หนี้สาธารณะทะลุร้อยละ 60.43 รัฐบาลกู้เพิ่ม 1 ล้านล้าน เอาไปทำอะไรบ้าง

เปิดรายละเอียด หนี้สาธารณะรอบใหม่กว่า 1 ล้านล้านบาท รัฐบาลกู้ไปทำอะไรบ้าง

วันที่ 28 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย 1.แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 1,052,785.47 ล้านบาท 2.แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงิน 1,735,962.93 ล้านบาท และ 3.แผนการชำระหนี้วงเงิน 360,179.68 ล้านบาท

สำหรับแผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย

แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล วงเงิน 819,765.19 ล้านบาท

รัฐบาลกู้มาใช้โดยตรง วงเงิน 728,585.19 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 (กู้เงินในประเทศ) จำนวน 695,00 ล้านบาท

2.เงินกู้เพื่อดำเนินการโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (กู้เงินต่างประเทศ) จำนวน 33,585.19 ล้านบาท เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (กรมทางหลวง) โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2) ของกองทัพเรือ

รัฐบาลกู้มาให้กู้ต่อ (เงินกู้ในประเทศ) เป็นการกู้เงินเพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กู้ต่อเพื่อดำเนินโครงการ รวม 8 โครงการ วงเงิน 46,180 ล้านบาท ดังนี้

รฟม. จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 17,700 ล้านบาท ได้แก่

1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 2,100 ล้านบาท

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงิน 15,600 ล้านบาท

รฟท. จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 28,480 ล้านบาท ได้แก่

1.โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) วงเงิน 16,600 ล้านบาท

2.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 3,200 ล้านบาท

3.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 1,280 ล้านบาท

4.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร วงเงิน 2,640 ล้านบาท

5.โครงการก่อสร้างรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 1,360 ล้านบาท

6.โครงการก่อสร้างทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 3,400 ล้านบาท

รัฐบาลกู้มาเพื่อเสริมสภาพคล่องเงินคงคลัง (เงินกู้ในประเทศ) วงเงิน 45,000 ล้านบาท

แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ (หนี้ในประเทศ) วงเงินรวม 202,520.28 ล้านบาท

แผนเงินกู้เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาของรัฐวิสาหกิจ 10 แห่ง วงเงิน 68,433.37 ล้านบาท ได้แก่

1.รฟท. วงเงิน 3,273.95 ล้านบาท (กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้)

2.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 2,800 บาท

3.การท่าเรือแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท

4.การเคหะแห่งชาติ (กคช.) วงเงิน 850 ล้านบาท (ก.คลังค้ำประกันเงินกู้)

5.การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) วงเงิน 1,646.76 ล้านบาท

6.บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) วงเงิน 6,000 ล้านบาท

7.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงิน 21,300 ล้านบาท

8.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) วงเงิน 20,500 ล้านบาท

9.การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) วงเงิน 9,300 ล้านบาท

10.องค์การเภสัชกรรม (อภ.) วงเงิน 1,762.66 ล้านบาท

แผนเงินกู้เพื่อดำเนินโครงการ หรือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการทั่วไปของรัฐวิสาหกิจ 13 แห่ง วงเงินรวม 134,086.91 ล้านบาท ได้แก่

1.การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 16,700 ล้านบาท (ก.คลังค้ำประกันเงินกู้)

2.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทอท.) วงเงิน 3,600 ล้านบาท

3.การเคหะแห่งชาติ (กคช.) วงเงิน 1,940 ล้านบาท

4.การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) วงเงิน 2,000 ล้านบาท

5.บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) วงเงิน 2,930 ล้านบาท

6.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงิน 85,000 ล้านบาท (ก.คลังค้ำประกันเงินกู้)

7.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) วงเงิน 6,500 ล้านบาท

8.การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) วงเงิน 4,200 ล้านบาท

9.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงิน 7,516.91 ล้านบาท (ก.คลังค้ำประกันเงินกู้)

10.บริษัท ขนส่ง จำกัด วงเงิน 1,600 ล้านบาท

11.บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด วงเงิน 1,300 ล้านบาท

12.บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) วงเงิน 500 ล้านบาท

13.สำนักงานธนานุเคราะห์ วงเงิน 300 ล้านบาท

แผนการก่อหนี้ใหม่ของหน่วยงานอื่นของรัฐ (หนี้ในประเทศ) 2 แห่ง วงเงินรวม 30,500 ล้านบาท ได้แก่

1.สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) โครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 67 (NR67) เสียมราฐ-อันลองเวง-จวม/สะงำ กัมพูชา วงเงิน 500 ล้านบาท

2.สำนักกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง วงเงิน 30,000 ล้านบาท (ก.คลังค้ำประกันเงินกู้เมื่อมีพระราชกำหนดฯ)

ทั้งนี้ แผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง 5 ปี (ปีงบประมาณ 2566-2570) มีโครงการลงทุนรวม 175 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 898,224.94 ล้านบาท

การจัดทำแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปี 2566 ในครั้งนี้ อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้ พ.ศ. 2561 โดยกระทรวงการคลัง คาดว่า ประมาณการหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ณ สิ้นปีงบฯ 66 จะอยู่ที่ร้อยละ 60.43 ซึ่งไม่เกินร้อยละ 70 ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะ