วิเคราะห์เจาะลึกปูติน ทำไมกลัวยูเครนเข้าร่วมนาโต ทั้งที่ไม่มีคำเชิญ

AP Photo

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 สำนักข่าว เอพี รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียกับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร ในประเด็นบุกหรือไม่บุกยูเครน โดยเน้นที่ตัวประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำทรงอิทธิพลของรัสเซีย

สำนักข่าวสัญชาติอเมริกันตั้งประเด็นคำถามว่า ทำไมปูตินจึงต้องผลักยุโรปเข้าไปสถานการณ์เสี่ยงภัยสงคราม เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ชาติตะวันตกไม่ได้มีแผนจะทำอยู่แล้ว

Russian President Vladimir Putin attends the opening ceremony of the 2022 Winter Olympics, Friday, Feb. 4, 2022, in Beijing.(AP Photo/Sue Ogrocki)

รัสเซียยื่นเงื่อนไขว่า องค์การป้องกันสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต นำโดยสหรัฐอเมริกา ต้องไม่ดึงยูเครนเข้าไปเป็นสมาชิก

สำหรับยูเครนปรารถนาจะเข้าร่วมนาโตมานานแล้ว แต่พันธมิตรนาโตยังไม่เคยส่งคำเชิญไปเลย ด้วยเห็นว่ายูเครนยังมีปัญหาด้านการคอร์รัปชันในหมู่เจ้าหน้าที่ การจัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเองยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง และขาดแคลนการควบคุมพรมแดนระหว่างประเทศ

A Ukrainian serviceman walks in a destroyed industrial compound, backdropped by bullet riddled metal panels on a frontline position outside Avdiivka, Donetsk region, eastern Ukraine, Saturday, Feb. 5, 2022. (AP Photo/Vadim Ghirda)

อย่าเข้าใกล้ยุโรปตะวันออก

ส่วนข้อเรียกร้องของปูตินไปไกลกว่าเรื่องที่ยูเครนอยากจะสมาคมกับนาโต เพียงมีความเชื่อมโยงว่า ชาติตะวันตกผลักให้เขาเข้าไปสู่ในจุดที่มีความอดทนจำกัด เมื่อนาโตขยายกองทัพเข้ามาใกล้เส้นความมั่นคงของรัสเซีย

ปูตินต้องการให้นาโตถอนกำลังกลับออกไปให้ไกลจากยุโรปตะวันออก ในที่นี้รวมถึงการหมุนเวียนการซ้อมรบกับลิทัวเนีย ลัตเวีย และ เอสโตเนีย ประเทศที่เคยเป็นสหภาพโซเวียตมาก่อน

แม้จะไม่มีกองกำลังสหรัฐประจำการถาวรในสามชาติเหล่านี้ แต่กระทรวงกลาโหมสหรัฐ หรือ เพนตากอนระบุว่า ปัจจุบันมีทหาร 100 นายที่หมุนประจำการอยู่ในลิทัวเนีย และอีก 60 นายในเอสโตเนียและลัตเวีย

Demonstrators with Ukrainian national flags rally against Russian aggression in the center of Kharkiv, Ukraine’s second-largest city, Saturday, Feb. 5, 2022, (AP Photo/Evgeniy Maloletka)

นอกจากนี้ปูตินยังต่อต้านการติดตั้งฐานป้องกันขีปนาวุธในโรมาเนีย และฐานคล้ายๆ กันนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งในโปแลนด์ เพราะเห็นว่ายุทโธปกรณ์เหล่านี้ปรับให้เป็นอาวุธสำหรับการสู้รบที่เป็นภัยกับรัสเซียได้

ขณะที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เปิดหน้าชนด้วยการอนุมัติการส่งทหารอเมริกันเพิ่มเข้าไปในฝั่งยุโรปตะวันออก 2,700 นาย ในจำนวนนี้ 1,700 นายประจำการในโปแลนด์ 1,000 อยู่โรมาเนีย และ 300 นายไปประจำที่เยอรมนี

 

การยอมแพ้ไม่ใช่ทางของอดีตเคจีบี

ด้านสำนักข่าว เอเอฟพี สัญชาติฝรั่งเศส เผยแพร่การวิเคราะห์ของ อเล็กซี มาคาร์คิน นักวิชาการด้านรัสเซีย ว่าปูตินมีทัศนคติมาช้านานว่าการขับเคลื่อนให้ยูเครนไปเข้าพวกกับพันธมิตรตะวันตกเป็นอันตราย ดังนั้น หากทางการไม่แก้ไขปัญหาความมั่นคงเสียตั้งแต่ตอนนี้ อาจทำให้ยูเครนร่วมวงกับนาโตภายใน 10-15 ปีข้างหน้า

ช่วงเกิดการปฏิวัติของกลุ่มสนับสนุนตะวันตกในกรุงเคียฟของยูเครนปี 2557 รัสเซียเข้ายึดครองคาบสมุทรไครเมียอย่างฉับไว

Members of a Georgian Legion train civilians to adapt them with the self-defense capabilities in case of a Russian invasion in Kyiv, Ukraine, Friday, Feb. 4, 2022.  (AP Photo/Efrem Lukatsky)

ส่วนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซียจับอาวุธขึ้นต่อสู้ในพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครน ซึ่งปูตินเปรียบเปรยยูเครนว่าเป็นตัวแทนของเหยื่อระบอบเผด็จการซาร์และจักรวรรดินิยมโซเวียต

ปูตินกล่าวว่าการปฏิวัติในยูเครน 2 ครั้ง ทั้งในปี 2547 และ 2557 เป็นผลพวงจากแผนการของตะวันตก ตนในฐานะผู้นำรัสเซียจึงต้องตอบโต้ด้วยกำลังและแม้แต่การคุกคาม

เพราะการยอมแพ้ไม่ใช่ทางของอดีตสายลับเคจีบี และแนวคิดจิโดกะซึ่งหมายถึงการหยุดให้ได้โดยอัตโนมัติเมื่อพบข้อผิดพลาด

ปูตินไม่ได้มองยูเครนเป็นประเทศ

หลังจากเกิดการปฏิวัติสีส้มในยูเครนช่วงฤดูหนาวปี 2547 และการเปิดศึกก๊าซธรรมชาติภายในประเทศจนส่งผลให้เศรษฐกิจไร้เสถียรภาพ ปูตินแก้เกมด้วยการส่งกองทัพไปสาธารณรัฐไครเมียในปี 2557 เพื่อยึดไครเมียและสนับสนุนกลุ่มกบฏที่เข้าฝ่ายรัสเซียในยูเครนตะวันออก รวมทั้งคิดใคร่ครวญถึงอัตลักษณ์และการเป็นมลรัฐของยูเครนที่ชัดเจน

FILE – Russian President Vladimir Putin holds a binoculars as he watches the joint strategic exercise of the armed forces. (Sergei Savostyanov, Sputnik, Kremlin Pool Photo via AP, File)

เมื่อปี 2551 ปูตินเคยกล่าวกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯ ว่ายูเครนไม่ได้เป็นประเทศ จากนั้นช่วงการแถลงข่าวส่งท้ายปีเมื่อเดือน .. ปูตินกล่าวอีกครั้งว่า วลาดิเมียร์ เลนิน ผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตสร้างยูเครนขึ้นมา

หลายเดือนก่อน ปูตินเขียนบทความขนาดยาวเรื่องเอกภาพในประวัติศาสตร์ของรัสเซียและยูเครนว่าการตัดสินใจของรัฐบาลยูเครนได้รับแรงผลักดันจากแผนการต่อต้านรัสเซียของชาติตะวันตก

พร้อมกับระบุว่าตะวันตกกำลังวางระบบการเมืองในยูเครนโดยเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองแบบประธานาธิบดี รองประธานาธิบดีและรัฐมนตรี แต่ยังคงมีแนวคิดแบ่งแยกกับรัสเซียและมองเป็นศัตรูเหมือนเดิม

Ukrainian Defense Ministry Press Service via AP

ภารกิจนำยูเครนกลับคืน

ทาเตียนา สตาโนวายา ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์อาร์.โพลิติก กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ตรรกะนี้ จะเห็นว่าการที่รัสเซียส่งทหาร 100,000 นายไปประชิดพรมแดนยูเครน ไม่ใช่การคุกคาม เพราะปูตินเชื่อเสมอมาว่าชาวยูเครนเป็นฝ่ายสนับสนุนรัสเซีย แต่มีบางส่วนถูกชักใยทางการเมือง รัสเซียคิดว่าไม่ได้ทำสงครามกับยูเครน แต่เป็นการปลดปล่อยชาวยูเครนจากการยึดครองของต่างชาติ

ส่วนดมิทรี เปสคอฟ โฆษกประธานาธิบดีปูตินเคยกล่าวไว้อย่างชัดเจนเมื่อเดือน .. ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะสูญเสียบ้านพี่เมืองน้องและจะยังเป็นพี่น้องกัน ในสารัตถะแล้ว ทางการรัสเซียมองว่ารัสเซียมีภารกิจที่จะต้องนำยูเครนกลับสู่วิถีธรรมชาติ

Ukrainian soldiers train for the use of US M141 Bunker Defeat Munition (SMAW-D) missiles at the Yavoriv military training ground, close to Lviv, western Ukraine, Friday, Feb. 4, 2022. (AP Photo/Pavlo Palamarchuk)

รัสเซียกล่าวมานานหลายปีแล้วว่าตะวันตกใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของรัสเซียหลังยุคโซเวียตโดยตั้งป้อมใกล้ๆ และกลับคำสัญญาที่เคยให้ไว้กับสหภาพโซเวียต

ขณะนี้ รัสเซียยกกองทัพไปจ่อหน้าประตูยูเครนและปูตินต้องการให้นาโตถอยกลับไปที่ตั้งเหมือนเมื่อปี 2540 และกลับไปยึดถือกรอบความมั่นคงของยุโรปที่เกิดขึ้นหลังการสิ้นสุดสงครามเย็น ตรงกับสิ่งที่ปูตินใฝ่ฝัน คือ หยุดเวลาเอาไว้

…….


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :