ลลิลฯ เบ่งยอดขายปีเสือ 8.5 พันล้าน เป้ารายได้ 7.2 พันล้าน เติบโต 7 ปีรวด

ลลิลฯ ประกาศแผนธุรกิจปี 2565 มุ่งสู่ National Housing Company และผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ตั้งเป้าเติบโตโดดเด่นเหนือภาพรวมตลาดต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 ปี 2565 เปิดโครงการใหม่ 10-12 โครงการ มูลค่ารวม 7,000-8,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้ายอดขายที่ 8,500 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ที่ 7,200 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 10%

วันที่ 10 มกราคม 2565 นายไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยว่า ปี 2564 เป็นปีที่เกิดรูปแบบการฟื้นตัวที่ขาดสมดุลขึ้น หรือ K-Shaped กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีการฟื้นตัวได้ดี โดยคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2564 จะกลับมาขยายตัว 5.9% จากที่หดตัว 3.1% ในปี 2563 ขณะที่เศรษฐกิจประเทศไทยมีการฟื้นตัวที่ช้า ขยายตัวได้เพียง 1% จากที่หดตัว 6.1% ในปี 2563 ซึ่งเป็นประเด็นที่น่ากังวล

สำหรับปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3-4% ถือว่ายังไม่กลับไปสู่ระดับปกติในช่วงก่อนเกิดการระบาด ยังมีความเสี่ยงจากโอมิครอน ตลอดจนการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก นำไปสู่การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศ กำลังซื้อภายในประเทศยังอ่อนแอ หนี้ครัวเรือนทรงตัวในระดับสูง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

อย่างไรก็ดี ภาคอสังหาริมทรัพย์มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน และจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทจนถึงสิ้นปี 2565 การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV จากธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงตลาดแนวราบที่ยังได้แรงหนุนจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมมาเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบซึ่งตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้ดีกว่าในยุค New Normal

ปี 2565 บริษัทมั่นใจว่าจะเป็นอีกปีที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เดินหน้าสู่การเป็น National Housing Company และก้าวสู่การเป็น 1 ใน 5 แบรนด์แรกในช่วงราคา 2-8 ล้านบาท โดยวางแผนขยายการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ 10-12 โครงการ มูลค่ารวม 7,000-8,000 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายยอดขาย 8,500 ล้านบาท ยอดรับรู้รายได้ 7,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องเพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อนที่ทำผลงานได้ดีกว่าเป้าหมาย

นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้ ลลิลฯ ต่อยอดกลยุทธ์ Digital Marketing เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างมีศักยภาพและตรงตามไลฟ์สไตล์ โดยนำ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์ Customer Insight เพื่อนำเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์และการบริการที่เข้าถึง และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่าง ยกระดับการบริหารจัดการระบบสารสนเทศภายในองค์กร เพื่อยกระดับสู่ Digital Company อย่างเต็มรูปแบบ

Advertisment

ทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2565 ให้ความสำคัญกับตลาดบ้านแนวราบรองรับลูกค้า Real Demand ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง มีควาต้องการพื้นที่สีเขียวในการผ่อนคลาย และมีพื้นที่ใช้สอยรองรับการใช้ชีวิต หลากหลายรูปแบบทั้งการ Work from Home และการเรียนผ่านระบบออนไลน์ โดยในปี 2564 ที่ผ่านมาลลิลฯ จุดกระแสนิยมแบบบ้านสไตล์ฝรั่งเศส-French Colonial Style มาประยุกต์เข้ากับการสร้างสรรค์ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ชีวิตสังคมเมือง

ทั้งนี้ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กลยุทธ์ Lalin The Next ที่รวม 3 แนวทางหลักเพื่อสร้างการเติบโตจากปัจจุบันสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย “Next Dynamic SustainableW การบริหารโดยยึดหลัก ESG เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นองค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมองเห็นคุณค่าในการประหยัดพลังงาน จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

Advertisment

“Next Living Experience” ให้ความสำคัญต่อลูกค้า เฟ้นหาที่ตั้งโครงการในทำเลศักยภาพ สร้างสรรค์การออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมและดีไซน์ที่ทันสมัยในวิสัยทัศน์แห่ง Trend setter เลือกสรรวัสดุคุณภาพในการก่อสร้างและตอบโจทย์ในเรื่องของฟังก์ชัน โดยได้นำเสนอนวัตกรรมการอยู่อาศัย LI (Lalin Innovation for Living) ครอบคลุม 3 ส่วน 1.LI-Smart & Security เสริมความสะดวกสบายและระบบรักษาความปลอดภัย 2.LI-Eco System ส่งมอบบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3.LI-Lively & Healthy บ้านสุขภาพดี ให้ความสำคัญต่อเรื่องการถ่ายเทอากาศ การคำนึงถึงทิศทางลมและแสงแดด และคัดสรรวัสดุที่ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการอยู่อาศัย

และ “Next Innovative Co-Creation” บริษัทให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในองค์กรอยู่มีการจัดตั้ง Lalin Academy แหล่งความรู้สนับสนุนบุคลากรในการทำงาน มีการ Training อย่างต่อเนื่อง ทั้ง New Skill, Re-Skill และ Up Skill เตรียมพร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ใช้เทคโนโลยี Data Analytics ในการทำงานทั่วทั้งองค์กร ต่อยอดการทำงานในรูปแบบการตลาด Offline สู่ Online

“ภาพรวมสถานะการเงินมีความแข็งแกร่ง มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) 0.6 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรม 1.4-1.5 เท่า มีกระแสเงินสดรองรับการขยายธุรกิจ 1,000 ล้านบาท โดยในปี 2565 จัดสรรงบซื้อที่ดิน 1,100-1,300 ล้านบาท และพร้อมปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกำลังซื้อในตลาด” นายชูรัชฏ์ ชาครกุลกล่าว