ทันตกรรม จุฬาฯ มุ่งใช้นวัตกรรม ช่วยคนไข้-บุคลากร ปลอดภัยจากโควิด

“เครือมติชน” เผยนวัตกรรมด้านสุขภาพ คณะทันตแเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ะบบระบายอากาศขั้นสูงในคลินิก พร้อมจัดแนวทางคัดแยก คัดกรอง แยกโซน เพื่อการรักษาที่ปลอดภัยท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19

วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เครือมติชนจัดงานมหกรรมสุขภาพออนไลน์ “Healthcare 2021 วัคซีนประเทศไทย” #เราจะฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน บนแพลตฟอร์มสื่อในเครือมติชน ทั้งเฟซบุ๊กมติชน ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ และยูทูบมติชนทีวี โดยงานวันนี้เป็นวันที่ 2 และสำหรับหัวข้อวันนี้เกี่ยวกับ “5 CSR-นวัตกรรม ปลุกความหวัง เปิดทางรอดยุคโควิด” เผยนวัตกรรมด้านสุขภาพ (health innovation) จากองค์กรชั้นนำระดับประเทศ

ถึงแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่การรักษาทันกรรมผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินหรือเร่งด่วนยังคงมีความจำเป็น เช่น ปวดฟัน เหงือกบวม มีหนอง หรือได้รับอุบัติเหตุ หากเกิดอาการเหล่านี้ สามารถพบทันตแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม การทำฟันมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 สูง เนื่องจากน้ำลายรวมถึงละอองฝอยจากการทำฟันอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค คณะทันตแเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) และรักษาความเชื่อมั่นของผู้ป่วยในการเข้ามารับการรักษาทางทันตกรรม จึงออกมาตราการและแนวทางปฎิบัติ ที่รวมถึงการใช้นวัตกรรมที่จำเป็น เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย นิสิตทันตแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ผศ.ทญ.ดร.พิสชา พิทยพัฒน์ รองคณบดี ฝ่ายโรงพยาบาล คณะทันตแเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทางคณะทำการปรับปรุงคลินิกทันกรรมทุกคลินิก ให้มีระบบหมุนเวียนถ่ายเทอากาศตามมาตรฐานภายใต้การกำกับดูแลโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีแผ่นกรองเฮปป้า (HEPA-High Efficiency Particulate Air Filter) ซึ่งเป็นที่กรองอากาศคุณภาพสูง สามารถกรองเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย กรองฝุ่นละอองได้ และมีระบบปรับอากาศที่มีการใช้แสงยูวีที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษ ที่สามารถฆ่าทำลายเชื้อโรค

ที่สำคัญมีการจัดแยกพื้นที่ให้บริการตามความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อเป็น 3 บริเวณ คือ พื้นที่พักคอย พื้นที่รักษาที่ทำให้เกิดระอองฝอยเป็นอย่างต่ำ และพื้นที่พื้นที่รักษาที่ทำให้เกิดระอองฝอยเป็นอย่างสูง

ผศ.ทญ.ดร.พิสชา พิทยพัฒน์

นอกจากการจัดการอากาศและพื้นที่ ทางคณะทันตแเพทยศาสตร์ จุฬาฯ ยังมีแนวทางปฏิ”บัติการควบคุมการติดเชื้อ ตามประกาศของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยให้มีการคัดกรองผู้ป่วยตั้งแต่ขั้นตอนการโทรศัพท์นัดหมาย และเมื่อผู้ป่วยมาถึงจะมีการคัดกรองซ้ำ ด้วยการทำแบบประเมินความเสี่ยง ผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากอนามัย และถูกจัดให้มีระยะห่างต่อบุคคลไม่น้อยกว่า 1 เมตร และก่อนเริ่มการรักษา ผู้ป่วยต้องบ้วนปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนทุกครั้ง

สำหรับทันตแพทย์ นิสิตทันตแพทย์ และผู้ช่วย คณะคณะทันตแเพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดชุดและอุปกรณ์ป้องกันตนเองตามมาตรฐานของทันตแพทยสภา สำหรับงานกรอฟันจะมีใส่แผ่นกรองกั้นน้ำลาย และทุกรายที่มีการฟุ้งกระจายสูง จะมีการใช้เครื่องดูดน้ำลายที่มีกำลังดูดสูง เพื่อช่วยลดละอองฝอยที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ พื้นผิวบริเวณการทำงานจะมีการเช็ดฆ่าเชื้อทั้งก่อนและหลังการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนพื้นผิวทั่วไปที่มีการสัมผัส เช่น ปุ่มกดลิฟต์ หรือลูกบิดประตู จะถูกเช็ดทำความสะอาดทั้งวัน และจัดใหมีเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่าง ๆ

สำหรับอีก 4 นวัตกรรมด้านสุขภาพ (health innovation) จากองค์กรชั้นนำระดับประเทศ ในงาน Healthcare 2021 วัคซีนประเทศไทย ได้แก่