วิธีสังเกตแบงก์ปลอม ทำง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กก่อนถูกหลอก !

ธนบัตร แบงก์
FILE PHOTO : Mladen ANTONOV / AFP

เปิดวิธีสังเกตธนบัตรปลอมจากแบงก์ชาติ หลังพ่อค้าแม่ค้าชาวนนทบุรีโดนกลุ่มมิจฉาชีพหลอก

วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนในจังหวัดนนทบุรี ต้องเผชิญกับการระบาดของธนบัตรปลอม หลังมีการแจ้งข่าวข่าวบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งระบุว่า มีการแพร่ระบาดของธนบัตรปลอม โดยมีประชาชน พ่อค้า แม่ค้า จากร้านค้าหลายได้รับผลกระทบจากกลุ่มมิจฉาชีพ

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แสดงความกังวลพร้อมเตือนไปยังประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้า แม่ค้าว่า ให้ระมัดระวัง ขอให้ตรวจสอบธนบัตรที่ได้รับ โดยเฉพาะธนบัตรที่มีมูลค่าสูง ขอให้สละเวลาในการตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อน จะได้มีตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพแก๊งปลอมธนบัตร

พร้อมขอความร่วมมือประชาชนหากพบธนบัตรปลอม ห้ามนำธนบัตรปลอมออกไปใช้อีก เพราะมีความผิดตามกฎหมาย ให้เขียนคำว่า “ปลอม” ลงบนธนบัตรเพื่อแยกแยะออกจากธนบัตรฉบับจริง แล้วนำไปส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อนำส่งเข้าระบบ แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ โดยให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ให้ได้มากที่สุด หรือโทรศัพท์แจ้งธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 0 2356 7987

สำหรับกฎหมายที่ใช้จัดการสร้างความเดือดร้อนใช้ธนาบัตรปลอมหรือแปลงธนบัตร คือ จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000-400,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 240 ส่วนคนที่นำธนบัตรปลอมไปใช้โดยรู้ว่าเป็นของปลอมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-300,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 244

วิธีสังเกตแบงก์ปลอม

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ธนบัตรเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงต้องเป็นสิ่งพิมพ์ที่ยากต่อการปลอมแปลง นอกจากนี้ยังเป็นสื่อกลางที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นชาติ และคุณค่าทางศิลปะไทยที่ประณีตงดงาม

ธนบัตรจึงมีลักษณะพิเศษที่ยากต่อการปลอมแปลง แต่ต้องง่ายต่อการสังเกตและตรวจสอบ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการดังนี้ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง​ และเพื่อความมั่นใจควรตรวจสอบอย่างน้อย 3 จุดขึ้นไป

สัมผัส

1. กระดาษธนบัตร 

ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนป​ระกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป


ธนบัตรแบบ 17
​ feel01.jpg

ธนบัตรแบบ 16​

2. ลายพิมพ์เส้นนูน 

เกิดจากการพิมพ์โดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึกและใช้แรงกดพิมพ์สูง หมึกพิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ ภาพและลายเส้นที่ได้จึงมีรายละเอียดคมชัด ซึ่งใช้ในการพิมพ์พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ คำว่า “รัฐบาลไทย” ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ ​จะรู้สึกสะดุด

ธนบัตรแบบ 17​
ธนบัตรแบบ 17​

ธนบัตรแบบ 16​
ธนบัตรแบบ 16​

ยกส่อ​ง

​3. ลายน้ำ 

​เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาบางไม่เท่ากันจนเกิดเป็นภาพตามต้องการ ลายน้ำในธนบัตรไทยเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร นอกจากนี้ ลายน้ำยังมีตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ

ธนบัตรแบบ 17
ธนบัตรแบบ 16
ธนบัตรแบบ 16
  • ภาพเงาพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะคล้ายลายน้ำ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท
ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท

4. ช่องใส (ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท)

ช่องใสทรงหยดน้ำ มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน และมีตัวเลข “20” ขนาดเล็กดุนนูน

ช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์และตัวเลขใส “20” ที่อยู่ด้านล่าง มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน มีการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเห็นเป็นสีเหลือบแดง และมีตัวเลข “20” สีทองอยู่ตรงกลางช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 

  

5. ภาพซ้อนทับ 

เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพทั้งสองด้านได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์ สามารถสังเกตได้ด้วยการยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง 

ธนบัตรแบบ 17
ธนบัตรแบบ 17

ธนบัตรแบบ 17

พลิกเอียง

6. ตัวเลขแฝง

ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง

ธนบัตรแบบ 17 
ธนบัตรแบบ 17
​​latent1000.png
ธนบัตรแบบ 16 (ชนิดราคา 500 และ 1000 บาท ลายประดิษฐ์จะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียวด้วย) 

 

7. หมึกพิมพ์พิเศษ

ลายดอกประดิษฐ์ ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ ภายในมีตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวา จะเห็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนสลับสี  ส่วนชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเมื่อพลิกธนบัตรไปมาจะเห็นเป็นประกาย

ธนบัตรแบบ 17 (ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท)​
ธนบัตรแบบ 17 (ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท)​

 

ธนบัตรแบบ 17 (ชนิดราคา 100 บาท)
ธนบัตรแบบ 17 (ชนิดราคา 100 บาท)

​​ลวดลายจัดเรียงกันในแนวตั้ง เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเห็นเป็นสีเหลือบเหลือง

ธนบัตรแบบ 17 (ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท)​
ธนบัตรแบบ 17 (ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท)​

ธนบัตรแบบ 17 (ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท)​

8. แถบสี 

เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ฝังแถบพลาสติกขนาดเล็กเคลือบด้วยสีโลหะไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง และมีบางส่วนของแถบปรากฎให้เห็นเป็นระยะ จะเปลี่ยนสีเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ภายในแถบมีตัวเลขและตัวอักษรแจ้งชนิดราคาขนาดเล็ก เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะมองเห็นอ่านได้ชัดเจน​

ธนบัตรแบบ 17 
ธนบัตรแบบ 17
​ธนบัตรแบบ 16 
​ธนบัตรแบบ 16
      • แถบสีเทาตามแนวตั้ง ภายในแถบมีข้อความ “2บาท 20 BAHT” ขนาดเล็ก สามารถอ่านได้ทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท
ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท

9. แถบฟอยล์ภาพ 3 มิติ 

ผนึกไว้ตามแนวตั้ง ภายในมีภาพที่เป็นมิติ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมาจะเห็นองค์ประกอบต่างๆ ในแถบฟอยล์เคลื่อนไหว และเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับสวยงาม 

ธนบัตรแบบ 16
ธนบัตรแบบ 16

10. ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง 

พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง เป็นหมึกพิมพ์ซึ่งสามารถมองเห็นการเรืองแสงเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง ลายประดิษฐ์บริเวณกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งชนิดราคา หมวดเลขหมายจะเรืองแสง และเส้นใยที่ฝังในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง แดง และน้ำเงิน

ธนบัตรแบบ 17 
ธนบัตรแบบ 17
ธนบัตรแบบ 16
ธนบัตรแบบ 16
      • หมวดอักษรและเลขหมายไทยพิมพ์ตามแนวนอน ส่วนหมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิกพิมพ์ตามแนวตั้ง ซึ่งหมวดอักษรและเลขหมายทั้งสองนี้จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม   เรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท
ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท

ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท