หลายเหตุมรณะถึง #อิแทวอน ทำไมฝูงชนจึงเบียดเสียดกันจนเสียชีวิต

เบียดเสียด
Rescue workers treat injured people on the street near the scene in Seoul, South Korea, Sunday, Oct. 30, 2022. (AP Photo/Lee Jin-man)

เป็นอีกครั้งที่โศกนาฏกรรมฝูงชนเบียดเสียดกันจนตาย ตอกย้ำด้วยเหตุการณ์ที่อิแทวอน คร่าชีวิตชาวเกาหลีใต้เกือบ 150 ราย ผู้เชี่ยวชาญอธิบายถึงสาเหตุ

วันที่ 30 ตุลาคม 2565 สำนักข่าว เอพี รายงานย้อนเหตุการณ์ที่ฝูงชนเบียดเสียดกันถึงขั้นทำให้มีผู้เสียชีวิต รวมถึงเหตุล่าสุดที่ย่านอิแทวอน แหล่งรวมสถานบันเทิงยามราตรีในกรุงโซล เกาหลีใต้ เมื่อค่ำคืนวันที่ 29 ต.ค. มีผู้เสียชีวิตเบื้องต้นเกือบ 150 ราย และบาดเจ็บอีก 150 ราย

เบียดเสียด
รถพยาบาลตรงจุดเกิดโศกนาฏกรรมที่อิแทวอน เมื่อ 30 ต.ค. 2022.   (AP Photo/Lee Jin-man)

ก่อนหน้าเหตุการณ์ที่อิแทวอน เคยเกิดโศกนาฏกรรมสะเทือนขวัญชาวโลกแบบเดียวกัน ที่งานคอนเสิร์ตในฮูสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ที่สนามฟุตบอลในอังกฤษ ที่พิธีฮัจญ์ในซาอุดีอาระเบีย และในไนต์คลับที่ชิคาโก เป็นต้น

ส่วนใหญ่คลื่นฝูงชนจะเพิ่มหนาแน่นบริเวณไปยังทางออก หรือไหลไปชนหน้าเวที หรือไปยังสนาม แล้วเบียดเสียดอัดทับกันจนเสียชีวิต

ความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่อิแทวอน มาจากทางสถานที่ชุมนุมกันอยู่ไม่ถ่ายเท นอกจากนี้ยังมาจากการที่ผู้คนต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานช่วงเกิดโรคระบาดโควิด ทำให้คนแห่กันไปร่วมงานสังสรรค์

แน่นอนว่า งานอีเวนต์ส่วนใหญ่ไม่ได้ลงเอยด้วยโศกนาฏกรรม ไม่มีคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แฟน ๆ ที่ไปร่วมงานมาแล้วก็ไปตามปกติ แต่เหตุการณ์ที่ลงเอยสะเทือนขวัญ มีปัจจัยร่วมคล้ายกัน

Rescue team and firefighters work on the scene where dozens of people were injured in a stampede during Halloween festival in Seoul, South Korea, October 30, 2022. Yonhap via REUTERS

ตายเพราะหายใจไม่ออก

ภาพยนตร์ที่มีฉากเหตุการณ์ลักษณะนี้มักแสดงให้เห็นว่า อาการแตกตื่นวิ่งหนีจนเหยียบทับกันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ในโลกความเป็นจริง คนที่เสียชีวิตในคลื่นฝูงชนส่วนใหญ่ขาดอากาศหายใจ

สิ่งที่จะไม่เห็นในเหตุการณ์จริงคือพละกำลังที่แข็งแกร่งจนงอเหล็กได้

ผู้คนเสียชีวิตทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ และยังมีคนที่เสียชีวิตขณะล้มลง การที่ร่างคนล้มลงมาทับคนอื่น จึงมีแรงกด และทำให้ความพยายามจะหายใจกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

“ตอนที่คนพยายามจะลุกขึ้น แขนขาก็จะพันกัน จังหวะนี้เลือดที่จะไปเลี้ยงสมองจะลดลง” จี. คีธ สติลล์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์ฝูงชน มหาวิทยาลัยซัฟโฟล์ก ในอังกฤษกล่าว

เหตุการณ์ฝูงชนเพิ่มแออัดที่แอสโทรเวิลด์ ในฮูสตัน เมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่า เวลาเพียง 30 วินาทีก็ทำให้คนหมดสติแล้ว และราว 6 นาที ก็ทำให้เกิดภาวะขาดอากาศหายใจ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของการตาย ไม่ใช่มาจากการเบียดทับ แต่เป็นภาวะหายใจไม่ออก

คอนเสิร์ตมรณะที่แอสโตรเวิลด์ มิวสิค เฟสติวัล เมืองฮุสตัน สหรัฐ 5 พ.ย. 2021  (Photo by Amy Harris/Invision/AP, File)

ประสบการณ์ที่ถูกเบียดทับ

ผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ลักษณะนี้ ต่างเล่าถึงการถูกผลักเข้าไปอยู่ข้างใต้ เหมือนหิมะถล่มใส่ แต่เป็นร่างคนที่กระแทกทับ หนีไปไหนไม่ได้ จะปีนออกมาก็ยาก ถ้าถูกเบียดไปชนประตูก็จะเปิดประตูไม่ออก หรือข้ามรั้วไปก็ไม่ได้

“ผู้รอดชีวิตบรรยายว่า พวกเขาค่อย ๆ ถูกกดทับทีละน้อย จนขยับตัวไม่ได้ ศีรษะถูกล็อกระหว่างแขนและไหล่ ทำให้หายใจไม่ออก พวกเขาต่างรู้ว่ามีคนกำลังจะตาย และพวกเขาไม่อาจจะช่วยชีวิตตนเองไว้ได้” เป็นข้อมูลที่ได้จากรายงานสอบสวนเหตุการณ์ที่สนามฮิลสโบโรห์ สโมสรเชฟฟิลด์ เมื่อปี 1989 (พ.ศ. 2532) ครั้งนั้นมีแฟนบอลลิเวอร์พูลเสียชีวิตเกือบ 100 คน

เหตุการณ์ที่สนามฮิลสโบโรห์ เมื่อ 15 พ.ย. 1989.  (AP Photo, File)

อะไรที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้

กรณีเหตุการณ์ที่ไนต์คลับในชิคาโก เมื่อปี 2003 (พ.ศ.2546) ฝูงชนเพิ่มจำนวนขึ้นหลังจาก รปภ.ใช้สเปรย์พริกไทยเข้าไประงับเหตุต่อสู้กัน ทำให้มีคนตาย 21 ราย

เหตุลักษณะนี้คล้ายกับเหตุการณ์ที่สนามฟุตบอลในอินโดนีเซียปีนี้ ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 131 คน เพราะเริ่มมาจากตำรวจฉีดแก๊สน้ำตาเข้าไปยังอัฒจันทร์ที่ประตูทางออกล็อกอยู่ครึ่งหนึ่ง ทำให้คนไปเบียดกันตายที่ทางออก

เหตุที่เนปาล เมื่อปี 1988 (พ.ศ. 2531) มาจากจังหวะที่จู่ ๆ แฟนบอลกรูกันไปยังทางออกของสนาม แต่ทางออกล็อก จึงทำให้มีคนตายถึง 93 ชีวิต

FILE – เหตุการณ์ที่ผู้แสวงบุญเบียดเสียดกันที่นครเมกกะ ซาอุดีอาระเบีย  20 ก.ย. 2015 / AP Photo/Mosa’ab Elshamy, File)

ส่วนเหตุการณ์ที่เกาหลีใต้ล่าสุดนี้ มาจากการที่คนกลุ่มใหญ่กรูกันไปยังบาร์ที่ได้ข่าวว่า มีเซเลบริตี้คนหนึ่งอยู่ที่นั่น

โรคระบาดมีผลอย่างไรต่อเหตุนี้

การที่อัฒจันทร์ฟุตบอลมีคนเต็มอีกครั้ง มาจากที่ช่วงโรคระบาดคนไม่ได้รวมกลุ่มกัน จนตอนนี้เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ฝูงชนจึงกลับมาอีกครั้ง และอันตรายก็กลับมาด้วย

“เมื่อใดก็ตามที่คนมาผสมปนเปกัน ความเสี่ยงก็ตามมาเสมอ” สตีฟ อัลเลน จากศูนย์ปรึกษาความปลอดภัยฝูบชนในอังกฤษ ที่ให้คำแนะนำผู้จัดงานอีเวนต์ใหญ่ ๆ ทั่วโลกกล่าว

…..