นายกฯศรีลังกาเปิดใจ ไม่ปิดทางซื้อน้ำมันรัสเซียอีก เผยประชาชนทุกข์ยาก

นายกฯศรีลังกาเปิดใจ
Sri Lanka's new prime minister Ranil Wickremesinghe (AP Photo/Eranga Jayawardena)

ให้สัมภาษณ์อย่างตรงไปตรงมา นายกฯศรีลังกาเปิดใจ กับสำนักข่าวเอพี สหรัฐ ถึงสถานการณ์ย่ำแย่ในประเทศ การขาดแคลนน้ำมันที่อาจต้องซื้อเพิ่มจากรัสเซีย

วันที่ 13 มิถุนายน 2565 สำนักข่าว เอพี รายงานคำให้สัมภาษณ์พิเศษของ นายรานิล วิกรามาสิงหะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของศรีลังกา ที่เปิดเผยชัดเจนว่า สถานการณ์ขาดแคลนพลังงานของประเทศขณะนี้อาจบีบให้ต้องซื้อน้ำมันดิบจากรัสเซียมากขึ้น แม้รัสเซียถูกแซงก์ชั่นจากชาติตะวันตกในศึกยูเครน

จากการเปิดเผยของกระทรวงพลังงาน เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ศรีลังกาซื้อน้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งมาทางเรือแล้ว 99,000 ตัน พร้อมเปิดโรงกลั่นที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศ

ชาวศรีลังการอซื้อน้ำมันที่ปั๊มในกรุงโคลอมโบ เมืองหลวง (AP Photo/Eranga Jayawardena)

นายกฯ วิกรามาสิงหะ ผู้เข้ามาดำรงตำแหน่งหลังมวลชนลุกฮือขับไล่นายกฯ มหินทา ราชปักษา กล่าวว่า จะมองหาแหล่งขายพลังงานอื่น ๆ ด้วย เช่น น้ำมันและถ่านหินจากซัพพลายเออร์เดิมในตะวันออกกลาง

“ถ้าเราได้จากแหล่งอื่น ๆ เราก็จะซื้อหาจากที่นั่น ไม่เช่นนั้นเราก็อาจต้องไปที่รัสเซียอีก” นายกฯ ศรีลังกากล่าว และว่าขณะเดียวกัน ศรีลังกาจะรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากจีนด้วย แม้ว่าศรีลังกาหนี้ท่วมแล้วก็ตาม

สถานการณ์เลวร้ายในศรีลังกาที่เกิดขึ้นเองประกอบกับสงครามในยูเครนทำให้เศรษฐกิจประเทศดิ่งเหว คาดว่าจะขาดแคลนอาหารไปจนถึงปี ค.ศ. 2024 ซึ่งรัสเซียรับรู้สภาพการณ์ดังกล่าวและยังเสนอมอบข้าวสาลีให้ศรีลังกาด้วย

People wait in a long queues to buy fuel for their vehicles at a filling station in Colombo, Sri Lanka, Saturday, June 11, 2022 (AP Photo/Eranga Jayawardena)

ศรีลังกามีหนี้ต่างประเทศ 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,734,000 ล้านบาท แต่ขอพักชำระหนี้เกือบ 7,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 238,000 ล้านบาทในปีนี้

หนี้ที่ท่วมท้นทำให้ประเทศไม่มีเงินพอสำหรับนำเข้าสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ประชาชนต้องขวนขวายหาสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตเองเอง เช่น อาหาร เชื้อเพลิง ยารักษาโรค รวมถึงกระดาษชำระและไม้ขีด การขาดแคลนยังลามไปถึงเชื้อเพลิงทำให้ประชาชนต้องต่อคิวยาวหลายวันยาวหลายกิโลเมตรเพื่อเติมแก๊สหุงต้มและน้ำมันเชื้อเพลิง

วิกรามาสิงหะกล่าวว่าศรีลังกาต้องการเชื้อเพลิงอย่างมากและขณะนี้ ญหาหนึ่งคือ น้ำมันมีอยู่มากก็จริง แต่อาจจะได้มาอย่างไม่เป็นทางการจากอิหร่านหรือรัสเซีย

นายกฯศรีลังกาเปิดใจ
นายรานิล วิกรามาสิงหะ 2 Sri Lanka’s new prime minister Ranil Wickremesinghe  (AP Photo/Eranga Jayawardena)

นับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อปลายเดือน ก.พ. ราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้น ขณะที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรพยายามตัดลดกระแสการเงินที่ส่งไปสนับสนุนการทำสงครามของมอสโก ด้านรัสเซียก็เสนอราคาน้ำมันดิบที่มีส่วนลดอย่างมากเป็นที่น่าดึงดูดของหลายประเทศ

ศรีลังกาเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ที่ว่างตัวเป็นกลางกับสงครามในยุโรป พร้อมรับความช่วยเหลือต่างประเทศ รวมทั้งจีนซึ่งมีความขัดแย้งกันสูงเพราะจีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ

พรรคฝ่ายค้านแสดงตัวเลขว่าประธานาธิบดีและอดีตนายกรัฐมนตรีตระกูลราชปักษากู้ยืมเงินจำนวนมากจากจีนเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค ซึ่งไม่ได้สร้างผลกำไรและยังเป็นการเพิ่มหนี้ประเทศ

FILE- Sri Lankan auto rickshaw drivers queue up to buy petrol near a fuel station in Colombo, Sri Lanka (AP Photo/Eranga Jayawardena, File)

หลายโครงการก่อสร้างขึ้นที่บ้านเกิดของประธานาธิบดี รวมทั้ง สนามบินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 ซึ่งนายกฯ วิกรามาสิงหะจึงกล่าวว่าจะต้องระบุว่าโครงการใดบ้างที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจและต้องทำด้วยความโปร่งใส

นายกรัฐมนตรีศรีลังกากล่าวว่ารัฐบาลกำลังเจรจากับจีนเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนหน้านี้ จีนเคยสอนให้กู้เพิ่ม แต่ไม่ตัดหนี้ อาจเป็นเพราะกังวลว่าลูกหนี้รายอื่นจะเรียกร้องเช่นเดียวกัน

สำหรับสถานการณ์ด้านอาหาร จีนและประเทศอื่น ๆ ตกลงที่จะให้สิ่งของบรรเทาทุกข์แก่ศรีลังกา ขณะที่ ศรีลังกากำลังมองหาความช่วยเหลือด้านการเงินจากโครงการอาหารโลกซึ่งจะส่งคณะมายังศรีลังกาเร็ว ๆ นี้

การประท้วงเมื่อเดือน พ.ค. 2022 (AP Photo/Eranga Jayawardena)

ส่วนการเจรจากู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ หากได้รับการอนุมัติ ต้องรอกระบวนการต่าง ๆ ดูแล้วไม่น่าจะได้เงินก่อนเดือนตุลาคม

นายวิกรามาสิงหะ ยอมรับว่าวิกฤตในศรีลังกาเป็นเรื่อง “ทำตัวเอง” หลายคนกล่าวโทษการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของรัฐบาลราชปักษา การลดหย่อนภาษีในปี ค.ศ. 2019 ความผิดพลาดของนโยบายที่ทำลายพืชผลการเกษตรและการท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19

นายกรัฐมนตรีศรีลังกาย้ำว่าสงครามในยูเครนทำให้ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกตกต่ำและทำให้ราคาน้ำมันและอาหารโลกสูงจนแตะไม่ได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยและคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงอีก ก่อนที่ประเทศจะเริ่มฟื้นตัวและสร้างใหม่ในปีหน้า

นอกจากนี้ ยังพยากรณ์ว่าภายในสิ้นปีนี้ จะเห็นประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ใช่ผู้ผลิตอาหารส่งออก เผชิญปัญหาการขาดแคลนอาหารทั่วโลก

สองพี่น้องราชปักษา ที่ถูกโจมตีว่า บริหารประเทศผิดพลาด (FILES) In this file photo taken on November 22, 2019,  (Photo by ISHARA S. KODIKARA / AFP)

สำหรับศรีลังกา ราคาผักพุ่งขึ้น 3 เท่า ขณะที่การปลูกข้าวของประเทศลดลงราวหนึ่งในสาม การขาดแคลนส่งผลกระทบต่อทั้งคนจนและชนชั้นกลางทำให้เกิดการประท้วงหลายเดือน บรรดาแม่ทั้งหลายต่างดิ้นรนเพื่อหานมมาเลี้ยงลูก ท่ามกลางความกลัวว่าจะเกิดภาวะความหิวโหยขึ้นเรื่อย สึกไม่ดีเลยที่เห็นประเทศตกอยู่ในความทุกข์ทรมาน

“ผมไม่เคยเห็นสถานการณ์แบบนี้ในศรีลังกาและไม่คิดว่าจะได้เห็น ผมเคยอยู่ในรัฐบาลที่ทำให้ประชาชนมั่นใจว่าประชาชนมีอาหาร 3 มื้อและรายได้เพิ่มขึ้น เราเคยมีช่วงเวลาที่ยากลำบากก็จริง แต่ไม่เหมือนกับตอนนี้ ผมไม่เคยเห็น ว่าประชาชนอยู่โดยไม่มีเชื้อเพลิงและไม่มีอาหาร” นายกฯ ศรีลังกากล่าว