เตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีมีโรคประจำตัว ต้องทำอย่างไร?

เตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดกรณีมีโรคประจำตัว
Image by DoroT Schenk from Pixabay

เปิดแนวทางการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว แนะนำโดย “สภากาชาดไทย” 

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 สภากาชาดไทย เผยแพร่ความรู้การเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกรณีมีโรคประจำตัว ผ่านเพจเฟซบุ๊ก The Thai Red Cross Society โดยอ้างข้อมูลจาก ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ดังนี้

ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม แนะการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน และผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต อัมพาต ไม่ควรหยุดยา ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ

กรณีที่มีผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน

เช่น ปวดแขน บวมบริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว หรืออ่อนเพลีย สาเหตุอาจเป็นเพราะร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีนโควิด-19

กรณีที่มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส

ปวดเมื่อยมาก อ่อนเพลียมาก ควรรับประทานยาพาราเซตามอลอย่างน้อย 1 เม็ด แต่ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดชนิดแรง เช่น ยาแอสไพริน ซึ่งอาจไปกดระบบตอบสนองของร่างกาย ทำให้วัคซีนตอบสนองได้น้อยลง

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว

หากรับประทานยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต และอัมพาต

ไม่ควรหยุดยาเพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ

ผู้ที่เป็นโรคเลือกออกได้ง่าย

ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจต้องใช้เวลากดแผลบริเวณที่ฉีดให้นานขึ้น เช่น จาก 5 นาที เป็น 15 นาที หรือนานกว่านั้น และหากหลังฉีดวัคซีน มีอาการห้อเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้น ควรรีบพบแพทย์

ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว

หากมีอาการของโรคกำเริบ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม ให้รีบมาปรึกาแพทย์ทันที