
กรมอุทยาน กับปัญหาส่วยค่าตำแหน่ง มีมาหลายสมัย ล่าสุด อธิบดีถูกจับขณะมีการล่อซื้อส่งส่วยค่าอยู่ในตำแหน่งเดิม-ค่าย้ายตำแหนงใหม่ ก่อนเทศลกาลปีใหม่ เป็นเงินสด กว่า 5 ล้านบาท ที่แท้กรมอุทยาน มีงบใช้จ่ายปีละเท่าไร ทำไมต้องส่งส่วย
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรปี 2565 จำนวน 9,964.96 ล้านบาท และมีเงินนอกงบประมาณอีก 1,042.78 ล้านบาท และในปี 2566 ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย เพิ่มขึ้นเป็น 11,045.05 ล้านบาท และมีเงินนอกงบประมาณอีก 233.49 ล้านบาท
- พายุลูกใหม่จ่อเข้าไทย ชี้ความรุนแรงเท่า “เตี้ยนหมู่” ระวังน้ำท่วมใหญ่
- นายกฯตั้งบอร์ดใหญ่คุมแจกเงิน 10,000 บาท ห้าง-โมเดิร์นเทรดรับอานิสงส์
- กรมอุตุฯเตือน “พายุดีเปรสชั่น” เข้าไทย รับมือฝนตกหนัก-ท่วมฉับพลัน
ความเคลือบแคลงสงสัยของสังคม คือ มีเงินงบประมาณ ทั้งใน-นอก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีอยู่แล้ว ทำไมถึงต้องมีการ “ส่งส่วย” ให้ผู้บริหารระดับอธิบดี และตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีก
แหล่งข่าวในกรมอุทยาน ระบุว่า ระบบส่วย มีรายละเอียด และเรียกชื่อส่วยประเภทต่าง ๆ เช่น ส่วยรักษาตำแหน่งเดิม หรือ “ส่วยตำแหน่งความสุข” คือ จ่ายส่วยเพื่อย้ายไปประจำตำแหน่งในพื้นที่บ้านเกิดหรือพืนที่อยู่อาศัยกับครอบครัว “ส่วยค่าล้อรถ” คือ ค่ารถประจำตำแหน่งหัวหน้าอุทยานต่าง ๆ จำนวนล้อละหมื่น “ส่วยค่ากุญแจรถ” คือ การที่หัวหน้าอุทยานต่างๆ มารับรถจากกรมฯ ไปใช้ ต้องจ่ายค่ากุญแจรถ จำนวนหลักครึ่งแสนบาท ต่อกุญแจ 1 ดอก
“ประชาติธุรกิจ” ติดตาม ภารกิจและวิสัยทัศน์ ของกรมอุทยานฯ ปี 2566 พบว่า มีวิสัยทัศน์ “เพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ได้ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศภายในปี 2569”
ภารกิจของกรมอุทยาน
- อนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
- วิจัย พัฒนา ให้บริการด้านวิชาการ
- บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยมีกระบวนการมีส่วนร่วม มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
รายจ่ายงบประมาณ ปี 2566
- งบประมาณรายจ่ายบุคลากร 5,375.66 ล้านบาท
- แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างการเติบโตคุณภาพชีวิต 2,636.69 ล้านบาท
- แผนยุทธศาสตร์ สนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งชัน 336 ล้าน
- แผนยุทธศาสตร์การเติบโตยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ป้องกันการทำลายธรรมชาติ 2,555.36 ล้านบาท
- แผนงานยทธศาสตร์จัดการผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 19.56 ล้าน
- แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 37.95 ล้านบาท
- แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 83.33 ล้านบาท
- แผนบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล 384,600 บาท
รายจ่ายหมวด ค่าตอบแทน และใช้สอยวัสดุ
ในหมวดนี้ มีข้อสังเกตุว่า ค่าโอที หรือค่าปฏิบัติงานนอกเวลราชการ เกือบหมื่นล้าน, ค่าจ้างเหมาพนักงาน เกือนพันล้าน ,ค่าเบี้ยเลี้ยงสูงถึง 1.7 หมื่นล้าน ,ค่าเชื้อเพลิง 1.2 หมื่นล้าน ส่วนรายการที่สูงที่สุด คือ ค่าอาหารสัตว์ป่า มากถึง 5.2 หมื่นล้าน
- เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 9,836.90 ล้านบาท
- เงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติกงานให้ราชการ 1,323 ล้านบาท
- เงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะ 17,805.80 ล้านบาท
- เงินค่าจ้างเหมาบริการ 140 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายสัมมนา ฝึกอบรม 8,383.10 ล้านบาท
- ค่าจ้างเหมาพนักงาน 984,448.40 ล้านบาท
- ค่าประสานงานเครือข่าย 585.00 ล้านบาท
- วัสดุสำนักงาน 3,105.60 ล้านบาท
- วัสดุเชื้อเพลิง และหล่อลื่น 12,017 ล้านบาท
- วัสดุก่อสร้าง 4,940.40 ล้านบาท
- วัสดุงานบ้านงานครัว 5.28 แสนบาท
- วัสดุไฟฟ้า วิทยุ 1,101.60 ล้านบาท
- วัสดุโฆษณา เผยแพร่ 7.94 แสนบาท
- วัสดุเวชภัณฑ์ 8.33 แสนบาท
- วัสดุวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ 1,536.50 ล้านบาท
- วัสดุสนามและการฝึก 7,122.30 ล้านบาท
- วัสดุคอมพิวเตอร์ 3.55 แสนบาท
- วัสดุการเกษตร 7.08 แสนบาท
- วัสดุแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ 4,336.00 ล้านบาท
- ค่าอาหารสัตว์ป่า 52,208.30 ล้านบาท
รายการซื้อรถขนส่ง
นอกจากนี้ยังมี งบลงทุนค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 1,002.12 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่ายานพาหนะขนส่ง 154.70 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดหารถขนส่ง ดังนี้
- ยานพาหนะขนส่ง ต่อหน่วยต่ำกว่า 1 ล้านบาท รวม 21 รายการ
- รถดับเพลิงแบบปิคอัพ 4 คัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อธิบดีกรมอุทยานฯ เรียกรับเงินผลประโยชน์ อะไรบ้าง ก่อนถูกจับสด
- ชัยวัฒน์ ให้ปากคำเพิ่ม คดีส่วยอธิบดีกรมอุทยานฯ ใครเป็นใครบนซองเงิน
- รัชฎา อธิบดีกรมอุทยานฯ สาแหรกราชสกุล รัชสมัย ร. 1 สุริยกุล ณ อยุธยา
- อธิบดีกรมอุทยาน อ้างถูกกลั่นแกล้ง จากปมขัดแย้ง ชัยวัฒน์
- เปิดทุกพฤติการณ์ รัชฎา อธิบดีกรมอุทยานฯ เรียกรับผลประโยชน์