ผู้ผลิตอาวุธโดรนตุรกี โวศึกยูเครนช่วยดึงดูดลูกค้าทั่วโลก

ยูเครนอวดโดรน Bayraktar TB2 ในขบวนฉลองวันประกาศอิสรภาพ
ยูเครนอวดโดรน Bayraktar TB2 ในขบวนฉลองวันประกาศอิสรภาพ ที่กรุงเคียฟ เมื่อปี 2021 REUTERS

ผู้ผลิตอาวุธโดรนตุรกี โวศึกยูเครนช่วยดึงดูดลูกค้าทั่วโลก ชี้เทคโนโลยีปฏิวัติสงคราม

วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 สำนักข่าว รอยเตอร์ส รายงานว่า ผู้ผลิตอาวุธโดรนของตุรกีที่ขายสินค้านี้ให้กับยูเครน เพื่อใช้ทำลายระบบทำลายปืนใหญ่ของรัสเซียและยานเกราะ เผยว่า การใช้อาวุธนี้ของยูเครนสู้กับรัสเซีย ทำให้ “ทั้งโลก” เป็นลูกค้าของตุรกี ที่แห่ซื้อโดรน “บายรักทาร์ช ทีบีทู” (Bayraktar TB2)

เซลจุก บายรักทาร์ช เจ้าของบริษัทบีคาร์ร่วมกับฮาลุก น้องชาย กล่าวว่าโดรนแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีปฏิวัติสงครามสมัยใหม่ พร้อมทั้งระบบต่อต้านอากาศยานที่ล้ำหน้าที่สุดและระบบปืนใหญ่ขั้นสูง รวมทั้ง ยานเกราะทำให้ “ทั้งโลก” เป็นลูกค้า

โดรน Bayraktar TB2
โดรน Bayraktar TB2 อวดโฉมในงานเทศกาลเทคโนโลยี ที่อาเซอร์ไบจาน / REUTERS

ทีบีทูมีปีกยาว 12 เมตรและไต่ระดับความสูงได้ถึง 25,000 ฟุต ก่อนที่จะโจมตีรถถังและปืนใหญ่อย่างรวดเร็วด้วยระเบิดเจาะเกราะด้วยเลเซอร์ซึ่งช่วยทำลายความเหนือกว่าของกองทัพรัสเซีย ทำให้ชื่อของโดรน “บายรักทาร์ช บายรักทาร์ช” กลายเป็นเพลงฮิตติดปากในยูเครนร้องเยาะเย้ยกองทัพรัสเซีย

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียให้ความสนใจบายรักทาร์ชและกระทรวงกลาโหมรัสเซียเคยพูดถึงโดรนดังกล่าวในที่สาธารณะอย่างน้อย 45 ครั้ง นับตั้งแต่สงครามเปิดฉากเมื่อ 24 ก.พ.

โอซติมิช บายรักทาร์ช พ่อของเซลจุก บายรักทาร์ช ก่อตั้งบริษัทบีคาร์ในทศวรรษที่ 1980 เนื่องจากสนใจอากาศยานไร้คนขับในปี 2005 (พ.ศ. 2548) ขณะที่ตุรกีต้องการเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมทหารในประเทศ ทีบีทูกลายเป็นเขี้ยวเล็บในสมรภูมิซีเรีย อิรัก ลิเบียและนากอร์โน-คาราบัค รวมทั้ง ยูเครน และขณะนี้เป็นสินค้าทางทหารที่ตุรกีส่งออกไปทั่วโลก

ยูเครนอวดโดรน Bayraktar TB2 ในขบวนฉลองวันประกาศอิสรภาพ
ยูเครนอวดโดรน Bayraktar TB2 ในขบวนฉลองวันประกาศอิสรภาพ ที่กรุงเคียฟ เมื่อปี 2021 REUTERS

ประธานาธิบดีเรเจ็ป ไตยิบ เอร์โดอัน ผู้นำตุรกีกล่าวว่าทั่วโลกต้องการทีบีทูและอคึนจิ โดรนตัวใหม่เป็นจำนวนมาก ส่วนเซลจุก บายรักทาร์ช ลูกเขยของประธานาธิบดีกล่าวว่าบริษัทบีคาร์ผลิตโดรนทีบีทูได้ 200 เครื่องต่อปี+อากาศยานรบและแท็กซี่

บายรักทาร์ชกล่าวว่าภูมิใจที่โดรนเหล่านี้ใช้ในสนามรบนากอร์โน-คาราบัค ดินแดนของเชื้อชาติอาร์เมเนียซึ่งเป็นมิตรกับอาเซอร์ไบจานของตุรกีซึ่งกองกำลังอาร์เซอร์ไบจานยึดคืนดินแดนกลับคืนมาได้ในปี ค.ศ. 2020 และล่าสุด นำมาใช้ในยูเครน

การบุกรุกผิดกฎหมาย ทีบีทูจึงช่วยกู้คืนเกียรติยศของชาวยูเครนต่อสู้เพื่อประเทศชาติของพวกเขา การยึดครองคาราบัคโดยผิดกฎหมายเป็นเหมือนแผลในใจตั้งแต่วัยเยาว์ ในฐานะวิศวกรพัฒนาเทคโนโลยี จึงรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ช่วยพี่น้องให้ยึดดินแดนกลับคืนมา

โดรนโจมตีรถถัง T-90 ของรัสเซีย
โดรนโจมตีรถถัง T-90 ของรัสเซีย ในสมรภูมิยูเครน / REUTERS

ด้านรัสเซียหาทางกำจัดโดรน เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เริ่มใช้อาวุธเลเซอร์รุ่นใหม่ รวมทั้ง ระบบเคลื่อนที่ซึ่งรัสเซียกล่าวว่าจะทำให้ดาวเทียมที่โคจรรอบ ๆ มองไม่เห็นและทำลายโดรนได้ แต่บายรักทาร์ชกล่าวว่าอาวุธดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพต่อต้านทีบีทูเพราะหากพิสัยอาวุธยุทโธปกรณ์ไกลขึ้นก็จะไม่มีประสิทธิภาพ

ขณะที่บีคาร์กำลังพัฒนา “ทีบีทรี” (TB3) ซึ่งพับปีกได้และขึ้นหรือลงบนทางวิ่งระยะทางสั้น ๆ เรือบรรทุกเครื่องบิน ได้และเรียกอากาศยานรบแบบไร้คนขับว่า MUIS หรือ คิซิเลมา (Kizilelma) โดยจะบินครั้งแรกในปีหน้า ส่วนทีบีทรีอาจจะเริ่มบินภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า

รถถังรัสเซียถูกถล่มพังยับเยินที่เมืองบูชา ยูเครน
รถถังรัสเซียถูกถล่มพังยับเยินที่เมืองบูชา ยูเครน / REUTERS

นอกจากนี้ ยังพัฒนาโดรนแท็กซี่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติระดับสูงขึ้นโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอเป็นพื้นฐานซึ่งจะเป็นการปฏิวัติการขนส่งในเมือง นับตั้งแต่สงครามยูเครนปะทุขึ้น รัสเซียสังหารผู้คนไปแล้วหลายพันคนและทำห้คนหลายล้านคนต้องพลัดถิ่น อีกทั้ง สร้างความหวาดกลัวว่าจะเกิดการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างรัสเซียกับสหรัฐ

ประธานาธิบดีปูตินกล่าวว่าสหรัฐใช้ยูเครนคุกคามรัสเซียผ่านการขยายสมาชิกนาโต้ทำให้รัสเซียต้องปกป้องดินแดนผู้ที่ใช้ภาษารัสเซียจากการกดขี่ข่มเหง แต่ยูเครนและพันธมิตรชาติตะวันตกปฏิเสธคำพูดเลื่อนลอยที่รัสเซียใช้อ้างรุกรานอธิปไตย