
เปิดมาตรการคุมโควิด-19 “ประชาชน-สถานประกอบการ” ระดับ 2 สธ.ลดระดับคุมโควิด หลังยอดผู้ป่วยหนัก-เสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง
วันที่ 18 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในไทย มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประกาศการแจ้งเตือนภัยโควิดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 จากเดิมอยู่ที่ระดับ 3 (เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565) โดยมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของประชาชน สถานประกอบการ ดังนี้
- เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ 1 ธ.ค.นี้ เครดิตบูโรห่วงกู้ซื้อ “รถ-บ้าน” ค้างจ่ายพุ่ง
- ครม.เคาะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 10% เริ่มงวดแรกปี 2567
- คลังดึงออมสิน ช่วยแก้หนี้นอกระบบ พร้อมปล่อยกู้ 5 หมื่นบาทต่อราย
มาตรการคุมโควิดระดับ 2 ทำอะไรได้บ้าง
- สถานที่เสี่ยง : กลุ่ม 608 หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ งดเข้าสถานบันเทิง เลี่ยงเข้าสถานที่ระบบปิดและแออัด
- การรวมกลุ่มคนจำนวนมาก : เฉพาะกลุ่ม 608 หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมที่รวมกลุ่มจำนวนมาก
- การเดินทางข้ามพื้นที่/ข้ามจังหวัด : เฉพาะกลุ่ม 608 หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท
- การเดินทางเข้า-ออกประเทศ : เฉพาะกลุ่ม 608 หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เลี่ยงเดินทางไปต่างประเทศ และหากเข้าประเทศต้องกักตัว
เตือนภัยโควิดระดับ 2 มีข้อแนะนำอย่างไร
- งดเข้าสถานบริการ เลี่ยงเข้าสถานที่ระบบปิด
- เลี่ยงรับประทานอาหาร ดื่มสุราร่วมกับผู้อื่น
- หากจำเป็นไปสถานที่แออัด ให้ปฏิบัติตาม Universal Prevention ป้องกันการติดเชื้อด้วยการเว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัย และ Universal Vaccination
- เลี่ยงการร่วมกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มเกิน 1,000 คน ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- เน้นใช้ขนส่งสาธารณะ ที่ให้บริการในรูปแบบ Covid-Free
ทั้งนี้ สธ. ได้กำชับให้ประชาชนทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นเป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ให้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่า 60% ส่วนสถานประกอบการต่าง ๆ ยังขอให้ปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting
ผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง
สำหรับการรายงานสถานการณ์โควิด-19 จาก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม-ปัจจุบัน (18 มิ.ย.) ในเดือนพฤษภาคมลดลงต่อเนื่อง จนขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงมาถึงหลักพันต่อวัน และผู้เสียชีวิตเหลือเพียงหลักสิบต่อวัน โดยข้อมูลการรายงานย้อนหลังเดือนมิถุนายน มีดังนี้
- วันที่ 1 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 4,563 ราย : เสียชีวิต 28 ราย
- วันที่ 2 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 2,560 ราย : เสียชีวิต 34 ราย
- วันที่ 3 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 7,363 ราย : เสียชีวิต 32 ราย
- วันที่ 4 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 3,001 ราย : เสียชีวิต 30 ราย
- วันที่ 5 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 3,236 ราย : เสียชีวิต 28 ราย
- วันที่ 6 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 2,162 ราย : เสียชีวิต 27 ราย
- วันที่ 7 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 2,224 ราย : เสียชีวิต 20 ราย
- วันที่ 8 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 2,688 ราย : เสียชีวิต 21 ราย
- วันที่ 9 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 3,185 ราย : เสียชีวิต 23 ราย
- วันที่ 10 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 2,836 ราย : เสียชีวิต 24 ราย
- วันที่ 11 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 2,501 ราย : เสียชีวิต 28 ราย
- วันที่ 12 มิถุนายน 2565 :ผู้ติดเชื้อ 2,474 ราย : เสียชีวิต 20 ราย
- วันที่ 13 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 1,801 ราย : เสียชีวิต 15 ราย
- วันที่ 14 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 1,833 ราย : เสียชีวิต 19 ราย
- วันที่ 15 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 2,263 ราย : เสียชีวิต 18 ราย
- วันที่ 16 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 2,153 ราย เสียชีวิต 17 ราย
- วันที่ 17 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 1,967 ราย : เสียชีวิต 19 ราย
- วันที่ 18 มิถุนายน 2565 : ผู้ติดเชื้อ 1,964 ราย : เสียชีวิต 23 ราย
* เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 2565 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลจึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม