เรื่องควรรู้ เมื่อคิดก่อหนี้ : เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ควรมีวินัย

หนี้ผิดนัด
บทความโดย “อภิสิทธิ์ สืบไวย”
ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM
Health And Wellbeing Consultant
Prudential Life Assurance (Thailand)
สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ หลาย ท่าน มักจะขอพรให้ได้สิ่งที่ใจปราถนา และตั้งเป้าหมายกับตนเอง และเชื่อว่าเป้าหมายที่ทุกคนต้องการ คือ เป้าหมายที่ SMART

1. Specific = ชัดเจน เฉพาะเจาะจง รู้ว่าต้องการอะไร

2. Measurable = สามารถวัดผลเป็นตัวเลขหรือตัวเงินได้อย่างชัดเจน

               

3. Achievable = สามารถทำสำเร็จตามเป้าหมายได้ และรู้ว่าต้องทำอย่างไร

4. Realistic = มีความเป็นไปได้ สมเหตุสมผล สอดคล้องกับความเป็นจริง

5. Time Bound = มีกรอบเวลาที่แน่ชัด รู้ว่าต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด

เป้าหมายทางด้านสุขภาพ

1. อยากลดน้ำหนักเดือนละ 1-2 กิโลกรัม

2. อยากมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย (ไม่เป็นโรค ไม่ไปหาหมอ ให้ได้ทุกเดือน)

3. อยากมีหุ่นดี กระชับ มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น (มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเดือนละ 1%)

เป้าหมายทางด้านการเงิน

1. เก็บเงินเดือนละ 20,000 บาท ลงทุนในกองทุน SSF/RMF ไว้ใช้ยามเกษียณ

2. อยากมีรายได้เพิ่มขึ้น เดือนละ 20,000 บาท จากการลงทุน/ขายสินค้า

3. อยากมีบ้านหลังใหม่ พื้นที่ 50 ตารางวา ราคา 5 ล้านบาท ภายในเดือนธันวาคม 2566

4. หรืออยากมีคอนโดฯในเมือง ขนาดห้องมากกว่า 35 ตารางเมตร ราคา 5 ล้านบาท ภายในเดือนธันวาคม 2566

5. รถคันใหม่ เป็นรถพลังงานไฟฟ้า (EV) ที่กำลังเป็น Trend พลังงานสะอาด ตอนนี้ ราคา 2,000,000 บาท ภายในเดือนมิถุนายน 2566

6. โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ราคา 30,000 บาท ภายในเดือนมิถุนายน 2566

7. ท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤศจิกายน 2566

ทั้งนี้ เป้าหมายทางการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตัวอย่างดังนี้

1. เป้าหมายระยะสั้น (Short-term Goal) คือเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จใน 1-3 ปี เช่นต้องการออมเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ราคา 30,000 บาท ในอีก 6 เดือน 

2. เป้าหมายระยะกลาง (Intermediate-term Goal) ที่ต้องการทำให้สำเร็จใน 3-7 ปี เช่น ต้องการออมเงินจำนวน 300,000 บาท เพื่อเรียนต่อระดับปริญญาโทในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือเพื่อเป็นเงินดาวน์ ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์

3. เป้าหมายระยะยาว (Long-term Goal) ที่ต้องใช้เวลามากกว่า 7 ปี เช่น ต้องการออมเงินจำนวน 10 ล้านบาทเพื่อใช้ในวัยเกษียณอีก 30 ปีข้างหน้า 

จะเห็นได้ว่าทุกเป้าหมาย ล้วนต้องใช้เงินทั้งสิ้น เช่น หากคุณอยากลดน้ำหนัก อยากมีสุขภาพแข็งแรงอยากมีหุ่นดี คุณต้องออกกำลังกาย ควบคุมโภชนาการ คุณต้องซื้อรองเท้า ชุดออกกำลังกายใหม่ แม้กระทั่งเลือกการรับประทานอาหารเสริม โปรตีน วิตามินต่าง

หรือแม้กระทั่งซื้อคอร์สออกกำลังกาย จ้างเทรนเนอร์มาดูแลการออกกำลังกาย และ นักโภชนาการมาวางแผนการรับประทานอาหาร แต่ถ้าเป็นเป้าหมายที่เป็นสินทรัพย์ ตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ท่องเที่ยวในและต่างประเทศ รถยนต์ คอนโดฯ ที่ดิน และบ้านที่อยู่อาศัย คุณยิ่งต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อสิ่งที่คุณต้องการ  

หากคุณไม่ได้วางแผนการเงิน และเก็บเงิน เพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายต่าง ที่ตั้งไว้ ตั้งแต่แรก แต่คุณต้องการสิ่งเหล่านั้นเร็วขึ้น โดยไม่ต้องการเสียเวลาเก็บสะสมเงิน มีทางเลือกที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ คือ การใช้เงินในอนาคต การกู้ยืมเงิน หรือการขอสินเชื่อ กับสถาบันการเงินต่าง ๆ

หรือการกู้ยืมเงินนอกระบบ ส่งผลทำให้ภาวะหนี้สินภาคครัวเรือนของไทยสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบกับกำลังการบริโภคของประชาชนในประเทศ และจะกลายเป็นระเบิดลูกหนึ่งที่เข้ามาทำลายระบบเศรษฐกิจ

หนี้ครัวเรือนคือหนี้ที่ประชาชนกู้ยืมจากผู้ให้กู้ สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการนอกระบบ หรือแม้แต่คนรู้จักเพื่อนำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายตามความต้องการที่แตกต่างกันไป โดยการก่อหนี้หรือการกู้ยืมเงินนั้นช่วยให้เราสามารถใช้จ่ายได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และยามจำเป็นเกินกว่ารายได้และเงินออมที่มีอยู่ เช่น จ่ายค่าอาหารมื้อหรูแม้เงินเดือนยังไม่ออก ซื้อรถในฝันแม้ยังไม่มีเงินออมก้อนใหญ่ หรือจ่ายค่ารักษาพยาบาลในยามฉุกเฉิน

อย่างไรก็ดี การก่อหนี้เปรียบเสมือนการนำรายได้ในอนาคตมาใช้ แม้จะทำให้เกิดการใช้จ่าย ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในวันนี้ แต่ในอนาคตเราจำเป็นต้องทยอยชำระหนี้คืนทำให้รายได้ที่หามาเหลือใช้น้อยลง และหากครัวเรือนส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจก่อหนี้มากเกินไปก็จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจผ่านทาง 1.การบริโภคของครัวเรือนในอนาคตจะลดลง

และ 2.ความสามารถในการรองรับเหตุการณ์ไม่คาดคิดน้อยลง เช่น หากถูกเลิกจ้างหรือถูกลดค่าจ้างลง ก็อาจจะผิดนัดชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม ซึ่งสร้างความเสี่ยงให้กับระบบสถาบันการเงินหรือผู้ให้กู้ยืม ในกรณีที่การผิดนัดชำระหนี้มีจำนวนมาก ระบบการเงินจะได้รับความเสียหายจนไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติและกระทบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง (ที่มา : ธปท.)

สัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนเป็น ดังนี้

จากตารางจะเห็นได้ว่าสินเชื่อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัด คือ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ หมายถึง สินเชื่อบุคคลทั้งที่ไม่มีหลักประกัน (สินเชื่ออเนกประสงค์) และมีหลักประกัน เช่น เช่าซื้อ สินเชื่อทะเบียนรถ (รถแลกเงิน) ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ผู้ขอสินเชื่อนำเงินไปอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เช่น ซื้อสินค้าที่อยากได้ รับประทานอาหารมื้อหรู ท่องเที่ยวในและต่างประเทศ หรือกระทั่งนำเงินไปชำระหนี้ทั้งในและนอกระบบ

จากการใช้จ่ายเงินที่เกินตัว อีกทั้งหลาย ธุรกิจ เอื้อให้คนใช้เงินจนเกินตัวแบบง่ายและสะดวกเพิ่มมากขึ้น เช่น ในอดีต จะซื้อรถยนต์สักคันต้องมีคนค้ำประกัน มีเงินดาวน์ 2550% ของราคารถ แต่ปัจจุบันการซื้อรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์สักคัน บางแห่งไม่ต้องใช้คนค้ำไม่ต้องใช้เงินดาวน์ ทำให้เกิดก่อหนี้เป็นไปได้ง่าย

แต่หลายคนอาจไม่ได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายแฝงที่ตามมา เช่น ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา ประกัน พ.ร.บ. ภาษี อะไหล่สิ้นเปลือง เช่น ยางรถยนต์ เป็นต้น

ท้ายที่สุดแล้วเมื่อติดกับดักการก่อหนี้ ทำให้ลืมคิดว่าภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รู้ตัวอีกที คือ เมื่อบิลชำระค่าบัตรเครดิตมา เมื่อผ่อนชำระต่อเดือนไม่ไหวก็กลายเป็นชำระหนี้ขั้นต่ำ และทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มพูนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกเดือน จนท้ายสุดแล้วไม่ไหวกลายเป็นหนี้เสีย (NPL)  คือ หนี้ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยนานติดต่อกันตั้งแต่ 91 วัน ขึ้นไป เข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป

คำถามตามมา คือ ผู้ที่กำลังก่อหนี้ ควรจะทำอย่างไร เช่น

สินเชื่อบ้าน ควรเลือกบ้านราคาตามกำลังทรัพย์ของตนเอง ควรผ่อนชำระไม่เกิน 40% ของรายได้

สินเชื่อรถ ควรคิดรอบด้าน ไม่ใช่แค่ค่างวดต่อเดือน ควรรวมค่าใช้จ่ายอื่น จำแนกเป็นรายเดือนเข้าไปด้วย เช่น ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา ประกัน พ.ร.บ. ภาษี เป็นต้น

สินเชื่ออุปโภค บริโภคส่วนบุคคล ให้คิดก่อนว่า เป็น “ความจำเป็น” หรือ “ความต้องการ” เช่น อยากได้โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ให้ถามตนเองว่า ใช้งานคุ้มค่ากับฟังก์ชั่นที่ได้มาหรือไม่

โดยสรุป การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ถ้าก่อหนี้แล้วควรมีวินัย มีการจัดการที่ถูกวิธี เพราะการหนี้ที่ดี จะทำให้กลายเป็นเครื่องมือทำให้เกิดความมั่งคั่งในอนาคตได้