จุดเริ่มต้นความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครน

ช่วงเช้าของวันอังคารที่ผ่านมา (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565) ทองคำได้พุ่งไปที่ 1910$  แตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน เชื่อว่านักลงทุนหลายท่านอาจจะสงสัยว่ามีปัจจัยอะไรส่งเสริมให้ทองคำดีดตัวได้ขนาดนี้ สาเหตุหลักเลยคือในคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา (วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565) สงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครนได้ทวีความตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง สาเหตุมาจากที่มีรายงานข่าวว่า ทางรัสเซียได้สังหารทหารยูเครนที่ล้ำพรมแดนไป 5 ราย และได้ทำการเคลื่อนพลเข้ายูเครนตะวันตกเพื่อช่วยประกาศว่าหลังจากนี้ยูเครนตะวันตกจะเป็นอีกประเทศที่แยกออกมาจากยูเครนเดิม ส่งผลให้สถานการณ์ตึงเครียดเป็นอย่างมากเพราะนี่อาจเรียกได้ว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดนในโลกสมัยใหม่ที่ไม่ได้เห็นมานาน นับตั้งแต่ยุคสงครามโลก แต่ไม่นานกลับมารายงานออกมาว่าทางปูตินกล่าวว่าการเจรจายังคงต้องมีต่อไป ซึ่งทำให้ตลาดการลงทุนทั่วโลกผันผวนอย่างหนัก วันนี้เราจะมาย้อนจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย และยูเครนกันว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร อินเตอร์โกลด์จะมาเล่าให้ฟังครับ

ต้องย้อนไปนับตั้งแต่ที่ยูเครนแยกตัวเป็นเอกราชจากสาธารณรัฐรัสเซีย ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีการให้คำสัญญากันว่า NATO จะไม่ขยายตัวเองมากกว่านี้

ช่วงที่ NATO ให้คำมั่นนี้ คือช่วงก่อนสหภาพโซเวียตล่มสลาย

อาณาเขต NATO คือภาพแรก ภาพสองคือหลังโซเวียตล่มสลาย

แต่ถ้ากลับมาดู จะพบว่าตรงกลางจริงๆ ตอนนี้ ระหว่างรัสเซีย (สีแดง) กับประเทศ NATO (สีน้ำเงิน) จะเหลืออยู่แค่ประเทศหลักๆ ที่เรียกได้ว่าทำหน้าที่เป็น buffer state หรือรัฐกันชนสองประเทศ นั่นก็คือเบลารุส กับ ยูเครน นั่นเอง

แต่ในช่วงต้นคริสต์ศักราช 2000 ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับชาติตะวันตกเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นที่ว่า NATO ได้ให้สัญญาที่กลายมาเป็นประเด็นถึงปัจจุบันว่าในวันหนึ่งยูเครนจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO

ต่อมาในปี 2014 ชนวนขัดแย้งที่นำมาสู่การแตกหักถึงขั้นทำสงครามครั้งแรกระหว่างรัสเซียและยูเครนก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดการเดินขบวนของกลุ่มผู้ประท้วงสนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคไครเมีย (Crimea) ที่เรียกร้องให้รัฐสภาท้องถิ่นต่อต้านรัฐบาลกลางชุดใหม่ และต้องการให้เปิดทำประชามติสถานะของไครเมียเพื่อแยกดินแดนผนวกรวมกับรัสเซีย ซึ่งประชามติก็ผ่านว่าไครเมียต้องการปนวกกลับไปเป็นของรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยูเครนไม่ยอมรับการผนวกรวมไครเมียเข้ากับรัสเซีย โดยประกาศว่าไครเมียเป็นดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไว้ชั่วคราว เช่นเดียวกับสหประชาชาติ ซึ่งมีมติไม่ยอมรับและประณามการผนวกรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

นอกจากไครเมียแล้ว ยูเครนยังเผชิญการสู้รบกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคดอนบาส (Donbas) ทางตะวันออกของประเทศ  ซึ่งยูเครนและชาติตะวันตกกล่าวหารัสเซียว่าส่งกำลังทหารและอาวุธไปช่วยกลุ่มกบฏในดอนบาส แต่รัฐบาลมอสโกปฏิเสธ

ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับรัสเซียนั้นมีแต่แย่ลงสวนทางกับ ความสัมพันธ์ยูเครนกับชาติตะวันตกที่มีแต่ดีขึ้น โดยในปี 2017 มีการทำข้อตกลงระหว่างยูเครนกับ EU ทั้งการเปิดตลาดการค้าเสรีและการอนุมัติให้ชาวยูเครนเดินทางเข้า EU โดยไม่ต้องอนุมัติ Visa

สิ่งที่รัสเซียต้องการคืออะไร ?

ปูตินเอง ได้ออกมาบอกว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา รัสเซียพยายามเจรจาให้โลกตะวันตกเข้าใจมาตลอด ว่าสิ่งที่รัสเซียต้องการคือ

  1. NATO ปฏิเสธไม่รับยูเครนเข้า
  2. NATO ถอดกองทัพออกจากโปแลนด์ โรมาเนีย และบัลกาเรีย
  3. ยูเครนต้องยอมรับอาณาเขตดอนบาส และไครเมีย ว่าเป็นของรัสเซียแล้ว

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัสเซีย เช่นเดียวกับ NATO ที่ปฏิเสธข้อเรียกร้องให้ยกเลิกคำมั่นสัญญาในปี 2008 ซึ่งระบุว่าจะให้ยูเครนเป็นสมาชิกในสักวันหนึ่ง โดย NATO ยืนยันว่าจะมีการพิจารณาคำขอเข้าร่วมของยูเครนเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และรัสเซียไม่สามารถยับยั้งการตัดสินใจของ NATO ได้

จะเกิดสงครามหรือไม่ ?

ด้านฝั่งรัสเซียได้มีการเคลื่อนกำลังทหารรัสเซียกว่า 1แสนนาย เข้าประชิดแนวชายแดนยูเครน และได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีแผนการใดๆ ในการรุกรานยูเครน และกล่าวหาชาติตะวันตกที่พยายามทำให้สถานการณ์แย่ลง โดย ดิมิทรี เปสคอฟ โฆษกของปูติน กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ยิ่งส่งผลให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น แต่ในสถานการณ์ล่าสุดนายปูตินได้ไปรับรองเอกสารของสองดินแดนในยูเครนตะวันออก ยิ่งเป็นที่น่าจะตาเพราะ เป็นการเพิ่มกระแสความตึงเครียดเข้าไปอีก

ด้านฝั่ง NATO ที่นำโดยสหรัฐ ประกาศกร้าวจะตอบโต้รัสเซียอย่างรุนแรงหากเปิดฉากบุกยูเครน ขณะที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เริ่มสั่งการให้กำลังทหารในยุโรปกว่า 8,500 นาย เตรียมความพร้อมสำหรับการส่งไปยุโรปตะวันออก ส่วน NATO ก็มีการส่งเรือและเครื่องบินรบหลายลำ ไปเตรียมสนับสนุนการป้องกันในภูมิภาค

จากสถานการณ์ตอนนี้ยังถือว่าตึงเครียดอย่างมาก แต่ก็ยากที่จะตอบได้ว่าจะเกิดสงครามขึ้นหรือไม่ เพราะหากเกิดขึ้นจริงๆ ส่วนใหญ่แล้วมีแต่จะเสียกับเสีย

หากเกิดสงครามจริงๆจะเกิดอะไรขึ้น ?

มีการวิเคราะห์กันว่ารัสเซียสามารถเคลื่อนกำลังทหารเข้าสู่ยูเครนและกุมชัยชนะได้อย่างรวดเร็วโดยที่ทาง NATO ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นรัสเซียจะเพิ่มอำนาจการต่อรองกับฝั่ง NATO เเละ ชาติตะวันตกได้

แต่ทางฝั่ง NATO เเละชาติตะวันตก ก็ประกาศว่าจะคว่ำบาตรทางการเงินครั้งใหญ่ต่อรัสเซีย ชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน หากปูตินสั่งให้กำลังทหารเคลื่อนทัพเข้าสู่พรมแดนยูเครน โดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรนั้นมีแผนที่จะคว่ำบาตรโดยตรงต่อปูตินด้วย

ด้านการลงทุนเอายังไงดี ?

จะเห็นได้ว่าปีนี้มีหลายปัจจัยมากจริงๆ หากไม่นับเรื่องสงคราม ด้านเศรษฐกิจก็หนักอยู่แล้วทั้ง Omicron ที่ยังไม่จบ ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกที่ขึ้นสูงจนกระทบกับค่าครองชีพ บางคนบอกว่าด้วยภาวะไม่แน่นอนเช่นนี้หากเป็นเมื่อก่อนคงเรื่องถือเงินสด แต่ด้วยภาวะแบบนี้ถ้าจะถือเงินสดทั้งหมด แต่เงินเฟ้อขนาดนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการถูกลดทอนกำลังซื้อไปเรื่อยๆ ตีมหลักๆ ในตอนนี้ก็คือควรหา Asset ที่ป้องกันทั้งภาวะเงินเฟ้อ และความไม่เเน่นอนทางการเมือง ซึ่ง Asset ที่ตรงกับตั้ง 2 ตีมนี้ก็หนีไม่พ้นทองคำนั่นเอง ดังนั้นการมีทองคำติดพอร์ทในช่วงนี้นับว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากๆครับ

อ่าน Content อื่นๆเพิ่มเติม : https://www.intergold.co.th/

เปิดพอร์ตออนไลน์ : https://bit.ly/3hPrVQi

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ

#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน InterGOLD :

IOS http://ow.ly/C6yo50Dlwgt

Android http://ow.ly/cgyk50Dlwga