ปศุสัตว์เตือนไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิดสายพันธุ์ชนิดรุนแรง ระบาด 30 ประเทศ

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศต่าง ๆ โดยยังมีรายงานพบการระบาดของโรค “ไข้หวัดนก” สายพันธุ์ชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ทั้ง H5N1 H5N6 และ H5N8 มากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา แอฟริกา รวมทั้งในเอเชีย

วันที่ 4 มีนาคม 2565 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าในปี 2564 ที่ผ่านมา องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) รายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิดสายพันธุ์รุนแรง (Highly Pathogenic Avian Influenza: HPAI) ใน 61 ประเทศทั่วโลก รวมจุดพบโรคทั้งหมด 5,213 จุด และจากรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 พบรายงานการระบาดของโรค “ไข้หวัดนก” สายพันธุ์ชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ชนิด H5N1 H5N6 H5N2 H5N5 และ H5N8 มากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา แอฟริกา รวมทั้งในเอเชีย

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต

อาทิ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานพบการติดเชื้อไข้หวัดนกในคนชนิด H5N6 ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีผู้เสียชีวิต กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานหลัก ไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงเตรียมความพร้อม ในการป้องกันโรคไข้หวัดนก เข้าสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกรมปศุสัตว์ได้เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งให้คำแนะนำวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดนกแก่เกษตรกร ตั้งแต่การปรับระบบการเลี้ยง

โดยเน้นระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น ป้องกันนกธรรมชาติเข้าเล้า/โรงเรือน ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณสัตว์อาศัยอยู่เป็นประจำ หาแหล่งน้ำบริโภคให้สะอาด ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้า-ออกฟาร์ม ในกรณีที่จะนำสัตว์ปีกเข้าร่วมฝูง จะต้องมีการกักกันไว้ในบริเวณอื่นก่อน อย่างน้อย 7 วัน เป็นต้น

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสังเกตอาการสัตว์อย่างใกล้ชิด หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ อย่านำสัตว์ปีกไปจำหน่ายจ่ายแจก หรือนำไปประกอบอาหารโดยเด็ดขาด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทันที เพื่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและดำเนินมาตรการควบคุมโรคทันที

วันเดียวกัน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการเปิดประชุมผ่านระบบการประชุมวีดิทัศน์ทางไกล พร้อมด้วย สัตวแพทย์หญิง ดร.พัชรี ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ นายสัตวแพทย์อภินันท์ คงนุรัตน์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจาก สพส. สคบ. สสช. กสก. และ กรป. ร่วมให้การต้อนรับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน Department of Veterinary Services (DVS) และ Department of Islamic Development (JAKIM) ประเทศมาเลเซีย ในโอกาสเข้าตรวจประเมินโรงงานในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 5-19 มีนาคม 2565

ในการตรวจประเมินครั้งนี้จะมีการเข้าตรวจโรงงาน (on-site) ทั้งสิ้น 28 แห่ง ประกอบด้วยโรงเชือดสัตว์ปีกจำนวน 26 แห่ง โรงตัดแต่งเนื้อสัตว์ปีกจำนวน 1 แห่ง และโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ปีกจำนวน 1 แห่ง ซึ่งเป็นการตรวจรับรองโรงงานใหม่และรับรองเพื่อการต่ออายุ ตามมาตรฐานด้านอาหารปลอดภัย และมาตรฐานฮาลาลตามข้อกำหนดของมาเลเซีย ในการนี้ผู้แทนจากทั้งกรมปศุสัตว์และสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ร่วมบรรยายภาพรวมของกรมปศุสัตว์ ระบบการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพสัตว์ปีก การควบคุมป้องกันและการควบคุมการเคลื่อนย้ายโรคสัตว์ปีก ระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ระบบการผลิตสินค้าเนื้อสัตว์ปีก ระบบการรับรองมาตรฐานฮาลาลของประเทศไทย และการตรวจด้านฮาลาลในโรงเชือดสัตว์ปีกเพื่อการส่งออก

ทั้งนี้ในปัจจุบันโรงเชือดสัตว์ปีกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงาน DVS และ JAKIM แล้วเป็นจำนวน 28 โรงงาน ในปี 2564 มีปริมาณการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกไปมาเลเซียจำนวน 29,697 ตัน คิดเป็นมูลค่า1,969.18 ล้านบาท ซึ่งการตรวจประเมินครั้งนี้น่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกไทยไปมาเลเซียได้มากขึ้น

สำหรับ Pig Sandbox จะเป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ เพื่อนำร่อง ส่งเสริม-ฟื้นฟูการผลิต และควบคุมป้องกันโรคสุกร ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย เขตพื้นที่นำร่องและพื้นที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เช่น ภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคการเงินการธนาคาร ภาคการขนส่ง ฯลฯ

มาตรการทางกฎหมายและการสนับสนุนด้านอื่น ๆ โครงการ/กิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ กรอบเวลาและงบประมาณ และคณะทำงานขับเคลื่อนทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ สำหรับแนวทางการส่งเสริมและฟื้นฟูการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายเล็กและเกษตรกรรายย่อย มีการดำเนินการโดยใช้หลัก 3S คือ Scan พื้นที่ภายใต้มาตรการประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดพื้นที่นำร่อง (Pig Sandbox) Screen คน คอก เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีความพร้อมและเหมาะสม และ Support อุดหนุน ช่วยเหลือด้านการจัดการเลี้ยงดู การตลาดและแหล่งทุน โดยให้คำแนะนำ อบรม ในการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับและปรับระบบการเลี้ยงเข้าสู่มาตรฐาน GFM/GAP มีการอบรมเกษตรกร สนับสนุน อุดหนุน ปัจจัยการผลิตที่จำเป็น เช่น พันธุ์สัตว์ราคาถูก (ลูกสุกรขุน/แม่พันธุ์)

โดยกรมปศุสัตว์ และเครือข่ายผู้เลี้ยงสุกร สนับสนุนการจัดทำ ปรับปรุงฟาร์มภายใต้ระบบป้องกันภัยทางชีวภาพของฟาร์มเลี้ยงสุกรสู่ระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management: GFM) โดยต้องเป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม