KJL รุกตู้ชาร์จอีวีรับเทรนด์โลก ตั้งเป้าอัพกำลังผลิตดันยอดขายโต 20%

KJL รุกตลาดตู้ชาร์จอีวี รับอานิสงส์เมกะเทรนด์ เร่งสปีดขยายกำลังการผลิต 20% ชูจุดแข็งสร้างความหลากหลายของสินค้า ตั้งเป้ากวาดรายได้ปี’66 โต 20% ทะลุ 1 พันล้าน

นายเกษมสันต์ สุจิวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน) หรือ KJL เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายตู้ไฟ สายไฟ ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า มีโปรเจ็กต์ค่อนข้างกว้างทั้งระดับโปรเจ็กต์ เมกะโปรเจ็กต์ อสังหาริมทรัพย์ ทุกที่ที่มีไฟฟ้าก็จะใช้ตู้ไฟของเรา

โดยบริษัทมีกำลังการผลิตสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในปี 2566 บริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังผลิต 20% ยอดขายเพิ่มขึ้น 15-20% น่าจะเกิน 1,000 ล้าน

“ส่วนปี 2565 เป็นปีที่ดีที่สุดทั้งในแง่ของยอดขาย กำไรสุทธิ (net profit) ที่ผ่านมาสถานการณ์โควิดเจอวิกฤตสร้างโอกาสต่าง ๆ ได้ดี และได้มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ หาตลาดใหม่ ๆ เราแมเนจต้นทุนเครื่องจักรอัตโนมัติให้เราสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดี

ซึ่งบริษัททำตู้ไฟฟ้าเป็นหลัก เป็นรุ่นที่ตอบโจทย์ ผู้บริโภคมีความต้องการ และยังมีอุตสาหกรรมใหม่ ๆ พวกตู้ชาร์จอีวี อุตสาหกรรมชิ้นส่วน โดยบริษัททำให้การไฟฟ้า PEA ตู้ด้านนอกคัฟเวอร์โครงสร้างโลหะ ไปติดตั้งอีกที ทำแบบแล้วส่งต่อให้ลูกค้า”

เกษมสันต์ สุจิวโรดม
เกษมสันต์ สุจิวโรดม

สำหรับผลประกอบการไตรสมาส 4 ปี 2565 ทำได้ค่อนข้างดี ยอดขายถือว่าเป็นปีที่ดีที่สุด และน่าจะเกิน 1,000 ล้าน ในช่วงปี 2566 หลังบริษัทมีแผนการเข้าตลาดได้วางแผนขยายกำลังผลิต เนื่องจากที่ผ่านมามีกำลังผลิตค่อนข้างแน่นเเล้ว ปัจจุบันทำงานตลอด 24 ชม. การใช้กำลังการผลิตเริ่มแน่น

จึงต้องการจะขยายแคปเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้น อีกทั้งมีแผนขยายพื้นที่และลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม ขยายอาคารเพิ่มออกมา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกำลังผลิตจาก 20 ล้านชิ้นต่อปี ไตรมาส 1 เพิ่มขึ้นมาเป็น 22 ล้านชิ้น และไตรมาส 2 มิถุนายน เป็น 25 ล้านชิ้นต่อปี หรือเพิ่มขึ้นมา 20%

โดยหลักจะเน้นโปรดักต์สายไฟ และรับผลิตตามแบบที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ ยังมีโครงการใหญ่ เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าอีอีซีด้วย ส่วนการเติบโตเเละภาพรวมตลาด การแข่งขันมาจากการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เมกะโปรเจ็กต์ ก่อสร้าง การไฟฟ้าค่อนข้างมาก โดยถ้าเทียบเคียงการแข่งขันสูง ราคา และโปรเจ็กต์ เราไม่ได้ไปบิดแข่งลูกค้าเราเอง

แต่เราเป็น foundations รับลูกค้าที่หลากหลาย ที่กว้าง ทั้งเมกะโปรเจ็กต์ รถไฟฟ้าสนามบิน ออฟฟิศ คอนโดฯในพื้นที่ต่างจังหวัด รวมถึงห้องแถว โดยอาศัยจุดแข็งคือ ความหลากหลายของการใช้ไฟฟ้าที่ใช้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเป็นเมกะเทรนด์ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาด จึงเห็นการผลิตมากขึ้น ทั้งเรื่องโซลาร์รูฟ อีวีชาร์จจิ้ง ก็จะทำให้แนวโน้มตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องเติบโตมากขึ้น

แผนการลงทุนที่ผ่านมา จากแผนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ mai เมื่อปลายปี 2565 ได้นำงบประมาณมาสร้างโซลาร์รูฟเพิ่ม ส่วนใหญ่ระยะกลาง ระยะยาวในการเติบโตคือ ต่อยอดอินโนเวชั่น งานโลหะ ต่อยอดงานเมทัลดีไซน์ที่มีความยาก ซับซ้อน ไฮแวลู มีคาพาซิตี้ระยะยาว พยายามเปลี่ยนจากผู้ผลิต โรงงาน เปลี่ยนมาเป็นโซลูชั่นเบสมากขึ้น มีเซอร์วิสและขายสินค้าด้วย

ส่วนแผนส่งออกนั้น นายเกษมสันต์กล่าวว่า ปกติบริษัทได้มีการส่งไปยังค้าชายแดน ในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) อนาคตจะขยายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรองรับบริษัทต่างชาติที่อยู่ในไทย นำเข้าสินค้าที่ใหญ่ หนัก ค่าขนส่งเเพง ต่างขาติก็พยายามหาผู้ผลิตในประเทศเพื่อลดค่าขนส่ง ได้ schneider electric ของฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี ทำร่วมกันกับบริษัทต่างชาติในไทย

“เราพยายามสร้างแบรนด์ มีเครือข่ายการไฟฟ้า ช่างไฟ บริการ ความเร็วในการส่งมอบ ส่งไว แตกต่าง เเข่งขันได้ ด้านราคา ปัจจัยราคาปรับตามวัตถุดิบ ปีที่ผ่านมามาร์จิ้นเมนเทนได้มากขึ้น ถ้าเป็นเทียร์ที่ใกล้กันก็เป็นงานระยะยาว เเต่เราไม่ได้รับตรง หลากหลาย ไม่ได้แบกออร์เดอร์เกินไป ปรับราคาขายได้ แมเนจต้นทุนได้ดี ทำให้มาร์จิ้นดีขึ้นด้วย”