เทคนิคช่วย SMEs “ผ่อนหนักเป็นเบา”

ธุรกิจ SMEs
คอลัมน์ : Smart SMEs
ผู้เขียน : finbiz by ttb

ในการประกอบธุรกิจมีผู้ประกอบการไม่มากนักที่จะมีเงินลงทุนเป็นเงินเย็น เงินเก็บ แล้วนำมาลงทุน เกือบ 100% จะเป็นการขอสินเชื่อจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งมีหลากหลายประเภท ทั้งแบบที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ซึ่งโดยส่วนใหญ่เงินลงทุนขนาดใหญ่ก็มักจะเป็นแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ที่ดิน อาคารต่าง ๆ ซึ่งหลายต่อหลายครั้งที่กิจการต้องการจะขยับขยาย แต่กลับต้องเสียโอกาส เพราะไม่มีแหล่งเงินทุน

ส่วนหลักทรัพย์ที่จะเอาไปค้ำประกันก็ยังติดค้ำประกันกับการลงทุนในรอบก่อนหน้าไปแล้ว หรือซ้ำร้ายไปกว่านั้น เมื่อมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดเข้ามาเพิ่ม จากที่ต้องชำระค่างวดสินเชื่อธุรกิจทุกเดือน ทำให้เหลือเงินหมุนเวียนไม่มาก

ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs จะทำอย่างไรให้ได้สินเชื่อเพิ่มเติม หรือจะทำอย่างไรให้แต่ละเดือน มีเงินเพียงพอให้สามารถดำเนินธุรกิจได้แบบไม่รัดตัว

วันนี้ฟินบิส โดยทีทีบี (finbiz by ttb) จึงจะขอนำเทคนิคที่จะช่วยให้ธุรกิจ “ผ่อนหนัก” เป็น “ผ่อนเบา” และยังอาจได้ “วงเงิน” เพิ่มเติมอีกด้วย

เทคนิคที่ว่านี้คือ การ “รีไฟแนนซ์” ที่จะสามารถช่วยลดภาระต่อเดือนให้ลดลง ทำให้ในแต่ละเดือนมีสภาพคล่องมากขึ้น และยังมีโอกาสได้รับวงเงินเพิ่มบนสินทรัพย์เดิม

ADVERTISMENT

เป็นแนวคิดเดียวกับการรีไฟแนนซ์บ้านของสินเชื่อบุคคล ซึ่งสามารถนำเทคนิคนี้มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยการรีไฟแนนซ์มีประโยชน์เด่นอยู่ 2 อย่าง ได้แก่

1) ลดภาระในแต่ละเดือน ทำให้มีสภาพคล่องมากขึ้น แม้การกู้ยืมเงินจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กิจการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าการกู้นั้นเริ่มเป็นภาระในแต่ละเดือนมากกว่าโอกาสที่ได้รับ ปัญหาเหล่านี้สามารถแบ่งเบาลงได้ ด้วยการรีไฟแนนซ์

ADVERTISMENT

– การรีไฟแนนซ์จะช่วยให้เงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง ด้วยการยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้น ซึ่งเป็นการลดภาระต่อเดือน

ธุรกิจสามารถได้ประโยชน์จากส่วนต่างของเงินที่ต้องผ่อนแบบเดิมและแบบใหม่ โดยนำเงินก้อนนั้นไปใช้ในส่วนอื่น ๆ ของธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือเก็บสะสมเพื่อเป็นเงินทุน สำหรับการลงทุนในอนาคต

2) โอกาสได้วงเงินเพิ่มบนสินทรัพย์เดิม รีไฟแนนซ์ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถทำให้ผู้ประกอบการได้วงเงินที่สูงขึ้นด้วยเหตุผลนี้

– มูลค่าของสินทรัพย์เดิมอาจเพิ่มขึ้นได้ตามกาลเวลา เช่น ที่ดิน หรือผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่ามาเป็นหลักประกันแทนได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ควรคำนึงถึงการรีไฟแนนซ์ที่เหมาะสม กำหนดระยะเวลาที่เหมาะกับธุรกิจ พิจารณาอัตราดอกเบี้ยและจำนวนแต่ละงวดที่ต้องผ่อนชำระ โดยต้องมั่นใจว่าจะสามารถมีรายได้ที่หักต้นทุน ค่าใช้จ่ายคงที่

รวมถึงค่างวดผ่อนชำระแล้ว ยังมีสภาพคล่องพอในการบริหารธุรกิจและตอบรับโอกาสใหม่ ๆ ได้ มีการวางแผน มีวัตถุประสงค์ในการรีไฟแนนซ์ที่ชัดเจน ต้องใช้ประโยชน์จากการรีไฟแนนซ์สร้างสินเชื่อที่เป็นแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

การเลือกสถาบันทางการเงินที่เข้าใจธุรกิจเป็นสิ่งที่จำเป็น

การมีสถาบันทางการเงินที่เข้าใจลักษณะของธุรกิจและมีที่ปรึกษาทางการเงิน จะเป็นสิ่งที่ช่วยผู้ประกอบการตัดสินใจในการประกอบธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่เพียงการตัดสินใจกู้สินเชื่อหรือรีไฟแนนซ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอื่น ๆ

เช่น การช่วยคำนวณจำนวนเงินที่เหมาะสม จำนวนงวดที่จะผ่อนชำระ จำนวนเงินในแต่ละงวดที่จะต้องชำระ การช่วยแนะนำเอกสารและขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการรีไฟแนนซ์ให้เป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ยุ่งยาก รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาในอีกหลากหลายมิติทางการเงิน ทั้งเรื่องเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ ที่ปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย

ดังนั้น สถาบันทางการเงินที่เข้าใจธุรกิจ และเป็นพันธมิตรที่เข้าใจว่าความต้องการของธุรกิจแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน และสามารถให้คำปรึกษาแบบองค์รวม พร้อมสนับสนุน SMEs ให้ได้รับวงเงินที่เหมาะสมและเพียงพอ จะช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่องและสามารถขยายกิจการได้เมื่อโอกาสมาถึง จะสามารถต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนได้