เปิดไส้ใน กระจายแอสตร้าฯรอบ 2 เดือน ก.ค. 5.5 แสนโดส บุรีรัมย์ติดท็อปเทน

เปิดไส้ในกระจายแอสตร้า
ภาพจากเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

“สาธารณสุข” สู้โควิด ปูพรมวัคซีนแอสตร้าฯ รอบ 2 เดือนกรกฎาคม จำนวน 5.5 แสนโดส อุดช่องโหว่จังหวัดแดงเข้ม กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 4 จังหวัดใต้ นำโด่ง บุรีรัมย์ ติดโผ ท็อปเทน

วันที่ 25 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎคมที่ผ่านมา นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งหนังสือ แจ้งการส่งวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า รอบ 2 จำนวน 550,000 โดส ถึงผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1-13

นอกจากนี้ หนังสือดังกล่าวยังกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 1กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป บุคคลาที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวในและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด โรคเบาหวาน และโรคอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม

ประเภทที่ 2 บุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับลวัคซีนซิโนแวค ไปแล้ว 2 ข็มและต้องการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยแอสตร้าเซนเนก้า และ ประเภทที่ 3 ผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 1  และครบกำหนดนัดรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 2 โดยดำเนินการเช่นเดียวกันทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร (หากมีวัคซีนเพียงพอ)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่า 10 จังหวัดแรกที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนมากที่สุดในรอบนี้ ประกอบด้วย 1. กรุงเทพมหานคร 55,100 โดส แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 42,000 โดย และกลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 3 จำนวน 13,100 โดส

2.สงขลา 41,200 โดส แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 1 จำนวน 30,000โดส กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 5,900 โดส กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 3 จำนวน 5,300 โดส

3.นราธิวาส 36,900 โดส แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 1 จำนวน 30,000 โดส กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 1,900 โดส และกลุ่มเป้าหมาย ประเภที่ 3 จำนวน 5,000 โดส

4.ยะลา 36,500 โดส แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 1 จำนวน 30,000 โดส กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 1,200 โดส และกลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 3 จำนวน 5,300 โดส

5.ปัตตานี 35,600 โดส แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 1 จำนวน 30,000 โดส กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 1,400 โดส และ กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 3 จำนวน 4,200 โดส

6.ฉะเชิงเทรา 33,500 โดส แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 1 จำนวน 30,000 โดส กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 1,900 โดส กลุ่มเป้าหมายประเภทที่ 3 จำนวน 1,600 โดส

7.พระนครศรีอยุธยา 32,900 โดส แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่  1จำนวน 30,000 โดส กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 1,700 โดส และกลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 3 จำนวน 1,200 โดส

8.บุรีรัมย์ 10,800 โดส แบ่งเป็นกลุ่ม เป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 6,200 โดส และ กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 4,600 โดส

9.เชียงใหม่ 10,600 โดส แบ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 8,100 โดส และ กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 3 จำนวน 2,500 โดส

และ 10. ปทุมธานี 8,100 โดส แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 2 จำนวน 2,800 โดส กลุ่มเป้าหมาย ประเภทที่ 3 จำนวน 5,300 โดส

ส่วนจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรรอง ๆ ลงไป อาทิ ประจวบคีรีขันธ์ 7,700 โดส นครราชสีมา 7,600 โดส นนทบุรี 7,200 โดส ขอนแก่น 7,000 โดส ชลบุรี 6,900 โดส สมุทรปราการ 6,900 โดส อุบลราชธานี 6,700 โดส และ นครปฐม 6,200 โดส เป็นต้น

โดยการจัดส่งวัคซีนรอบนี้กำหนดจัดส่งถึงภายทาง ภายในวันที่ 20-22 กรกฎาคม ขณะเดียวกันก็มีการสำรองส่วนกลางเพื่อตอบโตการระบาด เป็นจำนวน 84,400 โดส

โดยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ออกมายอมรับว่าจะจัดหาวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้กับประเทศไทยได้โดยเฉลี่ย 5-6 ล้านโดสต่อเดือน และขณะนี้ได้ส่งมอบแล้ว 9 ล้านโดส มีกำหนดส่งมอบอีก 2.3 ล้านโดสในสัปดาห์หน้า รวมยอดส่ง 11.3 ล้านโดสสิ้นกรกฎาคมนี้

ขณะที่ กรมควบคุมโรค รายงานผลการฉีดวัคซีนสะสมโดยจำแนกตามบริษัทผุ้ผลิต (28 ก.พ. – 22 ก.ค. 2564) รวม 15,388,939 ราย แบ่งเป็น ซิโนแวค 7,933,854 ราย แอสตร้าเซ็นเนก้า 6,856,472 ราย และซิโนฟาร์ม 598,613 ราย