ท็อปกัน มาเวอริก ไม่ลงให้จีน หวนติดธงไต้หวัน ด้านหลังเสื้อพระเอก ทอม ครูซ

ท็อปกัน

แม้จะเป็นภาพยนตร์สร้างความบันเทิง แต่ช็อตแว้บๆ ของ ท็อปกัน : มาเวอริก กลายเป็นประเด็นพิพาทระหว่างประเทศด้วย เมื่อปรากฏธงไต้หวันที่แจ๊กเก็ตของพระเอก ทอม ครูซ

วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เดลีเมล์ รายงานประเด็นพิพาท จีน-ไต้หวัน ที่ไปปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ Top Gun: Maverick หนังของพระเอกซูเปอร์สตาร์ ทอม ครูซ  ที่กำลังทำเงินให้เป็นที่ฮือฮา เมื่อมีคนสังเกตว่า เสื้อแจ๊กเก็ตของพระเอกในเรื่อง มีธงไต้หวัน และธงญี่ปุ่น กลับมาอีกครั้ง หลังจากเคยหายไปเมื่อปี 2019 (พ.ศ.2562)  เพราะตอนนั้นหวั่นว่าจะไปกระทบในตลาดจีน

Tom Cruise attends the “Top Gun: Maverick” World Premiere on May 04, 2022 in San Diego, California. Frazer Harrison/Getty Images,,/AFP

แต่ตอนนี้ รัฐบาลสหรัฐของนายโจ ไบเดน แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะกระชับสัมพันธ์และปกป้องไต้หวัน ขณะเผชิญหน้ากับจีน

เมื่อย้อนกลับไปดูท็อปกัน ภาคแรก ปี 1986 ตอนนั้น พีท มาเวอริก ใส่เสื้อแจ๊กเก็ตหนังที่ติดธงรำลึกการไปต่อสู้ในสนามรบของพ่อที่ญี่ปุ่นและไต้หวัน ปี 1963 และ 1964 แต่เมื่อท็อป กัน สร้างภารสอง และปล่อยเทรลเลอร์ หรือหนังตัวอย่างออกมาครั้งแรกเมื่อปี 2019 ธงทั้งสองชาติกลับถูกถอดออกไป

ท็อปกัน
Top Gun เมื่อปี 1986 แจ๊กเก็ตมีธงชาติไต้หวัน และธงชาติญี่ปุ่น

เรื่องดังกล่าวถูกจับสังเกตและดาดเดาว่าการตัดสินใจเอาธงออก น่าจะได้รับอิทธิพลจาก เทนเซ็นต์ พิกเจอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ของจีน และร่วมลงขันในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้

ธงของญี่ปุ่นและธงของไต้หวันถูกแทนที่ด้วยสัญลักษณ์อื่น ตามความต้องการทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์

กระทั่งเมื่อภาพยนตร์ออกฉายในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากเลื่อนกำหนดเข้าโรงภาพยนตร์ด้วยสถานการณ์โควิด  แฟนๆ ก็โล่งใจได้ว่า ธงดังกล่าวหวนกลับมาเป็นเหมือนที่เคยปรากฏในท็อปกัน ภาคแรก อีกทั้งยังมีช็อตที่ซูมเห็นชัดๆ ด้วย

 

แน่นอนว่า แฟนๆ ชาวจีนไม่พอใจที่เห็นแจ๊กเก็ตคัวดังกล่าว มีคนหนึ่งเขียนในโซเชียลมีเดียว่า “งั้นเหรอ ก็อย่ามาเอาเงินพวกเราก็แล้วกัน เราจะดูเวอร์ช่นเถื่อน”

การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหาได้ยากมากสำหรับฮอลลีวูดนาทีนี้  เพราะบรรดาผู้สร้างหนังต่างเกรงใจตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่

นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ภาพๆ นี้จะเป็นฉากธรรมดาๆ แว้บเดียว แต่การตัดต่อเอาธงไต้หวันและญี่ปุ่นกลับเข้าไปนั้นแพงมาก จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครรู้สาเหตุ

ตัวอย่างหนังที่เผยแพร่เมื่อปี 2019 ไม่มีธงไต้หวันและธงญี่ปุ่นแล้ว

เทนเซ็นต์ถอนตัวจากท็อป กัน ภาคสองในที่สุด คงเพราะบริษัทผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์จับกระแสได้ว่า เรื่องราวของทหารสหรัฐ น่าจะทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ไม่ชอบใจ ดังนั้นต้องไม่มีเครดิตอยู่ในหนังภาคต่อนี้

ระหว่างที่หนังท็อปกัน ภาคสอง ฉายรอบแรกในไต้หวัน ผู้ชมส่งเสียงเชียร์และปรบมือราว เมื่อเห็นธงของดินแดนตนเองกลับมาปรากฏอีกครั้ง

จีนถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของจีน การเห็นธงไต้หวัน จึงถือเป็นการท้าทายการปกครองของจีน ธงที่ว่านี้จึงถูกบริษัทต่างๆ เซ็นเซอร์ รวมถึงแอปเปิ้บที่เซ็นเซอร์ธงไต้หวันออกจากไอโฟนด้วย

ท็อปกัน
ท็อป กัน ภาคแรก ปรากฏธงไต้หวันชัดเจน

ส่วนฮอลลีวูดเอง ก็อาศัยตลาดและการลงทุนสร้างของจีนมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และทรงอิทธิพลมากขึ้น จะเห็นตัวอย่างได้จาก เมื่อปี  2010 (พ.ศ.2553) บทภาพยนตร์ Red Dawn ที่รั่วไหลออกมา ทำให้คนนอกรู้ว่า หนังสงครามเย็นเรื่องนี้ วางจีนแทนที่จะเป็นสหภาพโซเวียต ให้เป็นฝ่ายรุกล้ำสหรัฐ

สื่อจีนโจมตีว่า หนังฮอลลีวูดพยายามสร้างภาพวายร้ายให้รัฐบาลจีน จนบริษัท เอ็มจีเอ็ม ต้องทุ่มทุน 1 ล้านดอลลาร์ หรือราว 34 ล้านบาท เพื่อลบภาพกองทัพปลดปล่อยประชาชนของจีน ออกจากหนัง แบบช็อตต่อช็อต แล้วใส่เกาหลีเหนือกับรัสเซียเข้าไปแทน

เมื่อต้นปีนี้ จีนยังตัดต่อตอนจบของภาพยนตร์เรื่องดัง Fight Club ใหม่ เพื่อให้ตรงกับหลักการเซ็นเซอร์ของจีน


สำหรับ Top Gun: Maverick ถึงวันนี้ยังไม่ได้เข้าฉายในจีน