ภาคเอกชน ตั้ง 3 คำถาม ถึงค่าไฟฟ้ารอบใหม่ พ.ค.-ส.ค. 2566

ค่าไฟแพง ค่าครองชีพ เงิน

เอกชน ตั้งคำถาม 3 ข้อ ค่าไฟฟ้ารอบใหม่ สมมติฐานการคำนวณ เพื่ออะไร-ใครได้ประโยชน์ ขาดการแก้ปัญหาระยะยาว ชง ปรับการคำนวณค่าเอฟที จาก 3 งวด เป็น 6 งวด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

วันที่ 23 มีนาคม 2555 นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขอส่งคำถาม ถึง ภาครัฐ ในเรื่อง การบริหารจัดการไฟฟ้า ซึ่งถือเป็น สาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ที่กระทบครัวเรือนทุกคน ตลอดจนถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของภาคธุรกิจ ที่กำลังเร่งฟื้นฟู ในข่วงภาวะเศรษฐกิจของโลกชะลอตัว และ แข่งขันรุนแรงในระดับประเทศ

โดยคำถามที่ต้องการคำตอบ จากผู้รับผิดชอบ ดังนี้

1) สมมุติฐานการคำนวณค่าไฟฟ้า ที่ไม่ตอบโจทย์

1.1) งวด 1/66 ( มค-เมย 66) เลือกใช้สมมุติฐานช่วง Peak ทั้งต้นทุนพลังงานโลก และ ค่าเงินบาท
ผล คือ ภาคธุรกิจ ต้นทุนสูงขึ้น 13% จาก 4.72 เป็น 5.33 บาท/หน่วย (เมื่อ 28 ธค.65) แต่ ต้น เดือน มค.66 ก็พบว่า สมมุติฐานที่วางไว้ สูงเกินไป

1.2) ค่าไฟฟ้า งวด2/66 ( พค – สค 66) ช่วงต้นทุนพลังงานของโลกต่ำลง รวมค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จากการชะลอขึ้นดอกเบี้ย ของ สหรัฐ

ภาครัฐ กลับเลือกใช้ สมมุติฐาน ตัวเลขของเดือน มค66 ซึ่งยังไม่ updated กับภาวะ ขาลง ในการประชุม รอบล่าสุด 22 มี.ค. 66 แต่ คนไทยต้องรับตัวเลขค่าไฟฟ้าที่สูงเกินจริง ตลอด พ.ค. – ส.ค. 66 เพื่ออะไร และใครได้ประโยชน์

2) การเร่งรัด ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นโครงการ ใดๆ ในช่วงปลายเทอมของรัฐบาล เช่น

2.1) ไฟฟ้าสีเขียว ทั้ง 5,203 MW และ ส่วนเพิ่ม 3,668 MW แบบเร่งรีบ
ทั้งๆที่ กำลังมีเอกชนหลายรายยื่นฟ้องขอการคุ้มครองจากศาลปกครอง ต่อกระบวนการคัดเลือกที่น่ากังขา

2.2) โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ จากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
ทั้งๆที่ ประเทศไทยยังมี Supply ของโรงไฟฟ้า มากกว่า Demand กว่า 50% ไม่ควรจะเร่งรีบในข่วงปลายเทอมรัฐบาล

3) ปัญหาเชิงโครงสร้าง และ นโยบาย กลับไม่มีใครพูดถึงทางออกใด ๆ เช่น

3.1) ต้นทุนที่สูงของค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ค่าพร้อมจ่าย , ต้นทุนแฝง อื่นๆ จากภาวะ Supply over Demand กว่า 50%

3.2) สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ EGAT เหลือ 30% ขณะที่ สัดส่วนของเอกชน รวมการนำเข้า สูงถึง 70%

3.3) การจัดสรรก๊าซธรรมชาติ (NG ) ในอ่าวไทย และ อื่นๆ ซึ่งถือ เป็นทรัพยากรสำคัญ ของประเทศ ให้เหมาะสม เป็นธรรม ระหว่าง ภาคปิโตรเคมี และ ไฟฟ้า

3.4) การแข่งขันเสรี ( ผ่าน TPA ) ในระบบ Logistics ของ ไฟฟ้า และ NG เพื่อลดการผูกขาดใดๆ

บทสรุป ผลประโยชน์เรื่องค่าไฟฟ้า มองง่ายๆ ตามหลัก” Zero Sum Game “ เราสามารถสรุปได้ว่า ประชาชนคนไทย ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่แพง ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนหลายราย ต่างก็มีผลประกอบการที่มีกำไร และ เติบโตกันถ้วนหน้า

ในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( EGAT) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจหลักในการดูแลไฟฟ้าของประเทศ เหลือสัดส่วนเพียง 30% และ แบกภาระหนี้ ร่วม 1 แสนล้านบาท จากการแบกภาระอุ้มกลุ่มเปราะบาง แก้ปัญหา ปลายเหตุ

“ผมขออนุญาตฝากการบ้าน ถึงทีมบริหารเศรษฐกิจที่เก่งๆ ของแต่ละพรรคการเมือง ให้ช่วยหาทางออก และคำตอบที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน คนไทยด้วย ผมมั่นใจว่า คนที่ทำความดีเพื่อส่วนรวม ตลอดจนการดำรงถึงความซื่อสัตย์ในอาชีพของตน ยึด ผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง เหนือ อื่นใด ต้องได้รับผลตอบแทนที่ดีทั้งต่อตนเองและครอบครัวตลอดไป”

พร้อมกันนี้ นายอิศเรศ มีข้อเสนอเดี่ยวกับการคิดค่า FT ในช่วงพลังงาน และ เศรษฐกิจโลก ผันผวนว่าควร เปลี่ยนจาก 3 งวด/ปี หรือ งวดละ 4 เดือน เป็น 6 งวด/ปี หรือ ทุก 2 เดือน เพื่อ dynamic และ response ต้นทุนค่าไฟฟ้า ได้รวดเร็ว แม่นยำ มากขึ้น