ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขต ทั่วราชอาณาจักร รวมถึงประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอันสิ้นสุดลงไปด้วย มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 นี้เป็นต้นไป ยกเว้นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงบังคับใช้ต่อไป
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศเรื่อง “ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง” ลงนามโดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
- หมอธีระวัฒน์ ชี้ งานวิจัยระบุ ชอบกินเนื้อสัตว์เสี่ยงตาย ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ไม่ช่วย
- พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
- พระราชทานอภัยโทษ คดีทักษิณ ที่มาวาระอันเป็นมงคล วโรกาสสำคัญ
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และได้มีการขยายระยะเวลาตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรทั้งหมด 19 คราว จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง ป้องกันและแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นั้น
โดยที่ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในภาพรวมของโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นซึ่งองค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า ผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญและมีจำนวนต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563
สอดคล้องกับภาพรวมของสถานการณ์ในประเทศไทย สืบเนื่องมาจากการดำเนินมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่เกิดการระบาดความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในการเข้ารับการฉีดวัคซีน การปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่จำเป็นเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค
รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มแข็งและเป็นไปโดยบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนทำให้สามารถผ่อนคลายการบังคับใช้บรรดามาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อทั้งประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินชีวิต ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมทั้งหลายให้เข้าสู่ภาวะปกติ สถานการณ์อันเป็นเหตุของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงได้คลี่คลายลงอย่างมาก โดยหน่วยงานของรัฐทั้งฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคงสามารถนำมาตรการตามกฎหมายเข้าแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 นายกรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรดังกล่าวในส่วนของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป
ข้อ 2 ให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่ง ดังต่อไปนี้ เป็นอันสิ้นสุดลง
(1) ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่ง อันเนื่องมาจากได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตามข้อ 1
(2) ประกาศและคำสั่งที่ออกตามกฎหมายเฉพาะซึ่งให้ถือว่าเป็นประกาศหรือสั่งตามข้อกำหนดอันเนื่องมาจากได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตามข้อ 1
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565