สงครามรัสเซีย-ยูเครน ผลักดันยุโรปลงทุนผลิตพลังงานหมุนเวียนทุบสถิติ

ไฮโดรเจน ฝรั่งเศส
ท่อไฮโดรเจนในโรงงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยไฮโดรเจนหมุนเวียน ของศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการเปลี่ยนผ่านพลังงานและก๊าซสีเขียวแห่งใหม่ของบริษัท ENGIE ในเมือง Stains ใกล้กรุงปารีส REUTERS/Sarah Meyssonnier

การผลิตพลังงานหมุนเวียนในยุโรปสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ พร้อมกับการคาดการณ์ของ IEA การลงทุนพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 อัลจาซีร่า รายงานว่า การผลิตพลังงานหมุนเวียนในยุโรปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ทำให้นักวิเคราะห์ด้านพลังงานคาดการณ์ว่ายุโรปพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าในการสร้างพลังงานสะอาด

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คนอื่น ๆ คาดว่าการปล่อยมลพิษในยุโรปจะลดลงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวาง รวมถึงความเข้มงวดด้านพลังงาน และการปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรมในปีหน้า

นับตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกันยายน 2565 กระแสไฟฟ้าที่แผงพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ มากถึง 13% จาก 311 เทราวัตต์-ชั่วโมง (TWH) เป็น 350 TWh เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของหน่วยงานทิงก์แท็งก์ อย่าง E3G และ Ember

ในช่วงเวลาที่รัสเซียกำลังตัดการจ่ายก๊าซไปยังยุโรปและความกลัวไฟฟ้าจะดับ ได้ดึงดูดให้การผลิตพลังงานหมุนเวียนมีความมั่นคงและราคาคงที่กว่าเดิมมาก

ตามรายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ผู้ผลิตน้ำมัน รวมถึงรัสเซีย ทำกำไรในช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันมีมากถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ หน่วยงานทิงก์แท็งก์ E3G and Ember ระบุว่า การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และลม ช่วยประหยัดการนำเข้าก๊าซ 7 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นมูลค่า 9.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

อาร์เตอร์ ปาตูเลีย ผู้เขียนรายงานให้อัลจาซีร่า กล่าวว่า สงครามมีผลสองประการ หนึ่ง มันเร่งการติดตั้งโครงการที่อยู่ในท่อ และสองนำไปสู่ความทะเยอทะยานที่เพิ่มขึ้นโดยประเทศสมาชิกที่มีผลกระทบต่อท่อส่งสำหรับปีต่อ ๆ ไป

ศาสตราจารย์โจนาธาน สเติร์น ผู้นำสถาบันออกซฟอร์ดเพื่อการศึกษาพลังงาน กล่าวว่า เรากำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในยุโรป และมันอาจเลวร้ายยิ่งกว่า (ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในปี 2563) ซึ่งนำไปสู่ลดขนานดของอุตสาหกรรม บังคับให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ย้ายไปตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่มีสิ่งใดที่ดีในระยะไกลและบ่งบอกถึงความไม่มั่นคงทางการเมือง

อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมาก เช่น โลหะ ด้วยราคาพลังงานที่สูงอาจทำให้พวกเขาต้องย้ายออกจากยุโรป ส่วนพลังงานหมุนเวียนจะยังคงน่าดึงดูด แต่จะมีเงินไม่เพียงพอที่จะขยายธุรกิจ เนื่องจากรัฐบาลยุโรปได้ให้เงินช่วยเหลือ 5 แสนล้านดอลลาร์แก่ภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค

ซึ่งนั่นเป็นจำนวน 2 เท่าของที่สหภาพยุโรปเสนอให้การค้ำประกันเงินกู้สำหรับการผลิตพลังงานหมุนเวียนใหม่ผ่านกองทุนการกู้คืนและความยืดหยุ่นที่เป็นเรือธงในช่วงปี 2563-2570

“บทเรียนจากเงิน 5 แสนล้านดอลลาร์ … คือเมื่อรัฐบาลกลัวว่าผู้คนจะสูญเสียพลังงาน พวกเขาก็พร้อมที่จะทุ่มเงินเกือบทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น” สเติร์นกล่าว

“ความทะเยอทะยานต้องการเงิน และปัญหาอย่างหนึ่งคือการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนจะชะลอตัวลง อย่างน้อยก็ในหลายประเทศในยุโรป วิธีแก้ไขคือให้รัฐบาลเข้าไปข้างในและใส่เงินเพื่อให้แน่ใจว่ามันเกิดขึ้น แต่รัฐบาลขาดเงิน” เขากล่าวเสริม

ผลกระทบระยะยาวของสงคราม

IEA เชื่อว่าจุดแตกหักด้านพลังงานระหว่างสหภาพยุโรปและรัสเซียจะเกิดขึ้นอย่างถาวร เมื่อถ่านหินของรัสเซียหยุดเข้าสู่สหภาพยุโรปในเดือนสิงหาคม น้ำมันดิบจะหยุดส่งในเดือนหน้า และผลิตภัณฑ์น้ำมันกลั่นจะถูกแบนในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป

แล้วรัสเซียก็ตอบโต้ด้วยการลดการส่งก๊าซลง 80% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

IEA ระบุในรายงาน World Energy Outlook ประจำปีว่าการสูญเสียก๊าซของรัสเซียนำไปสู่การพึ่งพาถ่านหินมากขึ้น แต่ในทุกสถานการณ์ สหภาพยุโรปจะชดเชยการสูญเสียการนำเข้าของรัสเซียด้วยการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วจากก๊าซธรรมชาติ ไปสู่การเพิ่มกำลังการผลิตหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นและการผลักดันให้มีการปรับปรุงอาคารและติดตั้งปั๊มความร้อน

แม้น้ำมันจากฟอสซิลได้สร้างความต้องการพลังงานประมาณ 80% มานานหลายทศวรรษ และเป็นครั้งแรกที่ IEA เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เปลี่ยนไปเป็น 75% ภายในปี 2573 และ 60% ภายในปี 2593 บนพื้นฐานของนโยบายที่ระบุไว้ หากคำมั่นที่ประกาศออกมาเป็นไปด้วยความสัตย์ซื่อ เปอร์เซ็นต์เหล่านั้นน่าจะลดลงไปอีก

นอกจากนี้ IEA ยังคาดการณ์การลงทุนประจำปีทั่วโลกในด้านพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเป็น 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573

นี่ยังไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ (NET ZERO EMISSON) เป็นศูนย์ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2568) แต่เป็นการดีขึ้นอย่างมากในมุมมองของปีที่แล้ว

ฟาทิห์ บิโรล กรรมการบริหาร IEA กล่าวว่า นี่อาจเป็นจุดเปลี่ยนครั้งประวัติศาสตร์ไปสู่ระบบพลังงานที่สะอาดและปลอดภัยยิ่งขึ้น ต้องขอบคุณการตอบสนองที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากรัฐบาลทั่วโลก