ดัชนีที่ดินเปล่า Q1/66 ยอดซื้อขายเมืองนนท์-บางบัวทอง ทะลัก ดันสายสีม่วงแพงอีกรอบ

ดัชนีที่ดินเปล่า Q1-66

REIC-ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาใน กทม.-ปริณฑล ประจำไตรมาส 1/66 ปรับเพิ่มต่อเนื่องร้อยละ 13.1 แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีในยุคก่อนโควิด จับตาที่ดินชานเมือง อัตราเพิ่มของราคาสูงกว่าในเมือง ที่ดินในแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงราคาขึ้นสูงสุดอีกครั้ง จากการซื้อขายทะลัก ใน อ.เมืองนนทบุรี+อ.บางบัวทอง

วันที่ 13 พฤษภาคม 2566 ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1/66

มีค่าดัชนีเท่ากับ 385.7 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1  เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/65 (QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/65 (YoY)

ภาพรวมดัชนีราคาที่ดินยังคงปรับขึ้น แต่อยู่ในอัตราที่ชะลอตัว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงราคาที่เพิ่มสูงขึ้น อยู่ในกลุ่มการซื้อขายที่ดินในจังหวัดปริมณฑล ส่วนกรุงเทพฯ โซนพื้นที่ชั้นใน ชะลอการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใหญ่

ตารางที่ 1 ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒ

ส่งผลให้อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าดัชนี ยังคงต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย 5 ปีก่อนยุคโควิด (ปี 2558-2562) ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 14.8 และอัตราเฉลี่ยต่อไตรมาสร้อยละ 4.1

ปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่าเพิ่มขึ้นอย่างชะลอตัว มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2566 ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ทำให้ภาคธุรกิจลงทุนแบบชะลอตัว เพื่อรอการฟื้นตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่ดินในตลาดชะลอตัวลงไปด้วย

ตารางที่ 2 แสดง 5 อันดับแรกของโซนที่อัตรากา

ท็อป 5 จังหวัดปริมณฑลที่ดินแพงขึ้นแซงเขตเมือง

ทั้งนี้ ในไตรมาส 1/66 ท็อป 5 โซนที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดิน เทียบกับไตรมาส 1/65 เป็นที่สังเกตว่าจังหวัดปริมณฑลมีการเปลี่ยนแปลงราคาสูงกว่าโซนในเมืองและกรุงเทพฯ สาเหตุเกิดจากฐานราคาที่ต่ำ ดังนี้

อันดับ 1 จังหวัดนครปฐม มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 68.2

อันดับ 2 โซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 52.4  เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

อันดับ 3 จังหวัดสมุทรสาคร มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 39.1

อันดับ 4 โซนเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ  28.7

อันดับ 5 เมืองนนทบุรี-ปากเกร็ด มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/65

“ที่ดินบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล มีฐานราคาซื้อขายต่ำกว่าที่ดินในเขตเมืองชั้นใน สามารถบ้านยแนวราบในระดับราคาที่สอดคล้องกับความสามารถในการซื้อในปัจจุบันได้ จึงมีความต้องการที่ดินชานเมืองมาก”

ท็อป 5 ที่ดินเปล่ารถไฟฟ้าในอนาคต ราคาขึ้นยกแผง

นอกจากนี้ REIC ได้จัดอันดับที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ตามแนวเส้นทางที่มีรถไฟฟ้าพาดผ่าน พบว่า 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด ส่วนใหญ่เป็นทำเลบ้านจัดสรร หรือเป็นส่วนต่อขยายของแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ดังนี้

อันดับ 1 สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เปิดให้บริการแล้ว มีค่าดัชนีเท่ากับ 420.8 จุด อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

บริเวณราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมาก คือ อำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอบางบัวทอง

อันดับ 2 สายสีเขียว (คูคต-ลำลูกกา) เป็นโครงการในอนาคต มีค่าดัชนีเท่ากับ 339.8 จุด มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2

บริเวณราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมาก คือ อำเภอลำลูกกา

ตารางที่ 3 ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒ

อันดับ 3 สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) กับสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-มธ.รังสิต) เปิดให้บริการแล้ว มีค่าดัชนีเท่ากับ  446.5 จุด และ 439.6 จุด ตามลำดับ มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8

ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมาก คือ เขตดอนเมือง เขตบางเขน และอำเภอคลองหลวง

อันดับ 4 MRT เปิดให้บริการแล้ว และ สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) เป็นโครงการในอนาคต มีค่าดัชนีเท่ากับ 474.0 จุด และ 466.6 จุด ตามลำดับ มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5

ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมาก คือ เขตจตุจักร ห้วยขวาง และราชเทวี

อันดับ 5 สายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง-มหาชัย) เป็นโครงการในอนาคต มีค่าดัชนีเท่ากับ 441.1 จุด มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4

ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมาก คือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร และบางขุนเทียน


ท็อป 5 ราคาที่ดินเปล่าปรับเพิ่ม