ศบค. ถอดโควิดจาก “โรคต้องห้าม”

ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม ถอดหน้ากาก
FILE PHOTO : CHALINEE THIRASUPA / POOL / AFP

ศบค.ไฟเขียว มท.ถอดโควิด-19 ตัดโรคโควิด-19 ออกจากโรคต้องห้าม ที่ห้ามเข้าราชอาณาจักร จูงใจกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรงฉีดวัคซีนเกินร้อยละ 60

วันที 8 กรกฏาคม 2565 รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ครั้งที่ 10/2565 รับทราบแนวคิดของกระทรวงสาธารณสุขในการรับมือการระบาดและเปลี่ยนผ่านสู่การ บริหารจัดการหลังการระบาด (Post-pandemic)

เห็นชอบหลักการ มาตรการ และมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ 

  1. มอบคณะกรรมการโรคติดต่อชาติ กำหนดให้กรอบนโยบาย และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ตามมาตรา 14 (1) ของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558
  2. เห็นชอบหลักการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้เกินกว่าร้อย ละ 60 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง
  3. มอบกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบการเข้าถึงยาต้านไวรัสให้สะดวกและเข้าถึงง่าย
  4. มอบกรมประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการสวมหน้ากาก และการรับวัคซีน
  5. มอบกระทรวงมหาดไทย ตัดโรคโควิด-19 ออกจากโรคต้องห้ามเข้าราชอาณาจักร

ขณะที่แผน/มาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 ในระยะต่อไป 

ด้านสาธารณสุข

  1. เร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ≥60%
  2. ปรับระบบการเฝ้าระวัง เน้นการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและผู้ป่วยปอด อักเสบ
  3. ผ่อนคลายมาตรการสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศ
  4. ปรับแนวทางแยกกักผู้ป่วย และกักกันผู้สัมผัส

ด้านการแพทย์

  • ปรับแนวทางการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
  • ดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงอาการรุนแรง และมีอาการรุนแรงรวมทั้งภาวะ Long COVID

ด้านกฎหมายและสังคม

  • บริหารจัดการด้านกฎหมายในทุกหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ Post pandemic
  • ทุกภาคส่วนส่งเสริมมาตรการ UP, COVID Free Setting

ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

  • ทุกภาคส่วนร่วมสร้างความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรม ให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตร่วมกับโควิด-19 อย่างปลอดภัย (Living with COVID-19)