ทำไมเทรนด์แต่งหน้าแนวร้องไห้ สวยปนเศร้า ถึงมาแรงในติ๊กต็อก

tiktok.com/@zoekimkenealy

เทรนด์แต่งหน้าสวยปนเศร้าเหมือนร้องไห้กำลังมา ทั้งที่ไม่ได้เศร้าจริง กำลังบอกอะไรสังคม

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เดอะการ์เดียน รายงานกระแสเทรนด์แต่งหน้าแบบร้องไห้กำลังมาแรงในโซเชียล TikTok สวนทางกระแสเดิมที่นิตยสารผู้หญิงเผยเคล็ดลับวิธีแต่งหน้าปกปิดตาบวมช้ำหลังผ่านการร้องไห้อย่างหนัก

โซอี คิม คีเนียลี วัย 26 ปี ครีเอเตอร์ชาวอเมริกันในเมืองบอสตัน มีผู้ติดตามใน TikTok 119,000 ราย โพสต์คลิปสอนแต่งหน้าให้ดูเหมือนร้องไห้ แม้ว่าไม่อยู่ในอารมณ์เศร้าก็ตาม

tiktok.com/@zoekimkenealy

คลิปนี้มีคนกดไลก์กว่า 507,000 ครั้ง เริ่มจากทาลิปกลอสให้ริมฝีปากดูอิ่มและชุ่มชื้น แล้วทาตา ปัดแก้ม และปลายจมูกด้วยเฉดสีแดง ตบท้ายด้วยอายไลเนอร์แวววาวให้ดูฉ่ำขอบตาล่างและขอบตาบน

คนดูคลิปโพสต์ความเห็นว่าอยากดูเหมือนตัวเองจะร้องไห้ตลอดเวลา ส่วนอีกคนเขียนว่ารู้สึกสวยมากหลังจากร้องไห้

คีเนียลีกล่าวว่า ได้แรงบันดาลใจจากเทรนด์แต่งหน้าในแอปพลิเคชั่น Douyin และ Ulzzang ซึ่งสอนใช้แปรง กลิตเตอร์และไฮไลต์ใต้ตาให้เหมือนน้ำตารื้นขอบตา

ผู้ชายส่วนใหญ่ที่ดูคลิปนี้มักจะนึกถึงแอมเบอร์ เฮิร์ด อดีตภรรยาของจอห์นี เดปป์ ที่ร้องไห้ในศาล แต่คีเนียลีกล่าวว่าคลิปสอนเทคนิคแต่งหน้า ไม่ได้หมายความว่าไม่ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึก

แอมเบอร์ เฮิร์ด ร่ำไห้ในศาล เมืองแฟร์แพ็กซ์ เวอร์จิเนีย สหรัฐ 5 พ.ค. 2022  (Jim Lo Scalzo/Pool Photo via AP)

ฮาร์วาร์ด ยูธ โพลสำรวจความเห็นเมื่อปีที่แล้วพบว่าเยาวชนอเมริกันครึ่งหนึ่งรู้สึกย่ำแย่ หดหู่ และสิ้นหวัง ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

เทรนด์แต่งหน้าแบบนี้ยังเข้ากันได้ดีกับเพลง Video Games ของนักร้องสาวนัยน์ตาโศก ลาน่า เดล เรย์ ที่มีเนื้อร้องว่า I’m pretty when I cry” ฉันยิ่งสดสวยเมื่อร้องไห้ ทำให้กระแสแฮชแท็ก #SadGirlWalk ขึ้นเทรนด์เช่นกัน

เฟรดริกา เธแลนเดอร์สสัน นักวิจัยด้านสื่อและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยลุนด์ในสวีเดน ศึกษาวัฒนธรรมและชุมชนของเด็กผู้หญิงในโลกออนไลน์ กล่าวว่าปัจจุบันบรรดาคนมีชื่อเสียงและแบรนด์ต่าง ๆ สะท้อนความจริง เช่น เปิดเผยอาการป่วย

Fiona Apple in New York, 1997. Photograph: David Corio/Redferns

เทรนด์นี้ รวมทั้งการแยกตัวซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรค PTSD หรืออาการบอบช้ำทางใจ เป็นจิตเภทชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง แต่ตอนนี้กลายเป็นสิ่งสวยงาม

คนทุกวันนี้ต้องการการปลอบประโลมจิตใจและสื่อสังคมออนไลน์ก็กลายเป็นแหล่งที่จะหาสิ่งที่หาไม่ได้จากระบบสาธารณสุขแบบดั้งเดิม การแสดงออกว่ารู้สึกเศร้าทำให้คนอื่นรู้สึกว่าไม่ได้เศร้าอยู่คนเดียว

ส่วน ออเดรย์ วูลเลน นักเขียนผู้ตั้งทฤษฎีเด็กสาวเศร้าในปี 2014 มีชื่อเสียงมากจากการเสนอแนวคิดว่าการแสดงออกว่าเศร้าให้สาธารณชนรับรู้เป็นสิ่งถูกกฎหมาย

เคลลี คูโทรน นักประชาสัมพันธ์ระดับตำนานและเคยเขีนหนังสือ If You Have to Cry, Go Outside (ถ้าจะร้องไห้ ให้เดินออกไป) กล่าวว่าหนังสือเล่มนี้สอนให้รู้จักจัดการอารมณ์ในที่ทำงาน น่าเสียใจที่จับความเศร้ามาเป็นเทรนด์

…..