ประกาศแล้ว พ.ร.บ.งบประมาณปี 2566 วงเงิน 3.18 ล้านล้านบาท บังคับใช้ 1 ต.ค.นี้

ราชกิจจานุเบกษาฯ-ประกาศราชกิจจาฯ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้เป็นต้นไป กระทรวงศึกษาธิการได้มากสุด 1.2 แสนล้านบาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ 8.6 หมื่นล้าน กลาโหมได้ 8.5 หมื่นล้าน งบฯกลาง 5.9 หมื่นล้าน ส่วนรายจ่ายประจำที่เป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สำหรับข้าราชการ พนักงานราชการมีสูงถึง 7.6 แสนล้านบาท 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 เว็บไซค์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่  พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท (3,185,000,000,000 บาท) โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสําหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พ.ร.บ.งบปี2566

 

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ตั้งเป็นจํานวน รวมทั้งสิ้น 3,185,000,000,000 บาท จําแนกเป็นรายจ่ายตามที่จะระบุต่อไปในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 5 ให้กระทรวงการคลังมีอํานาจสั่งจ่ายเงินแผ่นดิน ตามรายการและจํานวนเงินที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่สํานักงบประมาณจะได้จัดสรร หรือตามที่จะได้มีการโอนเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย

กระทรวงศึกษาฯได้มากสุด 1.2 แสนล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหมวดและมาตราที่สำคัญ ๆ ของแต่ละหน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ รวมถึงแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ เช่น งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในกํากับได้มากที่สุดจำนวน 1.2 แสนล้านบาท ขณะที่กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานในกํากับได้จำนวน 8.5 หมื่นล้านบาท

ส่วนงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับจำนวน 8.6 หมื่นล้านบาท กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในกํากับ 3.7 หมื่นล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานในกํากับ 6.2 หมื่นล้านบาท กระทรวงการอุดมศึกษาฯ 4.5 หมื่นล้านบาท งบประมาณรายจ่ายงบฯกลาง 5.9 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

งบฯเงินเดือนข้าราชการ 7.6 แสนล้าน

นอกจากนี้ในมาตราที่ 38 ระบุ งบประมาณรายจ่ายสําหรับแผนงานบุคลากรภาครัฐจำนวน 7.68 แสนล้านบาทด้วย (๗๖๘,๑๐๘,๕๒๕,๓๐๐ บาท) ซึ่งคืองบประมาณในส่วนของรายจ่ายประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว และค่าตอบแทนพนักงานราชการ เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดตามมาตราต่าง ๆ ของแต่ละกระทรวงและหน่วยงานอื่น ๆ มีดังนี้

มาตรา ๖ งบประมาณรายจ่ายงบฯกลาง ให้ตั้งเป็นจํานวน ๕๙๐,๔๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๗ งบประมาณรายจ่ายของสํานักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๒๒,๔๖๒,๒๒๕,๑๐๐ บาท

มาตรา ๘ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๘๕,๓๘๗,๘๘๕,๒๐๐ บาท

มาตรา ๙ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการคลังและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๑๐,๔๒๑,๖๑๗,๕๐๐ บาท

มาตรา ๑๐ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการต่างประเทศ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๓,๗๖๓,๑๗๒,๐๐๐ บาท

มาตรา ๑๑ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานในกํากับให้ตั้งเป็นจํานวน ๓,๐๒๒,๖๐๖,๒๐๐ บาท

มาตรา ๑๒ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๒๑,๓๖๑,๑๗๐,๘๐๐ บาท

มาตรา ๑๓ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๔๕,๔๘๒,๘๘๓,๕๐๐ บาท

มาตรา ๑๔ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานในกํากับให้ตั้งเป็นจํานวน ๖๒,๔๓๘,๒๔๐,๗๐๐ บาท

มาตรา ๑๕ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๕๗,๙๗๕,๗๖๒,๑๐๐ บาท

มาตรา ๑๖ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๓,๗๓๕,๖๙๗,๗๐๐ บาท

มาตรา ๑๗ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๑๓,๔๕๐,๐๖๓,๔๐๐ บาท

มาตรา ๑๘ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๑,๘๕๙,๕๖๖,๒๐๐ บาท

มาตรา ๑๙ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๓,๖๑๗,๖๓๖,๖๐๐ บาท

มาตรา ๒๐ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๒๖๘,๘๓๓,๑๖๘,๙๐๐ บาท

มาตรา ๒๑ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๑๒,๓๗๖,๔๑๐,๒๐๐ บาท

มาตรา ๒๒ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๕๐,๒๙๗,๙๒๙,๒๐๐ บาท

มาตรา ๒๓ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๔,๒๑๐,๘๕๕,๔๐๐ บาท

มาตรา ๒๔ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๑๒๒,๖๖๘,๕๐๕,๒๐๐ บาท

กระทรวงสาธารณสุขได้ 3.7 หมื่นล้าน

มาตรา ๒๕ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในกํากับ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๓๗,๑๗๖,๕๔๔,๙๐๐ บาท

มาตรา ๒๖ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ตั้งเป็นจํานวน ๑,๖๖๓,๐๒๖,๖๐๐ บาท

มาตรา ๒๗ งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี ให้ตั้งเป็นจํานวน ๓๕,๖๖๕,๕๗๖,๔๐๐ บาท

มาตรา ๒๘ งบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้ตั้งเป็นจํานวน ๒๑,๕๐๐,๖๔๑,๔๐๐ บาท

มาตรา ๒๙ งบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๘๔,๗๐๗,๕๕๗,๓๐๐ บาท

มาตรา ๓๐ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของรัฐสภา ให้ตั้งเป็นจํานวน ๓,๒๑๙,๓๔๓,๓๐๐ บาท

มาตรา ๓๑ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของศาล ให้ตั้งเป็นจํานวน ๗,๗๖๒,๐๕๖,๕๐๐ บาท

มาตรา ๓๒ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๕,๘๑๑,๖๐๙,๓๐๐ บาท

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ 8.6 หมื่นล้าน

มาตรา ๓๓ งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ตั้งเป็นจํานวน ๘๖,๓๓๒,๒๑๐,๘๐๐ บาท

มาตรา ๓๔ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๑๘๙,๖๙๙,๒๐๐ บาท

มาตรา ๓๕ งบประมาณรายจ่ายของสภากาชาดไทย ให้ตั้งเป็นจํานวน ๘,๘๕๔,๐๒๑,๖๐๐ บาท

มาตรา ๓๖ งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการในพระองค์ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๘,๖๑๑,๖๖๙,๖๐๐ บาท

มาตรา ๓๗ งบประมาณรายจ่ายสําหรับแผนงานบูรณาการ ให้ตั้งเป็นจํานวน ๒๑๘,๑๒๔,๘๐๗,๘๐๐ บาท

มาตรา ๓๘ งบประมาณรายจ่ายสําหรับแผนงานบุคลากรภาครัฐ ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจํานวน ๗๖๘,๑๐๘,๕๒๕,๓๐๐ บาท

มาตรา ๓๙ งบประมาณรายจ่ายสําหรับทุนหมุนเวียน ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจํานวน ๒๐๖,๘๑๙,๓๕๐,๙๐๐ บาท

มาตรา ๔๐ งบประมาณรายจ่ายสําหรับแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจํานวน ๓๐๖,๖๑๗,๙๖๓,๒๐๐ บาท

หมายเหตุ เนื่องจากตัวเลขมีเป็นจำนวนมาก จึงใช้ตัวเลขไทยตามเอกสารต้นฉบับ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด คลิกดูประกาศฉบับเต็มที่นี่