
อีอีซีรวมพลังภาคีภาครัฐ-เอกชน หนุนใช้ EV Bus รับส่งพนักงาน นำร่องในอีอีซี 100 คัน คาดใน 5 ปี ทะยาน 10,000 คัน จูงใจลงทุนคลัสเตอร์ EV จ่อชิงฐานการผลิตระบบหล่อเย็นจากอินโดนีเซีย
วันที่ 28 กันยายน 2566 นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะและรถรับ-ส่งพนักงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกับนายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศาสตราจารย์ นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พระราชินี เสด็จฯ ส่วนพระองค์ ทรงร่วมวิ่ง CIB RUN 2023 ระยะทาง 10 กิโลเมตร
- เปิดตัว “คอร์ทยาร์ด บาย แมริออท กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ” ห่างสนามบิน 10 นาที
- พระราชินี ทรงนำทีมแข่งขันเรือใบนานาชาติ เข้าเส้นชัยอันดับ 1
พร้อมด้วยนายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย นายวีระเดช เตชะไพบูลย์ นายกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี 100) และนายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน ร่วมลงนาม
นายจุฬา กล่าวว่า ถือเป็นความร่วมมือสำคัญจากภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนการลงทุนในเศรษฐกิจ BCG ผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม ตลอดจนดึงดูดการลงทุนนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะในคลัสเตอร์อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในพื้นที่อีอีซี ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายให้เป็นฐานการผลิต EV แห่งภูมิภาค โดยภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว จะส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขนส่งสาธารณะและการรับ-ส่งพนักงานให้แพร่หลาย ประชาชนในพื้นที่อีอีซี ซึ่งเป็นต้นแบบสำหรับรับส่งคนงานในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ
โดยตั้งเป้าผลิตรถโดยสารไฟฟ้าภายในปี 2566 ที่จำนวน 100 คัน และภายใน 5 ปีจะต้องมีให้ได้ 10,000 คันสำหรับใช้ทั่วประเทศ นำร่องที่อีอีซีก่อนขยายไปที่อื่น รวมถึงกลุ่มนักวิจัยในไทยก็เตรียมพัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพและช่วยประหยัดพลังงานให้มากยิ่งขึ้นเพื่อพร้อมใช้ในประเทศต่อไปได้
“แม้รถโดยสารไฟฟ้านี้จะผลิตและประกอบในประเทศไทย แต่ก็มีการใช้เทคโนโลยีบางอย่างจากกลุ่มโรงงานที่มาตั้งในไทยทั้งญี่ปุ่นและจีนมาผสมผสานเพราะแต่ละคนมีความเก่งกันคนละด้าน อีกเหตุผลคือ แทนที่จะผลิตและส่งออกอย่างเดียวก็หันมาผลิตประกอบเป็นรถให้คนไทย เรียกว่าเป็นการทำตลาดจากภายในประเทศ”
ในอนาคตก็สามารถนำไปใช้แทนรถโดยสารประจำทางสันดาปได้ โดยแบตเตอร์รี่มีขนาดประมาณ 450 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถเพิ่ม-ลดได้ตามระยะทาง มีความยืดหยุ่นสูงเพราะผลิตในประเทศไทย รวมถึงอาจเป็นอีกหมุนหมายสำคัญที่จะดึงฐานการผลิตระบบหล่อเย็นสำหรับรถใหญ่ของค่ายผู้ผลิตส่วนประกอบยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง DENSO จากอินโดนีเซียให้มาที่ไทย
ทั้งนี้ อีอีซีจะเชื่อมโยงความร่วมมือและพัฒนากลไกการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ โดยทุกฝ่าย
จะร่วมกันสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การถ่ายทอดองค์ความรู้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ การติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าเพื่อรองรับ รวมไปถึงขยายผลสร้างมูลค่าเพิ่มโครงการฯ
โดยอีอีซีจะร่วมขับเคลื่อนพัฒนาระบบนิเวศจูงใจให้เกิดการลงทุน เช่น เรื่องสิทธิประโยชน์รูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกเพิ่มความรวดเร็วในการอนุมัติ อนุญาตที่อีอีซีสามารถออกใบอนุญาตแทนหน่วยงานต่าง ๆ ได้ถึง 44 ใบอนุญาต คาดว่าจะเริ่มได้ในมกราคม ปี 2567 ซึ่งจากความร่วมมือครั้งนี้ เป็นกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับคลัสเตอร์ EV และคลัสเตอร์ BCG ในกลุ่มพลังงานสะอาด