หวั่นไทยเจอภาวะ ยุโรปสปริง จากวิกฤตรัสเซียยูเครน

ราคาน้ำมันดิบ

หอการค้าไทย วิเคราะห์สงครามทางอาวุธรัสเซีย-ยูเครน ข้อต่อรองความมั่นคงทางอาหาร น่าห่วงไทยหวั่นเกิดภาวะ “ยุโรปสปริง” หลังชาวยุโรปเริ่มประท้วง ลามถึงสกุลเงิน

วันที่ 25 มีนาคม 2565 นายสุรวงค์ บูลกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวในงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง สงครามยูเครนกับวิกฤติพลังงานของไทย ทางเลือก ทางรอด ที่ต้องรู้ จัดโดยชมรมวิชาการพลังงาน (ชวพน.) ว่า แหล่งน้ำมันสำรองของโลกที่ใหญ่ที่สุด คือซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีปริมาณ 2 แสนล้านบาเรล และยังเหลืออยู่ในโลกค่อนข้างเยอะ รองลงมาคือ อิรัก อิหร่าน คูเวต

ดังนั้น แหล่งน้ำมันสำรองที่สำคัญจึงอยู่ที่ตะวันออกกลาง รองลงมาคือ รัสเซีย ประมาณ 80,000 ล้านบาเรล ค่อนข้างมหาศาล ถัดมา คือสหรัฐอเมริกาซึ่งมีปริมาณ 50,000 ล้านบาเรล ซึ่งสหรัฐฯเองเปิดการเปลี่ยนแปลงรอบ 20 ปี จากผู้นำเข้าเป็นผู้ผลิตและส่งออก จากการค้นพบน้ำมันใต้ชั้นหินที่เรียกว่า “Shale Oil” ซึ่งมีกระบวนการเคาะหินดินดานออกมาได้จากใต้พื้นพิภพ

ดังนั้น สหรัฐเองก็เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกเช่นกัน อย่างไรก็ดี กลไกการผลิตก็เปลี่ยนไปใช้น้ำมันที่ผลิตเองที่เพียงพอ กรณีสงครามที่เกิดขึ้นในอดีตอิหร่าน อิรัก เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯปรับลดบทบาทลงเป็นการมุ่งให้ความสำคัญทะเลจีนตอนใต้ เพราะบริบทความสำคัญของน้ำมันกับการเมืองได้ลดบทบาทตะวันออกกลางไป

ปัจจุบัน ผู้ผลิตน้ำมันที่สูงที่สุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกาสามารถผลิตได้ 18 ล้านบาเรล/วัน แม้มากที่สุดก็ใช้เองมากที่สุดที่ 14 ล้านบาเรล/วัน รองลงมาคือซาอุดิอาระเบีย ควบคู่การควบคุมนโยบายโอเปค รองลงมาอีกคือรัสเซีย ซึ่งผลิตแก๊สรายใหญ่ที่สุดของโลก

ดังนั้น ทำไมซัพพลายดังกล่าวสะท้อนราคาพื้นฐานของโลก หลักๆคือ 4 ประเภท 1.Seasonal ตามฤดูกาล โลกของพลังงานการพยากรณ์ไม่ยาก แต่การซัพพลายอุปทานยากมากจากสภาพอากาศ 2.จากเหตุการณ์ของโรงกลั่น พายุ หากโรงกลั่นระเบิดผลิตไม่ได้ก็ส่งผลต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูป ระบบการผลิตจะใช้เวลา 2 เดือน

3.โอเปค เป็นกลุ่มผู้ผลิต 10 ประเทศ กำลังการผลิต 37,000 ล้านบาเรลต่อวัน หรือ 37% ต่อวัน ในอดีตการเคลื่อนไหวกลุ่มนี้กระทบต่อราคาโดยมีผู้นำ ซาอุดิอาระเบีย และสงครามยูเครนก็เกี่ยวข้องแม้จะไม่เยอะแต่มีบทบาทสำคัญ 4.สงคราม วันนี้ราคาน้ำมันขึ้นไปว่า 120 เหรียญ/บาเรล ถ้าขึ้นไป 4 เหรียญ เท่ากับน้ำมันสำเร็จรูปไทยขึ้นไป1 บาท วันนี้ราคา วอร์พรีเมียม สะท้อนต่อประชาชนที่ขึ้นไปถึง 5 บาท ดังนั้น สงครามส่งผลกระทบต่อทุกคนที่ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่เผชิญวิกฤตพลังงาน โดย ผู้จัดหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ คือ รัสเซีย ซึ่งสหภาพยุโรปนำเข้าน้ำมันและก๊าซมากสุดถึง 45% โดยก๊าซจำต้องพึ่งพารัสเซีย ผ่าน 4 ท่อ ป้อนสะแกนดิเนเวียและชาวยุโรป ทั้งหมด ดังนั้น ถามว่าประเทศไทยต้องการมากสุด คือ

ทุกประเทศ ต้องการก๊าซจากรัสเซีย นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่สหภาพยุโรป (EU) ปฏิเสธกลุ่ม NATO ท่ามกลางความแตกแยกหลายฝ่ายที่เสียงแตก และหากยุโรปแซงชั่นไม่ให้เข้าระบบสวิฟต์ (SWIFT) นี่คือมาตรการที่รัสเซียบุกยุโรปด้านระบบทางการเงิน นอกจากนั้น ใครไม่เป็นพันธมิตรจะไม่ขายปุ๋ย ไทยที่นำเข้าปุ๋ยจากรัสเซียเองก็ต้องพิจารณา ให้ดี แม้ไม่ได้ประกาศเลือกข้าง

นอกจากนี้ ยังมีข้อต่อรองอาหาร ธัญพืช ดังนั้น สงครามทางอาวุธ น่าห่วง จะเกิดภาวะ “ยุโรปสปริง” ซึ่งเกษตรกรยุโรปเริ่มประท้วงเรียกร้อง แบ่งฝ่าย ดังนั้น ไทยควรต้องเฝ้าดูกลไกความมั่นคงทางอาหารอย่างใกล้ชิด เพราะน้ำเข้าวัตถุดิบธัญพืชไม่น้อย นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร อีกประการที่น่ากลัวคือเรื่องของสกุลเงิน ระบบทางการเงิน

ทั้งนี้ ความกังวลที่เกิดขึ้นปัจจุบันนั้น น่าสนใจว่าราคาพลังงานจะแพงขึ้น อาหาร สินค้า ของแพง เรายังต้องเดินทางไกล ส่วนคำถามที่ว่า ไทยจะสามารถลดค่าการกลั่นสัก 1 ปี หรืออกฎหมาย พรก.ฉุกเฉินด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานได้หรือไม่ มองว่า ถ้ารัฐร่วมลงมารับความเสี่ยงร่วมกันได้น่าจะดีกว่า ซึ่งสามารถทำได้โดยเจรจาผู้ค้าน้ำมันมาหารือค่าการกลั่นบางตัว

โดยอาจนำเข้าน้ำมันดิบเข้ามาแล้วจ้างโรงกลั่น กลั่นน้ำมัน นำไปขายได้ เป็นกลไกทั่วไปตามสากลแต่ความเสี่ยงจากเอกชนก็จะถูกย้ายมาเป็นความเสี่ยงของรัฐ ต้องแลกว่าจะเอาเรื่องความมั่นคงกับเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลายประเทศก็ทำ

รวมทั้งเรื่องภาษี ราคาน้ำมันเบนซิน 40 บาทต่อลิตร แต่คนมีรายได้น้อย คนใช้มอเตอร์ไซค์ วินเติม แต่รถเบนซ์ซึ่งเติมดีเซล 30 บาท/ลิตร ซึ่งโครงสร้างราคาเช่นนี้ยังมีความลักลั่น ไม่สมดุล หลายอย่างต้องแก้ไขเชิงนโยบาย ที่ควรแก้ให้เหมาะสม จำแนกเป็นกลุ่ม น่าจะเป็นแนวทางที่ดี

กรณีประเมินราคาน้ำมันนั้นมองว่า อยู่ในกรอบ 100 -150 เหรียญสหรัฐ/บาเรล จาก 2 ปัจจัยหลัก จีนกับสหรัฐอเมริกาว่า “จะใส่ฟืนเข้าไปในกองไฟหรือถอนฟืนออกจากกองไฟ” หากมีการเจรจาสันติภาพก็จะอยู่ที่ 100 เหรียญ/บาเรล

แต่ถ้ายังเติมอาวุธให้ยูเครน หากกระทบโรงไฟฟ้านิวเคลีย โรงกลั่น ท่อน้ำมัน อาจจะขึ้นไปถึง 200 เหรียญ แต่หลักๆ คือ จะเติมฟืนเข้าไปในกองไฟหรือจะถอนคืน และหากเราได้น้ำมันพิเศษรัสเซียมา ก็สามารถจ้างกลั่นก็ทำได้ และมีกลไกอื่นๆให้เราศึกษาได้ อยู่ที่การทูตและความสัมพันธ์ด้วย

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ภาพรวมของการผลิตไฟฟ้าของไทยจากแก๊สธรรมชาติเป็นหลัก ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 65% ผลิตจากก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยราคาค่อนข้างถูกไม่ผันผวนมากนัก 16.2% คือก๊าซจากเมียนมา 18% ก๊าซจาก LNG

โดยการนำเข้าซึ่งปี 2563 พบว่ามีการนำเข้า Spot LNG เล็กน้อย รวมแล้วทั้งหมดปี 2563 แก๊สที่นำมาผลิตไฟฟ้ามีสัดส่วน 56% ส่วนที่เหลือ 43% มาจากไฮโดร ถ่านหิน และ renewable ต่างๆ ส่งให้กับ กฟภ. กฟน. และประชาชน

ต่อมาในปี 2564 สัดส่วนเริ่มเปลี่ยนไปเนื่องจากก๊าซในอ่าวไทยเริ่มลดลง ส่วนนำเข้าจากเมียนมาคงเดิม แต่ต้องนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 20% หรือ 1.5 ล้านตัน บวกกับช่วงปลายปี 2564 ราคา LNG ที่ค่อนข้างแพงจากสถานการณ์โลก ไทยจึงต้องใช้เชื้อเพลิงน้ำมันมาช่วยผลิตไฟฟ้า ประเด็นที่มีปัญหาคือปริมาณก๊าซในไทยลดลง ต้องต้องพยายามเอา LNG เข้ามาเสริมซึ่งมันราคาสูง ส่งผลให้ต้นทุนที่สูงขึ้น

กกพ. จึงต้องปรับราคาค่า FT ประมาณ 4 บาท/หน่วย จากเดิมที่ค่า FT มีการปรับครั้งสุดท้ายคือเดือน พ.ย. 2558 ซึ่งขณะนั้นราคาอยู่ที่ 3.76 บาท/หน่วย และสูงสุดไปแตะที่สูงสุด 3.96 บาท/หน่วย ซึ่งนั่นเป็นช่วงที่เริ่มเอา LNG เข้ามา และราคาน้ำมันแพง ในกรณีร้ายแรงสุดน่าจะขึ้น 4.5-4.6 บาท/หน่วย มันอยู่ที่สถานการณ์ว่าสงครามครั้งนี้จะยุติเมื่อใด

สำหรับทางออก รัฐยังคงพยายามหาทางแก้ไข ด้วยการดูเชื้อเพลิงอื่น อย่างการเร่งโรงไฟฟ้าถ่านหินมาใช้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เพื่อลดทอนความแพงของ LNG ลง เพราะถึงแม้ราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นแต่ก็น้อยกว่าราคาของ LNG