี้ยเดิมที่เดียวสิ้นปีน่าจะจบที่ 3.75% ตอนนี้ตลาดมองว่าสิ้นปีจะจบที่ 4%  ตรงนี้คือมุมมองที่เปลี่ยนไป แล้วถามว่าที่เปลี่ยนไปแล้วมันสะท้อนภาพที่ไหน ก็ไปอยู่ที่ตัวบอนด์ยีลด์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยเฉพาะอายุ 2 ปี ซึ่ง 2 ปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นแรง   แสดงว่าเขากังวลว่าดอกเบี้ยระยะสั้นจะขึ้น  ตอนนี้มันไม่มีใครที่มีความมั่นใจระดับ 50%  ขึ้นไปแล้วนะว่าดอกเบี้ยจะจบที่เท่าไหร่

Q : จะมีจุดที่ดูไหมคว่าการที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยทำจะทำให้เงินเฟ้อลดลง มันมีสัญญาณหรืออะไรในการดูไหมว่าเฟดประสบความสำเร็จ เรื่องของเงินเฟ้อ

สัญญาณอะไรที่จะแบบว่าแล้วเงินเฟ้อลดลงมาถึงระดับไหน แต่เฟดก็บอกว่า 2% แต่ต้องบอกนิดนึงก่อนว่ามันไม่มีสัญญาณอะไรที่จะชัดเจนเท่าตลาดหุ้น แต่พอพี่ไปดูปรากฏว่าในสถิติที่ผ่านมา ตอนนี้เรายังไม่รู้นะว่าดอกเบี้ยสูงสุดเมื่อไหร่นะ  แต่เมื่อใดก็ตามที่ดอกเบี้ยขึ้นไปถึงจุดสูงสุด มันอยู่จุดสูงสุดอยู่พักหนึ่ง แล้วหุ้นถึงจุด ๆ นั้นหุ้นจะเริ่มหยุดลงแล้ว พอดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุด มันจะใช้เวลาอีกพักหนึ่งจะเกิด Recession   ให้ระหว่างดอกเบี้ยสูงสุดจนถึง Recession  จะเป็นช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นอยู่ในจุดช่วง Bottom  แต่ไม่รู้ตอนไหน

ฉะนั้นตอนนี้ก็อยู่ที่การดูเวลาแล้วว่าดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุดกับ  Recession ตลาดหุ้นจะ Bottom ระหว่างตรงนี้  แต่ถ้าไม่ดูเวลาเราจะดูอะไร ก็โดยธรรมชาติแล้วอันนี้เป็นตัวเลขเมจิกนะครับ บางคนถามว่าทำไมอาจารย์กวีมองเท่านั้นเท่านี้ คือมันเป็นตัวเลขเมจิกที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ แล้วมันก็เป็นตัวเลขนี้มาตั้งนานแล้ว แต่ละวิกฤตลงมา 50%  แทบจะทุกวิกฤตเลย แต่รอบนี้ Dow Jones น่าจะไม่ถึง เพราะ Dow Jones  ประกอบไปด้วยหุ้นหลากหลายมาก หุ้นบางตัวมันก็อยู่ในหุ้นกลุ่มคอมเมิร์ซ  แต่ NASDAQ 50% อาจจะเป็นไปได้ เพราะ  NASDAQ เป็นหุ้นเทคโนโลยี

แต่ตลาดหุ้นไทยพี่ไม่ได้มองถึงขนาดลงมา 50%  ด้วยเหตุผลหลัก ๆ ก็คือว่า คือตลาดหุ้นไทยเราอิ่มตัวมากขึ้น เราไม่ได้เป็นหุ้นโกรทเหมือนสมัยอดีต  มันก็จะเหมือนออกแนว S&P500 หรือ Dow Jones มากกว่า ไม่ได้เหมือน NASDAQ เพราะฉะนั้นต่อให้ลงมายังไงเต็มที่พี่ว่ามันก็น่าจะอยู่ประมาณสัก 20-30% คราวนี้เนี่ยรอบนี้เราก็เลยไม่รู้เหมือนกันว่าแล้วเราควรจะใช้ดัชนีตรงไหนเป็นจุดวัดดีว่าจากจุดสูงสุดลงมา 20%

จะขอใช้ตรงนี้แล้วกันที่มันขึ้นไปรอบนี้ไม่รวม 1,850 จุดนะ รอบนี้มันอยู่ประมาณ 1,720 จุด  ถ้าเราคูณกันสักลงไปสัก 20%  ก็จะอยู่ 1,380 จุด  ก็ 1,400 จุด  ตัวเลขนี้แหละเป็นตัวเลขที่พี่พยายามจะพูดออกสื่ออยู่เป็นประจำที่ 1,400 จุด ถูกไหมครับ และที่ไหนพี่ก็ยังพูดตรงนี้และมันมาจากไหน ก็มาจากตรงนี้แหละครับ มาจากตรงนี้แหละว่าถ้าลงมาสัก 20% ก็ 1,400 จุด  นั่นหมายถึงว่าอะไรที่บวกลบอยู่แถว ๆ นี้เป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะเข้าไปลงทุนโดยไม่ต้องดูเวลา แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานว่าไทยเราไม่เกิดวิกฤต ที่เราอธิบายมาตั้งแต่แรกว่าทำไมไทยไม่เกิดวิกฤต

แล้วก็ต่างประเทศไม่ได้ถือหุ้นไทยเยอะถึงแม้จะซื้อปีนี้แสนล้าน แต่ก็ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับวิกฤตซับไพรม์ตอนนั้นก็ 5-6 แสนล้านบาท และที่สำคัญก็คือรอบนี้เราไม่ได้ขึ้นมาเลย  ถึงแม้เราจะบอกว่า 1,600 จุดขึ้นมาแล้ว มันก็เท่านี้มาตั้งแต่ต้นปีแล้ว มันก็เท่าเดิมตั้งแต่ต้นปีก็ยังไม่ไปไหนเลย มันไม่ได้เหมือนกับประเทศอื่นที่เขาขึ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นประเทศไทยเราจะไม่ควร 50%  มันก็จะเหลือ 20-30% ก็จะเป็นจังหวะตรงไหนตรงหนึ่งนี่แหละที่จะเป็นโอกาสที่ซื้อหรือถ้าเราจะซื้อหุ้นเก็บไปก่อนส่วนหนึ่งเราก็ซื้อหุ้นที่ยังไม่ขึ้น

คนที่เล่นเก็งกำไรก็เอาตัวรอดได้ถูกไหม เพราะว่าเขารู้จัก Cut Loss ส่วนที่เป็น Value Investor เวลาที่ราคาหุ้นแพงเราก็ไม่ควรเข้าไปซื้อ จริง ๆ ตลาดหุ้นขาลงเหมาะมากเลยนะ ก็ฝากไว้ในรายการนี้แล้วกันว่าตลาดหุ้นขาลง เลือกหุ้นดี ๆ แล้ว DCA  ไปเรื่อย ๆ ก็ดีนะครับ เพราะตลาดหุ้นขาลงถ้าเราเริ่มต้นจากตลาดหุ้นขาลงและ DCA มันจะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว