บาทอ่อนค่า รับโอเปกประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมัน

เงินบาท -ราคาน้ำมัน

เงินบาทอ่อนค่า รับโอเปกประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 1.16 ล้านบาร์เรล/วัน หวั่นทำราคาน้ำมันตลาดโลกปรับสูงขึ้น กระทบความต้องการใช้ทั่วโลก รวมถึงอาจส่งผลทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐเพิ่มขึ้นด้วย

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (3/4) ที่ระดับ 34.27/29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (31/3) ที่ระดับ 34.18/20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ จากการเคลื่อนไหวของเงินทุนในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2566

นอกจากนี้ตลาดยังมีความกังวลหลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตรหรือกลุ่มโอเปกพลัสประกาศปรับลดการผลิตน้ำมันลง 1.16 ล้านบาร์เรล/วัน โดยปริมาณการปรับลดการผลิตน้ำมันโดยรวมคาคว่าจะอยู่ที่ 3.66 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.7% ของความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลก

               

ตามรายงานระบุว่า การตัดสินใจดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงสิ้นปี 2566 ซึ่งแถลงการณ์ที่ออกมาส่งผลให้ตลาดมีความวิตกเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงในอนาคต รวมทั้งอาจสร้างความไม่พอใจให้แก่ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ เนื่องจากหากราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นอีก

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐที่มีการประกาศเมื่อคืนวันศุกร์ได้แก่ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ โดยดัชนี PCE ทั่วไปประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.0% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.1% และชะลอตัวจากระดับ 5.3% ในเดือนก่อนหน้า

ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังาน ปรับตัวสูงขึ้น 4.6% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 4.7% และชะลอตัวจากระดับ 4.7% ในเดือนมกราคม

นอกจากนี้ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภกของสหรัฐประจำเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษรูกิจถดถอย โดยดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 62.0 ต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 63.2 รวมถึงลดลงจากระดับ 67.0 ในเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 34.22-34.46 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และปิดตลาดที่ระดับ 34.37/39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดลาดเช้านี้ (3/4) ที่ระดับ 1.0802/06 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (31/3) ที่ระดับ 1.0874/78 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา สำนักงานสถิติยุโรป (Eurostat) เปิดเผยว่าเงินเฟ้อทั่วไปในยูโรโซนประจำเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงสู่ระดับ 6.9% จากระดับ 8.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาพลังงาน อาหาร แอลกอฮอล์ และยาสูบ ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 5.7% จากระดับ 5.6% ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตามสำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวไม่ใด้ส่งสัญญาณชัดเจนการยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB)

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0789-1.0853 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0845/49 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (3/4) ที่ระดับ 133.12/15 เยนดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าจากระดับปิตตลาดเมื่อวันศุกร์ (31/3) ที่ระดับ 133.39/42 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าของดอลลาร์ ทั้งนี้ระหว่างวันค่างินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 132.83-133.75 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 133.45/47 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนี PMI (3/4), ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP (5/4), จำนวมผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (6/4) และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานประจำเดือนมีนาคม (7/4)

สำหรับอัตราปัองกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -11.35/-10.8 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า  1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -10.00/-8.80 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ