จับตา พีระพันธุ์ ผนึก พิมพ์ภัทรา ประกาศนโยบายหนุนไฟฟ้าสีเขียว UGT พรุ่งนี้ 

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

‘พีระพันธุ์’ ผนึก ‘พิมพ์ภัทรา’ ประกาศนโยบายไฟฟ้าสีเขียว ‘UGT’ เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและการลงทุน หลังประกาศสูตรคำนวณค่าไฟฟ้าสีเขียว 2 แบบ ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่เดิมและโรงไฟฟ้าใหม่ เอกชนชำแหละ 2 ปม ภาครัฐ ยังคงพยายามรักษาบทบาทเหมา REC มาเป็นของตัวเอง-ผู้ใช้ไฟฟ้านอกระบบ UGT จะอยู่รอดได้อย่างไร 

วันที่ 14 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ในวันที่ 15 มกราคม 2566 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และ นายุยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แถลง นโยบายรัฐบาลกับการให้บริการไฟฟ้าสีเขียว เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและการลงทุน 

พร้อมทั้งจะมีการชี้แจง (ร่าง) ข้อเสนอ UGT เวที โดยนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. และผู้แทนสำนักงาน กกพ. พร้อมด้วย ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง

เปิดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว 

สำหรับอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tarif) หรือ UGT นั้น ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 141 ตอนพิเศษ 7 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 ลงประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การให้บริการและการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tarif) พ.ศ. 2566 ซึ่งได้ลงนาม วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยนายเสมอใจ ศุขสุเมฆประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงานระบุว่า 

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการและการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) สำหรับการให้บริการไฟฟ้าที่เป็นกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐ ภายใต้นโยบายและแนวทางการกำหนดอัตราค่าบริการตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 3/2565 (ครั้งที่ 162) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 28/2566 (ครั้งที่ 856) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 และครั้งที่ 52/2566 (ครั้งที่ 880) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ 

ADVERTISMENT

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การให้บริการและการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) พ.ศ. 2566” 

ข้อ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

ADVERTISMENT

ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ไฟฟ้าสีเขียว” หมายความว่า พลังงานไฟฟ้าซึ่งมีใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) 

“อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว” หมายความว่า ราคาไฟฟ้าสีเขียวต่อหน่วย ค่าตอบแทน หรือ เงื่อนไขสำหรับการให้บริการไฟฟ้าสีเขียว รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่ผู้มีหน้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า 

“ผู้มีหน้าที่” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้าที่ กกพ. กำหนดให้มีหน้าที่ให้บริการและเสนออัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวตามประกาศนี้ 

“ผู้ใช้ไฟฟ้า” หมายความว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าตามประเภทที่กำหนดในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และผู้ใช้พลังงานที่การไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทยจะจัดส่งหรือจำหน่ายให้ตามพระราชกฤษฎีกา 

กำหนดผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า ที่มีความประสงค์ใช้บริการไฟฟ้าสีเขียว “กกพ.” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ข้อ 4 อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก ให้กำหนดเป็นสองรูปแบบ ดังต่อไปนี้ 

(1) อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวแบบไม่เจาะจงแหล่งที่มา (UGT1) เป็นอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่เดิมในระบบไฟฟ้า ณ วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็น การนำใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของโรงไฟฟ้าเดิมที่รัฐมีกรรมสิทธิ์มาให้บริการร่วมกับการให้บริการพลังงานไฟฟ้า และเป็นการให้บริการในลักษณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องเจาะจงแหล่งที่มาของไฟฟ้า และใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในการขอรับบริการ โดยมีอัตราค่าบริการส่วนเพิ่ม (Premium) เพิ่มเติมจากอัตราค่าไฟฟ้าตามปกติที่ครอบคลุมต้นทุนค่าใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รวมถึงองค์ประกอบอื่นตามที่ กกพ. กำหนด 

(2) อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวแบบเจาะจงแหล่งที่มา (UGT2) เป็นอัตราค่าบริการไฟฟ้า สีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่หรือโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเดิมในระบบไฟฟ้า ณ วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการให้บริการพลังงานไฟฟ้าและใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งเดียวกัน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเจาะจงกลุ่มโรงไฟฟ้า (Portfolio) ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของไฟฟ้า ในการขอรับบริการ และอัตราค่าบริการให้กำหนดจากต้นทุนการให้บริการพลังงานไฟฟ้าและใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของแต่ละกลุ่มโรงไฟฟ้า รวมถึงองค์ประกอบอื่นตามที่ กกพ. กำหนด 

ข้อ 5 ในการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวตามข้อ 4 ให้ผู้มีหน้าที่กำหนดโครงสร้าง องค์ประกอบ สูตรการคำนวณ และข้อกำหนดในการให้บริการตามหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ โดยคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้ 

(1) การสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงของการให้บริการไฟฟ้าสีเขียวที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากลโดยการคำนวณอัตราค่าบริการไฟฟ้าต้องชัดเจนและโปร่งใส 

(2) การจัดสรรต้นทุนการให้บริการที่ครอบคลุมต้นทุนสาธารณะและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่มไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ใช้พลังงานหรือผู้ประสงค์จะใช้พลังงานอย่างไม่เป็นธรรม 

ข้อ 6 ให้ผู้มีหน้าที่เสนออัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวและจัดทำร่างสัญญาการให้บริการไฟฟ้าตามที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ เสนอต่อ กกพ. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ 

ข้อ 7 ให้การไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้าที่เป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ 

ข้อ 8 ให้ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ และ กกพ. เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ 

สูตรคำนวณค่าไฟฟ้าสีเขียว 

พร้อมกันนี้ ได้แนบเอกสารแนบท้าย ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การให้บริการและการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) พ.ศ. 2566 ดังนี้ 

1. หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวแบบไม่เจาะจงที่มา (UGT๑) 

1.1 กำหนดให้ UGT1 เป็นอัตราค่าไฟฟ้าตามประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปกติรวมค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราคำไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (F) และมีค่า “ส่วนเพิ่ม” (Premium) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 

ส่วนที่เป็นค่าใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (REC) ของโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมในระบบที่รัฐมีกรรมสิทธิ์ (PREC) และส่วนที่เป็นค่าบริหารจัดการ (PA) ตามเอกสาร 

1.2 ข้อกำหนดในการให้บริการ UGT1 

1.2.1 ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกรับบริการไฟฟ้าสีเขียวรูปแบบนี้ โดยแจ้งปริมาณที่ขอรับบริการเป็นบล็อค (block) ซึ่งมีขนาดตามที่ผู้มีหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ให้บริการกำหนดภายใต้สัญญาการให้บริการไฟฟ้าระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้มีหน้าที่ (Electricity Supply Agreement: ESA) เช่น บล็อกละ 100 กิโลวัตต์ ชั่วโมง หรือเลือกใช้เท่ากับปริมาณการใช้ฟฟ้าของตนในแต่ละเดือน (ร้อยละ 100) 

1.2.2 การสมัครใช้บริการและระยะเวลาการขอรับบริการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน ESA 

1.2.3 ผู้มีหน้าที่จะส่งมอบไฟฟ้าพร้อม REC ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว รูปแบบนี้ตามปริมาณที่สมัครขอรับบริการในแต่ละเดือน แต่ต้องไม่เกินปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนโดยผู้ใช้ไฟฟ้าอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวจะไม่สามารถเลือกสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภท หรือเจาะจงแหล่งที่มาของการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้ 1.3 ให้ค่า Premium เป็นรายได้ภายใต้การกำกับ และให้มีการปรับปรุงการกำหนดค่า Premium ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพรวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เมื่อสิ้นปีปฏิทินสำหรับใช้เรียกเก็บในปีถัดไป 

2. หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวแบบเจาะจงที่มา (UGT2) 

2.1 กำหนดให้โครงสร้างอัตราค่าบริการ UGT ในระดับขายส่ง เป็นอัตราค่าบริการที่ไม่แบ่งตามช่วงเวลาของการใช้ ประกอบด้วย (1) ส่วนที่เป็นอัตราค่าไฟฟ้าคงที่ (Fixed Rate) ได้แก่ อัตราค่าพลังงานไฟฟ้า (Generation Charge : G) อัตราค่าบริการระบบส่งไฟฟ้า (Transmission Charge : T) และอัตราค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการในระดับขายส่ง (Administrative Charge : Aw) และ (2) ส่วนที่เป็นอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Variable Rate) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ในระดับขายส่ง (Policy Expense : PEw) และส่วนปรับปรุงค่า G ของแต่ละ Portfolio ในระดับขายส่ง (AFw) โดยมีสูตรการคำนวณตามเอกสารแนบ 

2.2กำหนดให้โครงสร้างอัตราค่าบริการ UGTe ในระดับขายปก เป็นอัตราค่าบริการที่ไม่แบ่งตามช่วงเวลาของการใช้ ประกอบด้วย 

(1) ส่วนที่เป็นอัตราค่าไฟฟ้าคงที่ในระดับขายปลีก (Fixed Rate)ได้แก่ ค่าจัดหาไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งส่วนที่เป็น Fixed Rate; อัตราค่าบริการระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution Charge : D) ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายและบริหารจัดการ (Administrative Charge : Ar) และ 

(2) ส่วนที่เป็นอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Variable Rate) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ในระดับขายปลีก (PER) และส่วนปรับปรุงค่า G ของแต่ละ Portfolio ในระดับขายปลีก ทั้งนี้ ให้มีบทปรับค่า Power Factor ในระดับขายส่งและขายปลีกเช่นเดียวกับในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปกติ 

2.3 ข้อกำหนดการให้บริการ UGT2 

2.3.1 ให้ UGT2 เป็นบริการทางเลือกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่ หรือผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง ที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุด ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนก่อนหน้าเกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน 

2.3.2 ระยะเวลาการขอรับบริการ 10 ปี โดยมีเงื่อนไขการใช้บริการตามที่กำหนดใน ESA 

2.3.3 ผู้มีหน้าที่จะส่งมอบไฟฟ้าพร้อม REC ให้ผู้ใช้ฟฟ้าอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว รูปแบบนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดใน ESA 

2.3.4 ให้รายได้จากการจัดเก็บอัตราค่าบริการ UGT2 เป็นรายได้ภายใต้การกำกับ 

3. การเสนออัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว 

3.1 ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้มีหน้าที่เสนออัตราค่าบริการ UGTส่วนที่เป็นค่า Premium ระดับขายส่ง และ UGT-ส่วนที่เป็น Fixed Rate ในระดับขายส่ง สำหรับแต่ละ Por tfolio เริ่มแรกและตามรอบการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และให้เสนอ UGT ส่วนที่เป็น Variable Rate ในระดับขายส่งสำหรับแต่ละ Portfolio เริ่มแรกและทุก 4 เดือน ตามรอบ Ft โดยมีสมมุติฐาน ข้อมูล และรายละเอียดในการคำนวณทั้งหมด รวมถึงร่างสัญญาการให้บริการไฟฟ้าในระดับขายส่งด้วย (Wholesale Electricity Supply Agreement : Wholesale ESA) 

3.2 ให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้มีหน้าที่ในการเสนออัตราค่าบริการ UGT ส่วนที่เป็นค่า Premium ระดับขายปลีก และ UGT ส่วนที่เป็น Fixed Rateในระดับขายปลีก สำหรับแต่ละ Po : tfolio เริ่มแรกและตามรอบการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และให้เสนอ UGT-ส่วนที่เป็น Variable Rate ในระดับขายปลีก เริ่มแรกและทุก 4 เดือน ตามรอบ Ft โดยมีสมมุติฐาน ข้อมูล และรายละเอียดในการคำนวณทั้งหมด รวมถึงร่างสัญญาการให้บริการไฟฟ้าในระดับขายปลีกด้วย (Retail Electricity Supply Agreement : Retail ESA)

เอกชนชำแหละค่าไฟฟ้าสีเขียว

แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ได้ตั้งข้อสังเกตว่า 1. ภาครัฐ ยังคงพยายามรักษาบทบาทของตัวเอง โดยการเหมา REC มาเป็นของตัวเอง แล้วขายต่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้า แต่ทว่า ผู้ผลิตไฟฟ้า ต้องเป็นคนเสนออัตราค่าไฟ ไปให้ภาครัฐเห็นชอบ แล้วภาครัฐ ก็ไปบวก overhead เอามาขายต่ออีกที ใช่หรือไม่

2. ในมุม คาร์บอน มีประเด็นว่า ถ้ารัฐ มีการจัด port ให้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (RE) ทั้งหมดที่ connect ไปที่สายส่ง (grid) มาเข้าระบบ UGT ทั้งหมดแล้ว คำถามคือ grid emission factor สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในระบบ ก็จะเท่ากับศูนย์ คือ เมื่อดึงเอา ไฟฟ้า RE ออกมาแยกขาย

แต่คำถามคือ ผู้ใช้ไฟฟ้า นอกระบบ UGT จะอยู่รอดอย่างไร เพราะเป็น ไฟฟ้าไม่สะอาด/หรือ ฟอสซิล ทั้งหมดหรือเกือบหมด

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความถูกต้อง, โปร่งใส และไม่ double counting ก็ต้องมีการแก้ไข (revise) ค่า carbon emission ใหม่ (ค่าควรจะสูงขึ้น เพราะเดิม 0.5 kgCO2/kWh คำนวณจากพอร์ตฟอลิโอ ทีมีทั้งพลังงานหมุนเวียนและฟอสซิลผสมกัน ถ้าดึงพลังงานหมุนเวียนออก ก็จะเหลือฟอสซิลเพียว ๆ ค่าก็ต้องเพิ่มแบบมีนัยสำคัญ