BITE SIZE : เปิดเงื่อนไข เที่ยวเมืองรอง สัมมนาเมืองรอง ลดหย่อนภาษีได้

Prachachat BITE SIZE
โดย พฤฒินันท์ สุดประเสริฐ

หลังผ่านพ้นสงกรานต์ เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ช่วง Low Season ของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งสร้างความเบื่อให้กับนักท่องเที่ยว เพราะอาจต้องเผชิญทั้งฝนฟ้าอากาศที่แปรปรวน แต่ก็แลกกันกับการได้ราคาหรือโปรโมชั่นที่พัก ที่ดีกว่าช่วง High Season

ขณะเดียวกัน ภาคการท่องเที่ยว ถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้โตขึ้น ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ จากปัจจัยทั้งจากในประเทศ ประเทศรอบข้าง และประเทศมหาอำนาจ

การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา เห็นชอบมาตรการใหม่ นำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวในจังหวัดเมืองรอง ช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม-30 พฤศจิกายนนี้ มาลดหย่อนภาษีได้ ทั้งบุคคลทั่วไป และบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยออกไปเที่ยวเมืองรอง ในช่วง Low Season

แล้วการท่องเที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีได้ยังไง ต้องใช้เอกสารอะไร

Prachachat BITE SIZE สรุปรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

คนไทย-บริษัทไทย ไปเที่ยว-สัมมนา ลดหย่อนภาษีได้

มาตรการลดหย่อนภาษี จากค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยว มี 2 รูปแบบ สำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ADVERTISMENT

มาตรการภาษีสำหรับกลุ่มบุคคลธรรมดา

รัฐบาลให้สิทธิลดหย่อนภาษี สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการท่องเที่ยวเมืองรอง ดังนี้

ADVERTISMENT
  • ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  • ค่าที่พัก ทั้งโรงแรม โฮมสเตย์ หรือในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม

การลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา

  • ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15,000 บาท

หลักฐานที่ต้องใช้

  • ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกโดยผู้ให้บริการทัวร์ หรือที่พัก

ระยะเวลา

  • 1 พฤษภาคม-30 พฤศจิกายน 2567

มาตรการภาษีสำหรับกลุ่มนิติบุคคล

รัฐบาลให้สิทธินิติบุคคล นำรายจ่ายต่าง ๆ ในการจัดสัมมนาแก่ลูกจ้าง ดังนี้

  • ค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวเพื่อการอบรมสัมมนา
  • ค่าห้องสัมมนา
  • ค่าห้องพัก
  • ค่าขนส่ง
  • รายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง

การลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

  • ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 2 เท่า
    • การจัดสัมมนาในพื้นที่เมืองรอง และพื้นที่อำเภออื่น ๆ ในจังหวัดเมืองหลักที่กำหนด ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
    • การจัดสัมมนานอกพื้นที่เมืองรอง หรือนอกพื้นที่ที่กำหนด ลดหย่อนได้ 1.5 เท่า
    • กรณีจัดสัมมนาต่อเนื่องกัน ทั้งในพื้นที่เมืองรอง และเมืองหลัก
      • หากแยกได้ว่ารายการไหน อยู่ในเมืองรอง หรือเมืองหลัก ได้สิทธิลดหย่อนตามเงื่อนไข
      • หากไม่สามารถแยกรายการได้ ให้หักได้ 1.5 เท่า ตามที่จ่ายจริง

หลักฐานที่ต้องใช้

  • ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกโดยผู้ให้บริการทัวร์ หรือที่พัก

ระยะเวลา

  • 1 พฤษภาคม-30 พฤศจิกายน 2567

เที่ยว-สัมมนา จังหวัดไหน ลดหย่อนภาษีได้

สำหรับมาตรการลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยว ครั้งนี้ รัฐบาลให้สิทธิกรณีท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรอง ทั้ง 55 จังหวัด และในบางอำเภอของพื้นที่ 15 จังหวัด

โดย นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า จังหวัดท่องเที่ยวรอง ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามมาตรการนี้ได้ จะเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 335 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นอากร

และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 429) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ และกำหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวสำหรับการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศเพิ่มเติมจากจังหวัดท่องเที่ยวรอง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566

สำหรับพื้นที่ที่เข้าเงื่อนไข สามารถลดหย่อนภาษีตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวครั้งนี้ได้ มีดังนี้

จังหวัดเมืองรอง 55 จังหวัด (ใช้สิทธิได้ทุกอำเภอ)

เมืองรองภาคเหนือ 16 จังหวัด

  • เชียงราย
  • พิษณุโลก
  • ตาก
  • เพชรบูรณ์
  • นครสวรรค์
  • สุโขทัย
  • ลำพูน
  • อุตรดิตถ์
  • ลำปาง
  • แม่ฮ่องสอน
  • พิจิตร
  • แพร่
  • น่าน
  • กำแพงเพชร
  • อุทัยธานี
  • พะเยา

เมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด

  • อุดรธานี
  • อุบลราชธานี
  • หนองคาย
  • เลย
  • มุกดาหาร
  • บุรีรัมย์
  • ชัยภูมิ
  • ศรีสะเกษ
  • สุรินทร์
  • สกลนคร
  • นครพนม
  • ร้อยเอ็ด
  • มหาสารคาม
  • บึงกาฬ
  • กาฬสินธุ์
  • ยโสธร
  • หนองบัวลำภู
  • อำนาจเจริญ

เมืองรองภาคกลาง-ตะวันออก-ตะวันตก 12 จังหวัด

  • ลพบุรี
  • สุพรรณบุรี
  • นครนายก
  • สระแก้ว
  • ตราด
  • จันทบุรี
  • ราชบุรี
  • สมุทรสงคราม
  • ปราจีนบุรี
  • ชัยนาท
  • อ่างทอง
  • สิงห์บุรี

เมืองรองภาคใต้ 9 จังหวัด

  • นครศรีธรรมราช
  • พัทลุง
  • ตรัง
  • สตูล
  • ชุมพร
  • ระนอง
  • นราธิวาส
  • ยะลา
  • ปัตตานี

พื้นที่จังหวัดอื่น 15 จังหวัด (ใช้สิทธิได้เฉพาะอำเภอที่กำหนด)

จังหวัดกระบี่ 3 อำเภอ

  • อำเภอเขาพนม
  • อำเภอปลายพระยา
  • อำเภอลำทับ

จังหวัดกาญจนบุรี 8 อำเภอ

  • อำเภอด่านมะขามเตี้ย
  • อำเภอท่าม่วง
  • อำเภอท่ามะกา
  • อำเภอบ่อพลอย
  • อำเภอพนมทวน
  • อำเภอเลาขวัญ
  • อำเภอหนองปรือ
  • อำเภอห้วยกระเจา

จังหวัดขอนแก่น 25 อำเภอ

  • อำเภอกระนวน
  • อำเภอเขาสวนกวาง
  • อำเภอโคกโพธิ์ไชย
  • อำเภอชนบท
  • อำเภอชุมแพ
  • อำเภอซำสูง
  • อำเภอน้ำพอง
  • อำเภอโนนศิลา
  • อำเภอบ้านไผ่
  • อำเภอบ้านฝาง
  • อำเภอบ้านแฮด
  • อำเภอเปือยน้อย
  • อำเภอพระยืน
  • อำเภอพล
  • อำเภอภูผาม่าน
  • อำเภอภูเวียง
  • อำเภอมัญจาคีรี
  • อำเภอเวียงเก่า
  • อำเภอแวงน้อย
  • อำเภอแวงใหญ่
  • อำเภอสีชมพู
  • อำเภอหนองนาคำ
  • อำเภอหนองเรือ
  • อำเภอหนองสองห้อง
  • อำเภออุบลรัตน์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 6 อำเภอ

  • อำเภอคลองเขื่อน
  • อำเภอท่าตะเกียบ
  • อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
  • อำเภอแปลงยาว
  • อำเภอราชสาส์น
  • อำเภอสนามชัยเขต

จังหวัดชลบุรี 6 อำเภอ

  • อำเภอเกาะจันทร์
  • อำเภอบ่อทอง
  • อำเภอบ้านบึง
  • อำเภอพนัสนิคม
  • อำเภอพานทอง
  • อำเภอหนองใหญ่

จังหวัดเชียงใหม่ 17 อำเภอ

  • อำเภอกัลยาณิวัฒนา
  • อำเภอไชยปราการ
  • อำเภอดอยเต่า
  • อำเภอดอยสะเก็ด
  • อำเภอดอยหล่อ
  • อำเภอพร้าว
  • อำเภอแม่แจ่ม
  • อำเภอแม่แตง
  • อำเภอแม่วาง
  • อำเภอแม่อาย
  • อำเภอเวียงแหง
  • อำเภอสะเมิง
  • อำเภอสันทราย
  • อำเภอสันป่าตอง
  • อำเภอสารภี
  • อำเภออมก๋อย
  • อำเภอฮอด

จังหวัดนครราชสีมา 30 อำเภอ

  • อำเภอแก้งสนามนาง
  • อำเภอขามทะเลสอ
  • อำเภอขามสะแกแสง
  • อำเภอคง
  • อำเภอครบุรี
  • อำเภอจักราช
  • อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  • อำเภอชุมพวง
  • อำเภอโชคชัย
  • อำเภอด่านขุนทด
  • อำเภอเทพารักษ์
  • อำเภอโนนแดง
  • อำเภอโนนไทย
  • อำเภอโนนสูง
  • อำเภอบัวลาย
  • อำเภอบัวใหญ่
  • อำเภอบ้านเหลื่อม
  • อำเภอประทาย
  • อำเภอปักธงชัย
  • อำเภอพระทองคำ
  • อำเภอพิมาย
  • อำเภอเมืองยาง
  • อำเภอลำทะเมนชัย
  • อำเภอวังน้ำเขียว
  • อำเภอสีคิ้ว
  • อำเภอสีดา
  • อำเภอสูงเนิน
  • อำเภอเสิงสาง
  • อำเภอหนองบุญมาก
  • อำเภอห้วยแถลง

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5 อำเภอ

  • อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
  • อำเภอกุยบุรี
  • อำเภอทับสะแก
  • อำเภอบางสะพาน
  • อำเภอบางสะพานน้อย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13 อำเภอ

  • อำเภอท่าเรือ
  • อำเภอนครหลวง
  • อำเภอบางซ้าย
  • อำเภอบางบาล
  • อำเภอบางปะหัน
  • อำเภอบ้านแพรก
  • อำเภอผักไห่
  • อำเภอภาชี
  • อำเภอมหาราช
  • อำเภอลาดบัวหลวง
  • อำเภอวังน้อย
  • อำเภอเสนา
  • อำเภออุทัย

จังหวัดพังงา 7 อำเภอ

  • อำเภอเมืองพังงา
  • อำเภอกะปง
  • อำเภอคุระบุรี
  • อำเภอทับปุด
  • อำเภอท้ายเหมือง
  • อำเภอเกาะยาว
  • อำเภอตะกั่วทุ่ง

จังหวัดเพชรบุรี 2 อำเภอ

  • อำเภอบ้านลาด
  • อำเภอหนองหญ้าปล้อง

จังหวัดระยอง 6 อำเภอ

  • อำเภอเขาชะเมา
  • อำเภอนิคมพัฒนา
  • อำเภอบ้านค่าย
  • อำเภอบ้านฉาง
  • อำเภอปลวกแดง
  • อำเภอวังจันทร์

จังหวัดสงขลา 15 อำเภอ

  • อำเภอเมืองสงขลา
  • อำเภอกระแสสินธุ์
  • อำเภอคลองหอยโข่ง
  • อำเภอควนเนียง
  • อำเภอจะนะ
  • อำเภอเทพา
  • อำเภอนาทวี
  • อำเภอนาหม่อม
  • อำเภอบางกล่ำ
  • อำเภอระโนด
  • อำเภอรัตภูมิ
  • อำเภอสทิงพระ
  • อำเภอสะเดา
  • อำเภอสะบ้าย้อย
  • อำเภอสิงหนคร

จังหวัดสระบุรี 9 อำเภอ

  • อำเภอแก่งคอย
  • อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  • อำเภอดอนพุด
  • อำเภอบ้านหมอ
  • อำเภอวังม่วง
  • อำเภอวิหารแดง
  • อำเภอหนองแค
  • อำเภอหนองแซง
  • อำเภอหนองโดน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี 15 อำเภอ

  • อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
  • อำเภอกาญจนดิษฐ์
  • อำเภอคีรีรัฐนิคม
  • อำเภอเคียนซา
  • อำเภอชัยบุรี
  • อำเภอไชยา
  • อำเภอดอนสัก
  • อำเภอท่าฉาง
  • อำเภอท่าชนะ
  • อำเภอบ้านนาเดิม
  • อำเภอบ้านนาสาร
  • อำเภอพระแสง
  • อำเภอพุนพิน
  • อำเภอวิภาวดี
  • อำเภอเวียงสระ

2 มาตรการลดหย่อนภาษี จากการท่องเที่ยวเมืองรอง รัฐบาลคาดการณ์ว่า จะสูญเสียรายได้ 1,500 ล้านบาท แต่เชื่อว่าการกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรอง จะสามารถสร้างรายได้กลับมามากกว่านั้น

จากนี้จับตาภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเมืองรอง ว่า 2 มาตรการที่ออกมานี้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ได้ขนาดไหน

ติดตาม Prachachat BITE SIZE EP.58 ได้ที่ https://youtu.be/3oxQhjF9o3U