
เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งภายในปีนี้ และอาจจะปรับลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีหน้า
วันที่ 22 กันยายน 2566 ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวการณ์เคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันที่ 18-22 ก.ย. 2566 ในช่วงต้นสัปดาห์ ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันจันทร์ (18/9) ที่ระดับ 35.73/74 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (15/9) ที่ระดับ 35.78/79 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
- ครม.เคาะแล้ว ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค. 67
- MOTOR EXPO 5 วัน ค่ายอีวี BYD ลุ้นแซงโตโยต้า ขึ้นผู้นำขายสูงสุด
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบเงินสกุลหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง โดยเมื่อวันศุกร์ (15/9) ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ หุ67.7 ในเดือน ก.ย. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 69.1 จากระดับ 69.5 ในเดือน ส.ค.
ทั้งนี้ ผู้บริโภคลดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่เพิ่มความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต โดยในวันพุธ (20/9) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังจากที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 11 ครั้งนับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม 2565 ในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (dot plot) เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง สู่ระดับ 5.6% ภายในสิ้นปีนี้
และส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งสู่ระดับ 5.1% ในช่วงสิ้นปี 2567 และแตะ 3.9% ในช่วงสิ้นปี 2568 ขณะที่แตะ 2.9% ในช่วงสิ้นปี 2569 ขณะที่คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ระดับ 2.5% ส่วนการคาดการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐนั้น เฟดปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวสู่ระดับ 2.1% ในปี 2566 จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 1.0% และคาดว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว 1.5% 1.8% และ 1.8% ในปี 2567 2568 และ 2569 ตามลำดับ ขณะที่อัตราการขยายตัวในระยะยาวอยู่ที่ระดับ 1.8%
นอกจากนี้ เฟดปรับลดคาดการณ์อัตราว่างงานสู่ระดับ 3.8% ในปีนี้ และอยู่ที่ 4.1% ทั้งในปี 2567 และ 2568 ส่วนในปี 2569 อยู่ที่ระดับ 4.0% ขณะที่อัตรว่างงานระยะยาวอยู่ที่ 4.0% ส่วนการคาดการณ์เกี่ยวกับเงินเฟ้อนั้น เฟดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสู่ระดับ 3.7% ในปี 2566 และอยู่ที่ 2.6% และ 2.3% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ ส่วนในปี 2569 อยู่ที่ระดับ 2.0%
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากปัจจัยในประเทศเป็นหลัก โดยในวันอังคารค่าเงินบาทอ่อนค่าทะลุ 36.00 บาท/ดอลลาร์ หลังรัฐบาลทุ่มมาตรการในลักษณะประชานิยม เน้นการเติบโตระยะสั้น ซึ่งอาจทำให้ภาพเศรษฐกิจไทยระยะยาวอ่อนแอลง ประกอบกับมีแนวโน้มว่า รัฐบาลเตรียมออกพันธบัตร (บอนด์) ระยะยาวเพิ่มในปีหน้า ส่งผลให้มีแรงเทขายออกมาอย่างหนักในตลาดบอนด์ไทย
สำหรับปัจจัยในภูมิภาค ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 3.5% ในปีนี้ หลังจากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 3.3% อย่างไรก็ดี ADB ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียลงสู่ระดับ 4.7% ในปี 2566 จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.8% โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียประกอบด้วย 46 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย แต่ไม่รวมญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
อย่างไรก็ดี ADB ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียในปี 2567 ขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 4.8% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.7% ADB ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2566 โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนและอินเดียจะขยายตัว 4.9% และ 6.3%ในปีนี้ตามลำดับ ซึ่งลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 5.0% และ 6.4% ตามลำดับ แต่ได้คงตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจจีนและอินเดียในปี 2567 ไว้ที่ 4.5% และ 6.7% ตามลำดับ
ทั้งนี้ ADB ระบุในรายงานว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนทำให้เศรษฐกิจเอเชียมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับช่วงขาลงและอาจฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์นี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 35.64-36.33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในวันศุกร์ (22/9) ที่ระดับ 36.03/05 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดตลาดวันจันทร์ (18/9) ที่ระดับ 1.0665/69 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (15/9) ที่ระดับ 1.0655/58 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงได้รับแรงหนุนจากการแสดงความเห็นของผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ไม่เห็นด้วยกับการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของอีซีบีสิ้นสุดลงแล้ว โดยผู้กำหนดนโยบายบางคนระบุว่า อีซีบีจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน และอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งถ้าหากมีความจำเป็น
อย่างไรก็ตามในวันศุกร์ (22/9) ได้มีการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) คอมโพสิตขั้นต้นของเอชซีโอบี ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยเอสแอนด์พี โกลบอล เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 47.1 ในเดือน ก.ย. จากระดับต่ำสุดในรอบ 33 เดือนที่ 46.7 ในเดือน ส.ค. โดยต่ำกว่าระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว แต่ก็ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงสู่ระดับ 46.5
ผลสำรวจพบว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวลงในไตรมาส 3 และจะไม่กลับมาขยายตัวอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ แม้ว่าภาวะตกต่ำในกิจกรรมภาคธุรกิจลดลงเล็กน้อยในเดือน ก.ย.ก็ตาม ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์นี้ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0613-1.0736 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดในวันศุกร์ (22/9) ที่ระดับ 1.06643/45 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดวันจันทร์ (18/9) ที่ระดับ 147.72/75 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (15/9) ที่ระดับ 147.82/84 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ค่าเงินเยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 147.72/75 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (15/9) ที่ระดับ 147.82/84 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ค่าเงินเยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 147.96 เยนเมื่อสัปดาห์
อย่างไรก็ดีค่าเงินเยนปรับตัวกรอบแคบในช่วงต้นสัปดาห์ โดยวันจันทร์ (18/9) เป็นวันหยุดของญี่ปุ่น อีกทั้งนักลงทุนชะลอการลงทุน เนื่องจากรอดูทิศทางจากการปะชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธ (19/9) และธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันศุกร์ (22/9) ซึ่งบีโอเจถูกจับตาใกล้ชิด หลังจากนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการบีโอเจทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการถอนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในไม่ช้านี้
โดยก่อนหน้านี้นายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการบีโอเจให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์ในวันที่ 9 ก.ย.ว่า บีโอเจอาจจะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ เมื่อมองเห็นการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ โดยในวันศุกร์ (22/8) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำพิเศษในวันนี้ และคงการประกาศว่าจะหนุนเศรษฐกิจต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะแตะเป้าหมาย 2% อย่างยั่งยืน
ซึ่งบ่งชี้ว่า บีโอเจไม่รีบเร่งที่จะทยอยถอนมาตรการกระตุ้นทางการเงินขนาดใหญ่ และบีโอเจคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ -0.1% และเป้าหมายสำหรับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของญี่ปุ่นที่ราว 0% ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดไว้ รวมทั้งคงกรอบที่อนุญาตให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรดังกล่าวเคลื่อนไหวในระดับตั้งแต่ -0.50% จนถึง 0.50% และคงเพดานที่ 1.0% ที่ใช้ในเดือน ก.ค.
บีโอเจระบุในแถลงการณ์ว่า “เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจจะฟื้นตัวปานกลางต่อไป” พร้อมเสริมว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อส่งสัญญาณการเพิ่มขึ้นครั้งใหม่ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวสวนทางกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐและยุโรปที่ส่งสัญญาณในการประชุมเมื่อไม่นานมานี้ว่าตั้งใจจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูเพื่อควบคุมเงินเฟ้อต่อไป บีโอเจไม่ได้ปรับเปลี่ยนการให้แนวทางการดำเนินนโยบายในอนาคต
โดยยังคงประกาศว่า “จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมโดยไม่ลังเล” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ผู้เล่นในตลาดบางรายคิดว่า อาจจะเปลี่ยนไปใช้ท่าทีเชิงเป็นกลางมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดกำลังจับตาถ้อยแถลงของนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการบีโอเจในการแถลงข่าวหลังการประชุมในวันนี้เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า บีโอเจอาจทยอยถอนมาตรการกระตุ้นเมื่อใด เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสูงเกินเป้าหมาย และเยนร่วงลงอีกครั้ง ตลาดจึงพุ่งความสนใจไปที่สัญญาณใด ๆ ที่นายอุเอดะอาจจะทิ้งไว้เกี่ยวกับจังหวะเวลาในการปรับเปลี่ยนนโยบาย
นอกจากนี้ นายชุอิจิ ซูซูกิ รมว.คลังญี่ปุ่นได้ให้สัมภาษณ์ว่า เขาจะไม่ตัดทางเลือกใด ๆ เกี่ยวกับค่าเงินออก ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าทะลุระดับ 148 เยนแล้ว พร้อมทั้งเตือนให้ระวังการเทขายเยนที่จะกระทบญี่ปุ่น เขากล่าวตอบคำถามเกี่ยวกับการแทรกแซงเพื่อสกัดการอ่อนค่าของเยนว่า เขากำลังติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านสกุลเงินอย่างใกล้ชิด โดยการแทรกแซงที่ญี่ปุ่นดำเนินการในเดือน ก.ย.หรือ ต.ค. ปีที่แล้วมีผลกระทบบางอย่างในตลาดเงิน และเขาจะไม่ตัดทางเลือกใด ๆ ออก ถ้าหากค่าเงินผันผวนมากเกินไป “เรากำลังจับตาค่าเงินต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยตระหนักถึงความเร่งด่วนสูง”
ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 147.31-148.45 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในวันศุกร์ (22/9) ที่ระดับ 148.34/36 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ