กรมธุรกิจพลังงาน-กฟผ. ผนึก EEC นำร่อง 1 จุดสถานี 10 หัวจ่ายใน EECd เริ่มปี 68

กรมธุรกิจพลังงาน-กฟผ. ผนึก EEC

กรมธุรกิจพลังงาน-กฟผ. ผสาน EEC ดันระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า นำร่อง 1 จุดสถานี 10 หัวจ่าย เริ่มปี 68 เสริมโครงสร้างการใช้พลังงานสะอาด รองรับการลงทุนในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)

วันที่  3 เมษายน 2567 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าพร้อมพื้นที่ให้บริการเต็มรูปแบบเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสำหรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โดยมี นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี และ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมลงนาม

โดยทั้ง 3 หน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าพร้อมพื้นที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (EleX by EGAT Eco Charging Sphere) ในพื้นที่บางส่วนของสำนักงานกรมธุรกิจพลังงานภายในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ขนาด 5 ไร่ ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อเป็นต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว จำนวน 1 จุด 10 หัวจ่าย

กรมธุรกิจพลังงาน-กฟผ. ผนึก EEC นำร่อง 1 จุดสถานี 10 หัวจ่าย

 

ADVERTISMENT

อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ พื้นที่พักผ่อน อาคารในพื้นที่จะใช้พลังงานสะอาดจากโซลาร์รูฟท็อป และเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน ตามมาตรฐาน TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) หรือ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ภายใต้แนวคิด Green Energy

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายยานยนต์แห่งชาติ ได้กำหนดเป้าหมายให้มีการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ไทยเป็นแหล่งผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับและส่งเสริมระบบนิเวศที่สำคัญ เช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ครอบคลุมและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ

ADVERTISMENT

โดยความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก รองรับความต้องการของประชาชนผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในพื้นที่และการสัญจรมายังภาคตะวันออก คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568

รวมถึงการยกระดับการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพรองรับการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้พลังงานสะอาด เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่อีอีซีต่อไป

กรมธุรกิจพลังงาน-กฟผ. ผนึก EEC นำร่อง 1 จุดสถานี 10 หัวจ่าย