โควิด-อย่าเชื่อแต่เพียงสถิติ

คอลัมน ์คุยฟุ้งเรื่องการเงิน

พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (อาจารย์ทอมมี่)
แอคชัวเรียล บิสซิเนส โซลูชั่น (ABS)

 

แม้ว่าโดยปกติแล้วเราจะใช้หลักสถิติเป็นเครื่องมือสำหรับคาดการณ์อนาคต เพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกสถานการณ์จะแค่นำสถิติที่ผ่านมาใช้อย่างเดียวก็จบ โดยเฉพาะกับเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นต้น

การเก็บเพียงแต่ตัวเลขทางสถิติของคนที่ติดเชื้อโควิดที่ผ่านมา โดยไม่พิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานสำหรับการประมาณการความเสี่ยง ว่าในบางสถานการณ์นั้นก็ไม่สามารถเชื่อสถิติที่เกิดขึ้นในอดีตเพียงอย่างเดียวได้

โดยเฉพาะในบางประเด็นที่ปัจจัยความเสี่ยงนั้นไม่ได้เป็นความเสี่ยงแบบสุ่ม (random number) ตามในทฤษฎี แต่เป็นความเสี่ยงที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน หรือก็คือโอกาสของการติดเชื้อนั้นไม่ได้มีค่าคงที่ แต่จะมีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้การจัดการความเสี่ยงนั้นไม่เหมือนกับสลากกินแบ่งรัฐบาลที่สามารถคำนวณหาโอกาสความน่าจะเป็นในการถูกรางวัลได้โดยมีทฤษฎีรองรับอย่างแม่นยำ

สำหรับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดนั้นเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ ตามสถานการณ์ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะใช้สมการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนมากเพียงใด แต่ด้วยข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้การประเมินอนาคตนั้นทำได้เพียงแค่การประเมินแบบคร่าว ๆ เท่านั้น ว่าสถิติมีโอกาสไปในทิศทางไหนได้บ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้ผู้ที่กำหนดนโยบายหรือผู้ที่ต้องประเมินความเสี่ยงนั้นติดกับดักทางสถิติและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย

โดยสถิติที่ผ่านมานั้นจะไม่สามารถนำมาจำลองอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด เพราะการจำลองอนาคตสำหรับความเสียหายนั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น โอกาสและอัตราการติดเชื้อว่าจะแพร่กระจายได้เร็วแค่ไหน (loss frequency) และความรุนแรงหลังจากการติดเชื้อมากน้อยเพียงใด (loss severity) ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่ไม่คงที่กันทั้งคู่

Advertisment

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดไปอีกนานเท่าไร ก็นับเป็นอีก 1 ปัจจัยสำคัญที่ทุกคนต่างถามถึง บางคนเคยคิดว่าน่าจะจบที่กลางปี 2564 บางคนตอนนี้เปลี่ยนมาคิดว่าน่าจะจบที่ปลายปี 2564 ส่วนบางคนเชื่อว่ากว่าสถานการณ์นี้จะจบจริง คงเป็นช่วงปี 2565 เป็นต้น

ในขณะที่การติดเชื้อในครั้งนี้นั้นมีโอกาสสูงขึ้นเป็นหลายเท่าตัวได้ในอนาคต ซึ่งหมายถึงจะต้องประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั้นจะต้องประเมินให้ได้อย่างน้อยเท่ากับจำนวนระยะเวลาที่คาดการณ์ว่าจะจบไว้

Advertisment

อีกทั้งความเสี่ยงที่ขึ้นกับพฤติกรรมของมนุษย์ นโยบายของรัฐบาล ทิศทางขององค์การอนามัยโลก การวิจัยยารักษาโรค รวมไปถึงตัววิวัฒนาการของไวรัสเองด้วย ทำให้สิ่งต่อไปนี้นำสถิติในอดีตมาจำลองอนาคตได้ยากมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการระบาดครั้งนี้ได้มีปัจจัยเรื่องของการวิวัฒนาการของไวรัส และการวิวัฒนาการทางการแพทย์เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากโควิดเป็นไวรัสที่เกิดขึ้นมาใหม่ ทำให้มีความน่าจะเป็นที่ตัวไวรัสจะสามารถวิวัฒนาการต่อได้ ซึ่งถ้าเกิดมีการวิวัฒนาการไปเป็นไวรัสที่มีความรุนแรงมากขึ้น ก็จะทำให้ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

ในทำนองเดียวกัน ด้านการแพทย์ยังคงมีการพัฒนาวิธีการรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโควิดอยู่เรื่อย ๆ และถ้าเมื่อไรที่วงการแพทย์สามารถหาวิธีรักษาโรคจากไวรัสนี้ได้ ก็ต้องปรับข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ให้มีความเหมาะสมตามกันไป

นอกจากปัจจัยเรื่องของการวิวัฒนาการของไวรัสและการวิวัฒนาการทางการแพทย์แล้ว ยังมีปัจจัยในด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะโควิดนั้นสามารถติดต่อได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนต้องเปลี่ยนแปลงไป

ยกตัวอย่างเช่น ต้องใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกไปพบปะผู้คน, มีการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing), สถานที่ต่าง ๆ มีการจัดตั้งจุดตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าไปในสถานที่และมีการจัดตั้งเจลล้างมือไว้บริการผู้คนที่เข้าไปใช้บริการ จนอาจจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า วิถีชีวิตใหม่ หรือ new normal นั่นเอง

ถ้าผู้คนมีวินัยและปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ ก็จะทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย แต่ถ้ามีผู้คนที่ละเลยไม่ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกัน ก็อาจจะทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น กรณีที่แย่ที่สุดก็อาจทำให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ จนทำให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสเป็นจำนวนมากก็เป็นได้

ดังจะเห็นได้ในหลายประเทศ และไม่พ้นประเทศไทย ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้จริง นักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็คงต้องทำงานหนักขึ้นอย่างมาก เพราะสิ่งที่เคยได้วิเคราะห์ไปเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้นจนข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์เปลี่ยนไปอีกด้วย

ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม การจะกำหนดนโยบายหรือตัดสินใจทิศทางของธุรกิจนั้นจะใช้ทฤษฎีทางสถิติเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ

ในวงการคณิตศาสตร์ประกันภัยจึงมีประโยคที่ใช้กันในตอนออกแบบเบี้ยประกันโควิดว่า “Law of large numbers is not working for COVID-19.” เพราะไม่ใช่แค่นำหลักสถิติมาใช้ก็จบ แต่เราต้องนำหลักเศรษฐศาสตร์ หลักการเงิน และหลักการคาดการณ์อนาคตพิจารณาร่วมด้วย จึงจะสามารถพยากรณ์อนาคตได้อย่างถูกหลักการที่แท้จริง การจะประเมินความเสี่ยงและหามาตรการมารองรับในอนาคต