ราชกิจจาฯประกาศ ยกเลิกห้ามขายเครื่องปรับอากาศที่มีรังสี UVC ของไฮเออร์

ประกาศราชกิจจานุเบกษา-ราชกิจจาฯ ประกาศ

ราชกิจจาฯเผยแพร่ คำสั่งคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ให้ยกเลิกการห้ามขายเครื่องปรับอากาศที่มีรังสี UVC ของ ไฮเออร์ ยี่ห้อ SINGER 3 ประเภท หลังผลการทดสอบขีดจำกัดอันตรายอันเนื่องมาจากการแผ่รังสีอุลตราไวโอเลต เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

วันที่ 21 เมษายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการที่ 3/2566 เรื่อง ยกเลิกการห้ามขายสินค้าหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC ของบริษัท ไฮเออร์ อีเล็คทริค(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ลงนามโดยนายทวี เกศิสำอาง ประธานกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ

คำสั่งดังกล่าวระบุว่า ตามที่คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการได้ใช้อำนาจตามมาตรา 29/8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ออกคำสั่งที่5/2563 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน2563 เรื่อง ห้ามขายสินค้าหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC เป็นการชั่วคราว อันเนื่องมาจากปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

ในประเทศไทยมีผู้ประกอบธุรกิจไต้นำเข้า ผลิต หรือจำหน่ายสินค้าที่มีลักษณะเป็นโคมไฟฆ่าเชื้อโรคแบบพกพา กระเป๋าฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์ เครื่องดูดกำจัดไรฝุ่นด้วยรังสียูวี หรืออุปกรณ์ฆ่าเชื้อแบบพกพาในรูปแบบต่าง ๆ จำหน่ายให้กับผู้บริโภคเพื่อใช้ภายในบ้านเรือนหรืออาคารทั่วไป โดยอ้างสรรพคุณฆ่าเชื้อโรคแบคทีเรีย ไรฝุ่น ป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19

ซึ่งจากข้อมูลที่สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่ข้อมูลของโทษของการใช้รังสี UVC ว่าหากมีการใช้รังสี UVCในระบบเปิดหรือผู้บริโภคได้สัมผัส/กระทบรังสี่ UVC โดยตรง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และเป็นอันตรายต่อดวงตาทำให้เกิดต้อกระจก ตาอักเสบ หรือจอประสาทตาเสื่อมก่อนวัยอันควร ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ และให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขายหรือผลิต สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายสินค้า หรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์ว่าสินค้าหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC ดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคนั้น

บัดนี้ บริษัท ไฮเออร์ อีเล็คทริค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ไต้ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC จำนวน 3 ประเภท ดังนี้

  • 1. ประเภทเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง ยี่ห้อ SINGER รุ่น WT-IVQ12
  • 2. ประเภทเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง ยี่ห้อ SINGER รุ่น WT-IVQ18
  • 3. ประเภทเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง ยี่ห้อ SINGER รุ่น WT-IVQ22

ผลการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าประเภทดังกล่าว ปรากฎว่า การทดสอบขีดจำกัดอันตรายอันเนื่องมาจากการแผ่รังสีอุลตราไวโอเลตจากการเปิดรับแสงที่เกิดจากตาและผิวหนัง ความยาวคลื่นการแผ่รังสีและการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C ผลการทตสอบเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

อาศัยอำนาจตามกฎหมาย แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 ประธานกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ โดยมติคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 จึงมีคำสั่งให้แก้ไขคำสั่ง โดยให้ยกเลิกการห้ามขายสินค้าหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC ของบริษัท ไฮเออร์ อีเล็คทริค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ประเภทคือ

1. ประเภทเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง ยี่ห้อ SINGER รุ่น WT-IVQ12, 2. ประเภทเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง ยี่ห้อ SINGER รุ่น WT-VQ18 และ 3.ประเภทเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง ยี่ห้อ SINGER รุ่น WT-IVQ22 ที่ขาย ผลิต สั่ง หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายตั้งแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ราชกิจจาฯประกาศ ยกเลิกห้ามขายเครื่องปรับอากาศที่มีรังสี UVC ของ ไฮเเออร์