
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย เผยไทยต้องยกระดับเอไอ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน หลังดัชนีความพร้อม เอไอ ล่าสุดปี พ.ศ. 2566 ไทยร่วงลงมาอยู่ในลำดับที่ 37
วันที่ 12 สิงหาคม 2567 นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอได้มีการพัฒนาก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว พร้อมกับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ จำนวนมาก
ขณะเดียวกัน การแข่งขันกันนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆของบริษัทไฮเทคไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป บางกิจการจะถดถอยไปและหายไป บางกิจการจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดพร้อมผลิตภาพและกำไรสูงขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจและสังคมไทย สามารถเพิ่มผลิตภาพอย่างก้าวกระโดด รวมทั้ง การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและธุรกิจ
การลงทุนและการเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนผ่านเพื่อใช้ ในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับต่ำโดยเฉลี่ย อันดับดัชนีความพร้อมด้าน ของไทยก็มีความผันผวนสูง จากการจัดอันดับดัชนีความพร้อมด้าน เอไอ
ล่าสุดปี พ.ศ. 2566 ไทยร่วงลงมาอยู่ในลำดับที่ 37 จากอันดับที่ 31 ปัจจัยหลักที่ทำให้ดัชนีดังกล่าวของไทยต่ำลง เพราะไม่สามารถนำเทคโนโลยีไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าและผลิตภาพได้ ขาด ทุนมนุษย์ที่มีทักษะทางด้านปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ นโยบาย ระบบและกลไกในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อขยายขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมยังมีข้อจำกัด หากไม่แก้ไขข้อจำกัดหรือปัญหาเหล่านี้จะทำให้ผลิตภาพโดยรวมของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในยุคเอไอ
แม้แผนปฏิบัติการของไทยได้จัดทำโครงการที่สอดรับกับจุดเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้ง 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย แต่ในระดับองค์กรยังขาดการวางแผนในการทำให้เกิด และ วางเป้าหมายในการนำ มาใช้ในกระบวนการทำงาน กระบวนการผลิต และ กระบวนการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและธุรกิจใหม่ การดำเนินการเช่นนั้นได้ต้องมีการจัดตั้งทีม และ มีการฝึกอบรมพัฒนาทักษะ
ปัจจุบันมีประชาชนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เพียง พันล้านราย ทำให้ช่องว่างดิจิทัลยังมีอยู่มาก และ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงดิจิทัลนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ในไทย เมื่อมีช่องว่างดิจิทัลมาก ย่อมมีช่องว่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มากไปด้วยอุปสรรคสำคัญ คือ การเข้าถึงได้ในราคาถูกและง่ายต่อการใช้งาน ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงดิจิทัลและเอไอจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในระบบทุนนิยมโลกและทุนนิยมไทยเพิ่มขึ้น
เมื่อโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้ถูกพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้การผลิตด้วยระบบอัตโนมัติและการทำงานจากการควบคุมทางไกล ส่งผลระบบการบริหารงานคลังสินค้าครบวงจรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อเกิดขึ้นแบบไร้รอยต่อ ทำให้ระบบซัพพลายเชนแบบเดิมล้าหลังไปทันที ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลได้เหมือนกันแต่ระดับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอาจแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ ผู้นำตลาดดั้งเดิมมักไม่เร่งรีบนำเทคโนโลยีดิจิทัลและเอไอมาใช้จากการที่ได้ลงทุนไปในเทคโนโลยีแบบเดิมไปมากและยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้มากพอ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นตัวถ่วงรั้งหรือแรงฝืดต่อการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ ส่วนผู้แข่งขันรายใหม่ที่ยังไม่ได้มีการลงทุนทางกายภาพเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีแบบเดิมก็มักจะเร่งรัดในการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ แรงขับเคลื่อนสำคัญในการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลหรือการใช้เอไอ คือ แรงผลักดันที่มาจากลูกค้าและสังคม ย่อมเกิดความเสี่ยงหรือความวิตกกังวลและโอกาสเกิดขึ้นเมื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลต่อโครงสร้างของตลาดแรงงานแล้ว และ จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ กิจการจำนวนมากเริ่มนำเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิต อย่างเช่น หุ่นยนต์และสมองกลอัจฉริยะ และ อาจส่งผลให้เลิกจ้างงานพนักงานจำนวนมากโดยเฉพาะงานผลิตซ้ำต่างๆที่มูลค่าต่ำ แต่ก็ไม่ใช่ทุกตำแหน่งจะเผชิญกับความเสี่ยง ด้วยเทคโนโลยีเดิมก่อนการเกิดขึ้นของ งานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ยังไม่สามารถนำระบบอัตโนมัติหรือ มาใช้แทนได้มากนัก แต่ในอนาคตจะทดแทนได้มากขึ้น
ความเสี่ยงเรื่องนี้จะกระทบต่อประเทศไทยไม่มากเนื่องจาก ไทยจะมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานและเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การใช้หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์อย่างเหมาะสมกลับจะทำให้เศรษฐกิจสามารถก้าวพ้นขีดจำกัดปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้ ปัญหาโครงสร้างประชากรสูงวัยและสัดส่วนแรงงานลดลงอย่างชัดเจนจะส่งผลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
โดยงานวิจัย ชี้ว่า เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงจากการลดลงของประชากรในวัยทำงาน แรงงานในวัยทำงานจะลดลง และจะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง หากเราสามารถใช้เอไอ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาเสริมการทำงานของแรงงานมนุษย์จะทำให้ผลิตภาพของแรงงานสูงขึ้น และ สามารถชดเชยแรงงานมนุษย์ที่หายไป ไม่ทำให้อัตราการขยายทางเศรษฐกิจลดต่ำ ส่วน แรงงานบางกลุ่มที่ไม่มีทักษะมากพอในการทำงานในระบบการผลิตแบบใหม่ ภาครัฐต้องทำการ และ อย่างมียุทธศาสตร์และเป็นระบบ นอกเหนือจากการดำเนินการผ่านระบบการศึกษาที่เป็นทางการ
เอไอสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมและเศรษฐกิจสู่ดิจิทัลและเอไอ มีหลักฐานในหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาว่า ทำให้เกิดการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลของบุคคลจำนวนหนึ่งที่สามารถใช้ประโยชน์จากสภาวะดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างแพลตฟอร์มและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการทำธุรกรรม การดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ การลงทุนต่าง ๆ โดยไม่ถูกจำกัด ทำให้เกิดโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ บริษัทไฮเทคและธุรกิจแพลตฟอร์มของทุนตะวันตกหรือทุนจีนได้เข้ามาแย่งชิงผลประโยชน์จากธุรกิจอุตสาหกรรมในท้องถิ่น
และมีผลกระทบต่อเอสเอ็มอีอย่างมาก จึงต้องมีการจัดระเบียบการแข่งขันเสียใหม่ให้เป็นธรรม การปิดกั้นด้วยมาตรการกีดกันทางการค้า (อาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีในการรับมือความท้าทายดังกล่าว เทคโนโลยีใหม่ทำให้เกิดข้อมูลมหาศาล การเก็บข้อมูล ความสามารถในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ได้ดีขึ้น
เมื่อสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระดับสุดยอด จะต้องใช้งบสวัสดิการสำหรับผู้ชราภาพสูงทะลุ ล้านล้านบาท ภาระทางการคลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญ และมีความจำเป็นต้องลดภาระทางการคลังด้วยการดำเนินการในนโยบาย ด้านดังต่อไปนี้ คือ พัฒนาระบบการออมเพื่อชราภาพให้ขยายขอบเขตและเข้มแข็งขึ้น การปฏิรูประบบแรงงาน และ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ควรมีการศึกษานโยบายการเปิดเสรีแรงงานและควรพิจารณาการรับผู้อพยพผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มีคุณภาพหรือไม่
เสนอปฏิรูประบบแรงงาน
นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่า ตนเสนอให้มีการปฏิรูประบบแรงงานรับมือสมองกลอัจฉริยะหรือ และเพิ่มความเป็นธรรมและความสามารถแข่งขัน ท่ามกลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล นายจ้างกับลูกจ้างสามารถตกลงวันและเวลาในการทำงานจากที่บ้านหรือ ได้มากขึ้น สามารถทำงานผ่านระบบเทคโนโลยีจากที่ไหนก็ได้ และแม้ว่าจะไม่ได้เข้าทำงานที่ออฟฟิศ ลูกจ้างก็ต้องได้รับเวลาพัก รวมถึงค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาหรือ “โอที” ตามปกติ
และที่สำคัญ เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานในแต่ละวันแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธการติดต่อคุยงาน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์สื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โปรแกรมแชตหรือโทรศัพท์ก็ตาม
โดย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับแก้ไขล่าสุดได้ปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์การทำงานในโลกยุคดิจิทัลมากขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี หุ่นยนต์ จักรกลอัตโนมัติจะทำให้อาชีพและตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปแบบพลิกโฉม จำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบการศึกษาเรียนรู้ ระบบพัฒนาทักษะ และระบบแรงงานทั้งระบบเพื่อให้ แรงงานมนุษย์สามารถทำงานร่วมกับระบบหุ่นยนต์ได้ดีขึ้น และหลายอย่างสมองกลอัจฉริยะ หรือสามารถทำงานได้ดีกว่าแรงงานมนุษย์และเสริมการทำงานของมนุษย์
เช่น การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ซึ่งเป็นงานเฉพาะและมีความแม่นยำสูงกว่าที่มนุษย์จะทำได้สามารถช่วยการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นได้ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณประกอบกับการใช้สามารถทำงานทางด้านการวิเคราะห์ การคำนวณ การประเมินการลงทุน การศึกษา การวิจัย ได้อย่างดี เป็นต้น
ไทยอาศัยการลงทุนและเทคโนโลยีจากบรรษัทข้ามชาติ แต่องค์ความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีไม่ได้ส่งผ่านมายังผู้ผลิตไทยมากนักตลอดช่วงเวลาสามสี่ทศวรรษที่ผ่านมา เราจึงเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าขั้นกลางที่มีความซับซ้อนของเทคโนโลยีไม่มาก ในอุตสาหกรรมยานยนต์หรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ เราก็ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนสูงจากต่างประเทศมาประกอบในไทย
นอกจากนี้ เรายังมีการใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาและวิจัยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศรายได้ระดับปานกลางด้วยกัน สัดส่วนการใช้จ่ายทางด้านวิจัยและพัฒนาเทียบกับจีดีพีต่ำกว่า มาโดยตลอด ควรจะมีการเพิ่มงบประมาณทางด้านวิจัยและพัฒนาขึ้นไปอยู่ที่ระดับ ของจีดีพี ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาก็ยังอยู่ระดับต่ำกว่า มาเลเซียและสิงคโปร์ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นพร้อมสร้างแรงจูงใจให้บริษัทต่างชาติสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจและถ่ายทอดนวัตกรรม พัฒนาและออกแบบเทคโนโลยีในประเทศไทยมากขึ้น
ไทยยังมีทุนสนับสนุนงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่ำและกระจัดกระจาย ไม่มียุทธศาสตร์ในการจัดสรรทุน ความร่วมมือระหว่าง สถาบันการศึกษา และ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมยังมีอยู่อย่างจำกัด แรงงานมีความรู้ ทักษะไม่พอเพียงและไม่สามารถสร้างนวัตกรรมได้ ปัญหาเหล่านี้ต้องมีแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วนเพื่อไม่ให้ “ไทย” ตกยุคเอไอเปลี่ยนแปลงโลก