บมจ.แอดวานซ์ เว็บ เซอร์วิส ผู้ให้บริการ Digital Technology และระบบ On-Cloud Digital Platform พร้อมเข้าซื้อขายเป็นบริษัทแรกในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) 9 ก.ย.นี้
วันที่ 8 กันยายน 2565 บมจ.แอดวานซ์ เว็บ เซอร์วิส เป็นผู้ประกอบธุรกิจ การออกแบบพัฒนา Digital Technology ทางด้าน IT Solution และให้บริการระบบ On-Cloud Digital Platform เพื่อให้ผู้ประกอบการ หน่วยงานหรือองค์กร นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ไปใช้งาน ในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน เพื่อให้บริการลูกค้า หรือเพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์กร
ตัวอย่างเช่น ระบบ E-Commerce, ระบบบริหารจัดการตั๋วแบบครบวงจร, ระบบบริหารลูกค้าและสมาชิก, ระบบเติมเงินและชำระค่าบริการออนไลน์, ระบบบริหารจัดการตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ และ IT Solution เช่น Web-Application, Blockchain Platform, Data Management, Payment Solution เป็นต้น
โดยบริษัทมีวิสัยทัศน์ที่ว่า “การเป็นผู้นำในการส่งมอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีออนไลน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ต่อองค์กรธุรกิจและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อสังคม”
โครงสร้างรายได้
สำหรับปี 2564 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้ รวม 67.01 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 23.14 ล้านบาท คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 25.66 และมีกำไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 9.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 5.93 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 152.07 และมีอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 14.67
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีความสามารถในการทำไรที่สูงกว่ารายได้จากการให้บริการระบบเติมเงิน และรายได้จากการจำหน่ายสินค้า อีกทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระตุ้นให้ความต้องการพัฒนาระบบแพลตฟอร์ม มีการเติบโต จากการที่บริษัทต่าง ๆ มีความต้องการที่จะพัฒนาระบบจัดการให้สอดคล้องการสถานการณ์ และรายได้จากการให้บริการเติมเงินลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบตามมาตรการ Lockdown
โดยโครงสร้างรายได้ของบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
กำไรสุทธิ
ในปี 2563-ปี 2564 บริษัทมีกำไร (ขาดทุน) สุทธิจำนวน 3.90 ล้านบาท และ 9.83 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.33 และร้อยละ 14.67 ของรายได้รวม ตามลำดับ
โดยในปี 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคิดเป็นร้อยละ 152.07 โดยมีสาเหตุมาจากบริษัทมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจหลัก และหันมาเน้นการให้บริการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีต้นทุนในการให้บริการที่ต่ำกว่าการขาย และการให้บริการระบบเติมเงิน และมีความสามารถในการขยายการให้บริการได้รวดเร็ว อีกทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เกิดความต้องการการใช้งานระบบแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น
สินทรัพย์บริษัท
สินทรัพย์รวม ณ สิ้นงวดปี 2563 ถึงปี 2564 เท่ากับ 99.74 ล้านบาท และ 98.09 ล้านบาท ตามลำดับ โดยสินทรัพย์หลักของบริษัท ประกอบด้วย ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน และอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งรวมถึงตู้เติมเงิน และอะไหล่ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปี 2564 สินค้าคงเหลือ มีมูลค่า 15.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากการมีการยกเลิกตู้เติมเงินที่บริษัทตั้งให้บริการ และลูกค้าแฟรนไชส์ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานะการณ์โควิด แพร่ระบาด
สินทรัพย์ประเภทตู้เติมเงิน ในปี 2564 มีมูลค่า 7.33 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 เนื่องจากการจำหน่ายตู้เติมเงินที่บริษัทตั้งให้บริการ และการแต่งตั้งตัวแทนดูแลตู้เติมเงินในพื้นที่ต่างจังหวัด
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของเจ้าของ ณ สิ้นปี 2563-ปี 2564 เท่ากับ 58.79 ล้านบาทและ 68.62 ล้านบาท ตามลำดับ ณ สิ้นปี 2564 ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น 9.83 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.72 เนื่องจาก บริษัทมีกำไรสุทธิ 9.83 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 และในปี 2563 ผลของการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน และฉบับที่ 16 สัญญาเช่า มาใช้ในปีแรก ซึ่งมีผลกระทบต่อกำไร (ขาดทุน) สะสมยังไม่จัดสรร ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 จำนวน (3.68) ล้าน
ทำให้กำไร (ขาดทุน) สะสมยังไม่จัดสรร มียอดยกมาจำนวน (46.61) ล้านบาท เมื่อรวมกับกำไร (ขาดทุน)สุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 3.90 ล้านบาท จึงมีกำไร (ขาดทุน) สะสมยังไม่จัดสรร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน (42.71) ล้านบาท
แผนกลยุทธ์
1.วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้าน Digital Technology อยู่เสมอเพื่อให้ผู้ใช้งานมีเครื่องมือที่ดี สะดวก ปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม และก้าวเป็นผู้นำด้าน Digital Technology ของประเทศ
2.สร้างให้ระบบ On-Cloud Platform ของบริษัท เช่น Ticketing Management System, Balance Blockchain ให้บริการและเป็นที่ยอมรับกับองค์กรต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ลดการนำเข้า การใช้งาน ซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์ม ต่างชาติ ให้กับประเทศไทยได้
3.พัฒนาเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ให้เป็นระบบที่มีขนาดเหมาะสมกับธุรกิจ SMEs และสามารถขยายความสามารถในการใช้งานเพิ่มเติมได้ในอนาคต
4.สร้างพันธมิตรทางธุรกิจและเครือข่าย ในการขยายและพัฒนาเทคโนโลยี สินค้าและบริการ ผลักดันและส่งเสริมผู้ประกอบการไทย
5.ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ในภูมิภาคอาเซียนอย่างมั่นคง ภายใน 3 ปีข้างหน้า
ขายหุ้นไอพีโอ 40 ล้านหุ้น
โดยเสนอขายเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ จำนวน 40 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 16.67 ของหุ้นทั้งหมดภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นครั้งนี้จำนวน 240 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 0.5 บาท/หุ้น โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด (KTX) เป็นผู้จัดการการจำหน่ายหลักทรัพย์ และเสนอขายในราคาหุ้นละ 2 บาท เมื่อวันที่ 1-5 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา
วัตถุประสงค์การระดมทุน
บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินระดมทุนจำนวน 80 ล้านบาท ไปใช้เพื่อดำเนินการขยายธุรกิจ โดยประมาณการระยะเวลา 1 ส.ค. 2565-31 ธ.ค. 2566 ดังนี้
- โครงการ พัฒนาระบบบริการ web 3.0 (Blockchain as a service) จำวน 15 ล้านบาท
- โครงการ พัฒนาระบบตั๋วบล็อกเชน (Ticketing on Blockchain) จำนวน 10 ล้านบาท
- โครงการ ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการพัฒนา จำนวน 8.5 ล้านบาท
- Working Capital ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ จำนวน 30 ล้านบาท
- โครงการ ปรับปรุงเพิ่มเติมระบบ รับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและพัฒนาศักยภาพบุคลากร จำนวน 6 ล้านบาท
- ลงทุนด้านการขยายพื้นที่ปฏิบัติงาน จำนวน 3.5 ล้านบาท
- ลงทุนด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ ทั้ง online และ offline เพื่อการขยายงานทางการตลาด จำนวน 12 ล้านบาท
- โครงการ ขยายการจำหน่ายตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ Advance Vending รวมถึงการขายสินค้าในความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ จำนวน 15 ล้านบาท
ข้อมูลจาก : www.live-platforms.com