กรมส่งเสริมการเกษตร ตรวจสอบพื้นที่เกษตรสุโขทัย น้ำท่วมเสียหาย 2,087 ไร่

น้ำท่วมนาข้าวสุโขทัย

กรมส่งเสริมการเกษตร ตรวจสอบพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมจังหวัดสุโขทัย คาดว่าพื้นที่เกษตรเสียหาย 2,087 ไร่

วันที่ 18 สิงหาคม 2567 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่ได้มีสื่อออนไลน์นำเสนอข่าวว่า “จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจากอุทกภัยจำนวน 4.3 หมื่นไร่ เป็นพื้นที่นาข้าว จำนวน 39,982 ไร่ โดยเป็นข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมจิสด้า” นั้น สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัยได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานภัยพิบัติ (ด้านพืช) ลงพื้นที่ตรวจสอบและรายงานข้อมูลความเสียหายเบื้องต้น พร้อมให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ต่อคณะอำนวยการติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืชแล้ว

พีรพันธ์ คอทอง
พีรพันธ์ คอทอง

โดยยืนยันว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัยได้ประสานข้อมูลร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอและผู้นำท้องถิ่น เพื่อยืนยันตัวเลขพื้นที่ความเสียหายจากภาพถ่ายดาวเทียมจิสด้าแล้ว พื้นที่ที่กำลังประสบภัยพิบัติน้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว และพื้นที่รับน้ำ รวมทั้งพื้นที่บางระกำโมเดล

ขณะนี้มีพื้นที่การเกษตรในจังหวัดสุโขทัยได้รับผลกระทบจำนวน 3 อำเภอ 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน ที่รายงานข้อมูลความเสียหายเบื้องต้นจากอุทกภัย (ด้านพืช) มีพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหายจำนวน 2,087 ไร่ ประกอบด้วย
1.อำเภอเมืองสุโขทัย พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหายจำนวน 2,015 ไร่ (จำนวน 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน)
2.อำเภอสวรรคโลก พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหายจำนวน 50 ไร่ (จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน)
3. อำเภอกงไกรลาศ พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหายจำนวน 22 ไร่ (จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน)

กรมส่งเสริมการเกษตรห่วงใยเกษตรกรจึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ให้แก่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรไว้ใช้เป็นแนวทางการติดตาม ป้องกัน และลดผลกระทบของพื้นที่การเกษตรจากสถานการณ์ภัยพิบัติ เพื่อช่วยลดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตร ตรวจสอบพื้นที่เกษตรสุโขทัย น้ำท่วมเสียหาย 2,087 ไร่

Advertisment

โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ และแนวทางการดำเนินการ 4 ด้าน ดังนี้ ระยะที่ 1) ก่อนเกิดภัย ได้แก่ ด้านการป้องกัน (Prevention) และด้านการเตรียมความพร้อม (Preparation) ระยะที่ 2) ขณะเกิดภัย ได้แก่ ด้านการเผชิญเหตุ (Response) ระยะที่ 3) หลังเกิดภัย ได้แก่ ด้านการฟื้นฟู (Recovery) และได้จัดตั้งศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อ 1) ติดตามรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ภูมิอากาศ สถานการณ์น้ำ สถาณการณ์การเพาะปลูก และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ประมวลผล จัดทำแผนที่ และประเมินความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบและความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร และแจ้งเตือนภัยให้เกษตรกรทราบอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์

2) ติดตาม เร่งรัด การดำเนินงานตามนโยบาย มาตรการ แผนงาน/โครงการ และแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืช และรายงานให้ศูนย์ติดตามแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Advertisment

3) ติดตาม เร่งรัด การดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ให้เกิดความรวดเร็วและถูกต้องเหมาะสมต่อสถานการณ์ 4) รายงานข้อมูลความเสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ต่อคณะอำนวยการติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืช

5) ประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6) จัดทำคำแนะนำข้อมูลข่าวสาร และข้อเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงคำแนะนำในการปฏิบัติดูแลรักษาพืช ตามสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่เกษตรกร

“กรมส่งเสริมการเกษตรพร้อมเป็นเพื่อนคู่คิด และมิตรแท้ของเกษตรกรในทุกสถานการณ์ที่เกิดประโยชน์สาธารณะ ที่มิได้คำนึงเพื่อเพียงกาลปัจจุบัน