ส่องกำไร SGC ก่อนเทรดวันแรก 13 ธ.ค.นี้

บมจ.เอสจี แคปปิตอล ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินเชื่อรถทำเงิน เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันแรก 13 ธ.ค.นี้ หมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “SGC

วันที่ 12 ธันวาคม 2565 บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินเชื่อรถทำเงิน เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันแรก 13 ธ.ค.นี้ ในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน หมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “SGC”   

โดยเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่มิใช่สถาบันการเงิน โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งให้บริการ (1) สินเชื่อเช่าซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ในครัวเรือน (Home Appliances) เครื่องใช้ไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (Commercial Appliances) และเครื่องจักร (Captive Finance) (2) สินเชื่อประเภทให้เช่าซื้อรถยนต์แบบโอนกรรมสิทธิ์เล่มทะเบียน และสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (รถบรรทุก รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์เพื่อการพาณิชย์) (3) สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน (Debt Consolidation) และ (4) สินเชื่อผ่อนทอง (Click2Gold) ภายใต้ชื่อ “เอสจี แคปปิตอล”

สัดส่วนรายได้

โครงสร้างรายได้ของบริษัท ในงวดปี 2562-2564 และงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 และ 2565 สามารถสรุปได้ดังนี้

หมายเหตุ

1.งบการเงินปี 2562 จัดทำโดยฝ่ายบริหารเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ

2.รายได้สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมการคำนวณรายได้จากเงินอุดหนุนจากผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งสามารถพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในส่วนที่ 2.3.9 การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง และรายการระหว่างกัน–9.3.2 รายการระหว่างกัน”

3.สินเชื่ออื่นประกอบด้วยสินเชื่อเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

4.รายได้อื่นที่สำคัญ ประกอบด้วย รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้ค่าคอมมิชชั่น และรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นหลัก

หมายเหตุ :  

1.รายได้สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมการคำนวณรายได้จากเงินอุดหนุนจากผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งสามารถพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในส่วนที่ 2.3.9 การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง และรายการระหว่างกัน–“9.3.2 รายการระหว่างกัน

2.สินเชื่ออื่นประกอบด้วยสินเชื่อเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

3.รายได้อื่นที่สำคัญ ประกอบด้วย รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้ค่าคอมมิชชั่น และรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นหลัก

สรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

ผู้ถือหุ้นใหญ่

บริษัทมีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 และรายชื่อผู้ถือหุ้นที่คาดว่าจะเป็นภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน ดังนี้

โดย ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2565 บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มีรายชื่อผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก ดังนี้

ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2565 บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) มีรายชื่อผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก ดังนี้

ขายไอพีโอ 820 ล้านหุ้น

บริษัทขายไอพีโอจำนวนไม่เกิน 820,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.08 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทในครั้งนี้ โดยแบ่งสัดส่วนดังนี้

1.การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 574,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 70.00 ของจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จะเสนอขายในครั้งนี้ เพื่อเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นของ SINGER ที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรกของบริษัท

2.การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 246,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 30.00 ของจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จะเสนอขายในครั้งนี้ รวมถึงหุ้นทั้งหมดที่เหลือจากการจัดสรรและการเสนอขายในส่วน Preemptive Rights ตามข้อ (1) (ถ้ามี) เพื่อเสนอขายต่อบุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายและ/หรือผู้ลงทุนสถาบัน (ที่จะได้รับจัดสรรตามดุลพินิจของผู้จัดการการจัดจำหน่าย)

แผนระดมทุน

บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ ประมาณ 3,104.85 ล้านบาท ภายหลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

นโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 50%

บริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ในแต่ละปี แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีขาดทุนสะสมในส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท