“โรช” แนะวิธีตรวจโควิดด้วยตนเอง ใช้ผิดประเภทอาจสมองติดเชื้อได้

“เครือมติชน” เผยนวัตกรรมด้านสุขภาพ ชวน “โรซ” แนะนำการใช้ชุดตรวจหาเชื้อด้วยตนเองอย่างถูกวิธี

วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เครือมติชนจัดงานมหกรรมสุขภาพออนไลน์ “Healthcare 2021 วัคซีนประเทศไทย” #เราจะฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน บนแพลตฟอร์มสื่อในเครือมติชน ทั้งเฟซบุ๊กมติชน ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ และยูทูบมติชนทีวี โดยงานวันนี้เป็นวันที่ 2 และสำหรับหัวข้อวันนี้เกี่ยวกับ “5 CSR-นวัตกรรม ปลุกความหวัง เปิดทางรอดยุคโควิด” เผยนวัตกรรมด้านสุขภาพ (health innovation) จากองค์กรชั้นนำระดับประเทศ

นวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการสูงมากในประเทศไทยตอนนี้คือ antigen test kit (แอนติเจน เทสต์ คิท) ชุดตรวจที่ใช้ตรวจหาโปรตีนหรือแอนติเจนของเชื้อก่อโรคโควิด-19 ซึ่งมีบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหนึ่งในผู้นำนวัตกรรม SARS-CoV-2 Antigen Self Test Nasal ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง (home use) ที่ได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียนจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา

นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างชุดตรวจโควิด-19 ประเภท rapid test แบบตรวจหา antigen มี 2 แบบ คือ 1.แบบใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น (professional use only) 2.แบบใช้โดยประชาชนทั่วไป ตรวจหาเชื้อด้วยตนเองได้ที่บ้าน (home use)

ชุดที่ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ 1 กล่องมี 25 ชุดตรวจ ลักษณะก้านตรวจ (ก้านสวอบ swab) จะยาวมาก และไม่แข็งเกินไป ส่วนชุดตรวจหาเชื้อด้วยตนเองได้ที่บ้าน 1 กล่อง มี 5 ชุดตรวจ ลักษณะก้านตรวจสั้นกว่าและแข็ง แต่ตัวน้ำยาทดสอบของทั้ง 2 แบบเหมือนกัน ดังนั้น ก่อนซื้อประชาชนต้องอ่านฉลากให้ดีว่าเป็นชุดตรวจแบบตรวจเองหรือไม่

ทั้งนี้ คุณภาพของการตรวจขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ 1.คุณภาพของน้ำยา การจัดเก็บน้ำยาอย่างมีคุณภาพ 2.คุณภาพการเก็บตรวจอย่างตรวจ ถ้าเก็บไม่ถูกต้อง จะได้ตัวอย่างตรวจที่ด้อยคุณภาพ และส่งผลตรวจผิดพลาด นอกจากนั้นขอแนะนำให้ผู้ตรวจทำการสั่งน้ำมูกก่อน 1 ครั้ง เพื่อเคลียร์โพรงจมูก เพื่อไม่ให้น้ำมูกที่มีสารอย่างอื่นไปบล๊อก แล้วค่อยเริ่มการแหย่ก้านสวอบลงไปในจมูก เพื่อเก็บสารคัดหลั่ง

ทนพญ.สมจิตร์ จินาภักดิ์ กล่าวเสริมว่า การรู้ผลตรวจเร็วหรือช้าระหว่างชุดตรวจแบบใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ และแบบประชาชนตรวจด้วยตนเองได้ที่บ้านไม่ต่างกัน แต่ต่างกันที่ความลึกของการแหย่เข้าไปในโพรงจมูก

“ก้านสวอบแบบที่ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์จะยาวมากเพื่อแหย่ไปถึงโพรงจมูกด้านหลังให้ได้เซลที่ติดเชื้อมากที่สุด แต่แบบของประชาชนตรวจด้วยตนเอง เป็นก้านสั้นกว่าเพื่อลดความอันตราย เพราะมีเคสในต่างประเทศที่คนทั่วไปนำแบบที่ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์มาใช้เอง แล้วลึกเกินไปถึงสมอง แล้วทำให้น้ำที่หล่อเลี้ยงสมองรั่วออกมา ทำให้เกิดสมองติดเชื้อได้ และอีกเคสที่นำมาตรวจและหักคาช่องจมูกโพรงอากาศหายใจ เพราะแบบที่ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์จะมีก้านสวอบที่ไม่แข็ง”

“ตอนนี้ในท้องตลาดบางแห่งมีการนำแบบที่ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์มาขาย และอาจทำให้ประชาชนได้ชุดตรวจผิดประเภท ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก การที่มีชุดแบบประชาชนตรวจด้วยตนเอง หรือ home use ออกมาไว ๆ จึงเป็นเรื่องที่ดีมาก”

ทนพญ.สมจิตร์ แนะนำวิธีใช้ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองว่า ประชาชนควรแหย่ก้านสวอบทั้ง 2 ข้างโดยใช้ก้านเดียวกัน แหย่เข้าไปในโพรงจมูก (ลึก 2 เซนติเมตร) ประมาณ 5 ครั้ง เพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บสารคัดหลั่ง

สำหรับผู้ที่ใช้ชุดตรวจด้วยตนเองแบบ home use แล้วพบผลเป็นบวกสามารถกักตัวและรักษาตามอาการที่บ้าน (home isolation: HI) โดยที่ไม่ต้องไปตรวจแบบ RT-PCR (polymerase chain reaction) ที่สถานพยาบาล ยกเว้นแต่มีอาการไข้ ไอ หรือเจ็บคอ และต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาในโรงพยาบาล ต้องตรวจคอนเฟิรม์ตรวจด้วย RT-PCR

ซึ่งการตรวจแบบ RT-PCR เป็นการตรวจตัวเชื้อโควิด-19 เหมือนกันแต่ได้ผลไวกว่า เพราะใช้เครื่องมือแลบ ตรวจได้เร็วว่าและโอกาสเจอสูงกว่า ส่วนการตรวจตัว rapid test แบบตรวจหา antigen เป็นการตรวจโปรตีนเปลือกของเชื้อโควิด-19 ดังนั้น ร่างกายจะหลั่งโปรตีนนี้ออกมา บางครั้งต้องรอถึง 3-5 วันจึงจะเจอผลเป็นบวก

สำหรับอีก 4 นวัตกรรมด้านสุขภาพ (health innovation) จากองค์กรชั้นนำระดับประเทศ ในงาน Healthcare 2021 วัคซีนประเทศไทย ได้แก่