ธปท. เปิดดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจ มิ.ย. ฟื้นรับออร์เดอร์เร่งตัวหลังคลายล็อก

ธปท.รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิถุนายน 2563 ปรับดีขึ้นทุกหมวดมาอยู่ที่ 38.5 จากเดือนก่อนอยู่ที่ 34.4 ส่วนความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นมาที่ 47 แต่ภาพรวมยังต่ำกว่า 50 แม้คลายล็อกแต่รายได้ยังไม่กลับมาจากกำลังซื้อ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิถุนายน 2563 เพิ่มขึ้นมา อยู่ที่ระดับ 38.5 เทียบกับระดับ 34.4 ในเดือนก่อน โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกภาคธุรกิจ และจากองค์ประกอบ ด้านการผลิต คำสั่งซื้อ และผลประกอบการเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 50

อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ โดยรวมที่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ค่อนข้างมาก สะท้อนว่าแม้ปัจจุบันจะกลับมาเปิดเมืองได้เกือบเป็นปกติแล้ว แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากกำลังซื้อที่ลดลงและการรักษามาตรการเว้นระยะห่าง ทำให้รายได้ของธุรกิจยังกลับมาไม่มากนัก ซึ่งบางส่วนมองว่าอาจยังไม่คุ้มที่จะกลับมาเปิดให้บริการ อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาจากองค์ประกอบด้านการผลิต คำสั่งซื้อ และผลประกอบการที่ปรับดีขึ้นมาก แต่ด้านการจ้างงานดีขึ้นเพียง เล็กน้อย แสดงว่าแม้การผลิตและการบริการจะเริ่มฟื้นตัว แต่ส่งผลดีไปสู่การจ้างงานไม่มากนัก

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 47.0 และปรับดีขึ้นในทกุภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตยานยนต์และผลิตอาหาร รวมถึงกลุ่มค้าปลีกที่ดัชนีฯ ปรับดีขึ้น มาอยู่สูงกว่าระดับ 50 เล็กน้อยสะท้อนว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้เริ่มมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ดีขึ้นจากปัจจุบัน โดยผู้ผลิตยานยนต์ส่วนใหญ่กลับมาเตรียมผลิตเพิ่มขึ้นสำหรับขายในอนาคต ตามการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ขณะที่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความเชื่อมั่นดีขึ้น เนื่องจากปัญหาการขนส่งสินค้าเริ่มหมดไปตามการผ่อนคลาย มาตรการ lockdown ของหลายประเทศ จึงท่าให้คาดการณ์ค่าสั่งซื้อ เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ใน sector อื่นๆ ยังอยู่ต่ำกว่า 50 สะท้อนว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลว่าธุรกิจจะแย่ลงจากปัจจุบัน


ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ ในส่วนดัชนีฯ ด้านสภาพคล่องปรับสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนว่าธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงมีสภาพคล่องลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ ธุรกิจส่วนใหญ่ยังรายงานว่าได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ แม้ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มคลายความกังวลต่อความไม่แน่นอน เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจตามสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มดีขนึ้ แต่กำลังซื้อที่อ่อนแอลงส่งผลให้การแข่งขันในประเทศรุนแรงขึ้น และเป็นข้อจำกัดเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ทั้งนี้ การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าลดลงมาอยู่ที่ 1.4%