
18 พฤศจิกา จุดเปลี่ยนสำคัญ “ม็อบราษฎร” แกนนำหลายเวที ถูกดำเนินคดี มาตรา 112
ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา การชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มนิสิต นักศึกษา ได้ขยายตัวไปทั่วทุกภาค ในหลายจังหวัด เพื่อต่อต้านและขับไล่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยยกระดับดีกรีความร้อนแรงมากขึ้น เรื่อย ๆ จากการเริ่มต้นการทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ เรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. หยุดคุกคามประชาชน 2.แก้รัฐธรรมนูญ 3. ยุบสภา
เริ่มตั้งแต่ “อานนท์ นำภา” ทนายความด้านสิทธิมุนษยชน ได้เปิดการชุมนุมในกิจกรรม “เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย” (3 ส.ค.) ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้วยการปราศรัยเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบัน และตามมาด้วยข้อเรียกร้องที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
สัปดาห์ถัดมา (10 ส.ค.) การชุมนุมที่ใช้ชื่อ “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” บริเวณลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งตำรวจประเมินมีผู้เข้าร่วมราว 2,500 โดยมี “รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล” เป็นผู้อ่านข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ที่ว่าด้วยการปฏิรูปสถาบัน
การชุมนุมใหญ่ได้ถูกนัดหมายอีกครั้ง 6 วันถัดมา (16 ส.ค.) ในนาม “คณะประชาชนปลดแอก” ได้ออกแถลงการณ์ยืนยัน 3 ข้อเรียกร้องเดิม ภายใต้ 2 หลักการ และ 1 ความฝัน คือ การมีระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
หลังจากนั้น (19-20 ก.ย.) กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ถูกตอกย้ำและต่อยอดในการชุมนุมรอบใหม่ “19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” เป็นครั้งแรกที่การชุมนุมมีปักหลักค้างคืนที่สนามหลวง
ในเวลาย่ำรุ่ง (20 ก.ย.) ได้จัดทำพิธี “ฝังหมุดคณะราษฎร 2563” ไม่มีการยกระดับข้อเรียกร้องเพิ่มเติม เป็นเพียงการนำเสนอจดหมายเปิดผนึกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบัน ถึงประธานองคมนตรี ผ่าน พล.ต.ท. ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.)
20 กันยา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “คณะราษฎร 2563”
ความชุมนุมครั้งใหม่ ปรากฏขึ้นในนามของ “คณะราษฎร 2563” ที่ประกาศจัดการชุมนุม (14 ต.ค.) ที่ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับเป็นครั้งแรกที่นักศึกษา เยาวชน และประชาชนจากหลากหลายกลุ่มรวมกันเป็นแนวร่วมจัดชุมนุม เคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล ปักหลักค้างคืนอย่างน้อย 3 วัน พร้อมยื่น 3 ข้อเรียกร้องใหม่ คือ
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และองคาพยพ ต้องลาออก
- รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญทันที เพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
- ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย
ในช่วงเช้ามืด (15 ต.ค.) เวลา 04.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน ได้เคลื่อนพลเพื่อแสดงกำลังกดดันผู้ชุมนุมที่ปักหลักค้างคืนอยู่ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลให้ออกจากพื้นที่ ภายหลัง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ลงนามใน “ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร” โดยมีผลตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป
แม้จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ แต่การชุมนุมของมวลชนคณะราษฎรยังเกิดขึ้นอยู่ทุกวันอย่างต่อเนื่อง ตามสถานที่ต่าง ๆ ใจกลางเมือง ย่านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น แยกราชประสงค์ แยกปทุมวัน แยกเกษตร หรือแม้กระทั่ง 5 แยกลาดพร้าว มวลชนมีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันมาโดยตลอด แต่รัฐบาลยังไม่มีการใช้กฏหมายใด ๆ
กระทั่งการชุมนุม (26 ต.ค.) กลุ่มราษฎรได้นัดชุมนุมใหญ่ ประกาศเดินขบวนจากแยกสามย่านไปสถานทูตเยอรมนี เพื่อยื่นข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับสถาบัน และมี “มายด์-ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล” กับพวกอีก 3 คน อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา
กว่าครึ่งเดือนผ่านไป (17-18 พ.ย.) มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมัยสามัญประจำครั้งที่ 2 เพื่อลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ญัติ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่มราษฎร ที่ระบุว่า รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญทันที เพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย
- เปิดไทม์ไลน์แก้รัฐธรรมนูญ 15 เดือน ตั้ง ส.ส.ร. สูตรอำนาจพิเศษ
- ยิ่งชีพ ไอลอว์ กลั้นใจไม่ร้องไห้ ทำหน้าที่สมบูรณ์ เปิดประตูแก้รัฐธรรมนูญ
- ยิ่งชีพ : เล่าละครหน้าบัลลังก์รัฐสภา รัฐธรรมนูญ เรา-เขา ทุกคนก็โดนหลอก
- สส.-สว. ลงมติกดปุ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญ เตรียมตั้ง ส.ส.ร
18 พ.ย. จุดเปลี่ยนสำคัญ “ม็อบราษฎร”
แต่ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ปัดตก “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ไป โดยรับหลักการ 2 จาก 7 ร่าง คือร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน
เป็นเหตุให้ “ม็อบราษฎร” นัดชุมนุมใหญ่ในเย็นวันนั้น (18 พ.ย.) “แยกราชประสงค์” ก่อนเคลื่อนขบวนไปยังบริเวณหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้มีการสาดสี ขีดเขียนทั่วบริเวณ ซึ่งรวมถึงฐานที่ตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย
- ‘ม.จ.จุลเจิม’ ชงใช้ ม.112 จัดการม็อบราษฎรพ่นสี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ประยุทธ์ ประกาศยกระดับใช้กฏหมายทุกฉบับ แจกคดีม็อบราษฎร
ในวันถัดมา (19 พ.ย.) “พล.อ.ประยุทธ์” ได้ออกแถลงการณ์ในนามนายกรัฐมนตรี หลังเห็นว่าการชุมนุมไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลง เตรียมบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ทุกมาตราที่มีอยู่ ดำเนินการต่อผู้ชุมนุมที่กระทำ ความผิด ฝ่าฝืนกฎหมาย
18 พฤศจิกา จึงเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ “ม็อบราษฎร” ที่พาแกนนำหลายเวที ถูกดำเนินดี มาตรา 112 เกิดขึ้น
24 พ.ย. หมายใบแรก แจ้งข้อหาความผิดอาญามาตรา 112 กับ “พริษฐ์ ชิวารักษ์” จากการชุมนุมในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา และจากนั้นแกนนำก็ทยอยได้รับหมายเรียกมาตรา 112 เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อมูลล่าสุด (5 ธ.ค.) ตามรายงานของเว็บไซต์ประชาไท มีแกนนำได้รับหมายเรียก มาตรา 112 รวมแล้ว 17 ราย ดังนี้
ลำดับที่ | รายชื่อ | เหตุแห่งคดี | ข้อหาอื่นประกอบ |
1 | พริษฐ์ ชิวารักษ์ | ยังไม่ทราบ สุเทพ ศิลปะงาม เป็นผู้กล่าวหา | ม.14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2560 |
ปักหมุดคณะราษฎร 2563 19-20 ก.ย. | มาตรา116 ยุยงปลุกปั่น และข้อหาที่เกี่ยวกับการชุมนุมอื่นๆ | ||
ชุมนุมเด็กพูดผู้ใหญ่ฟัง ที่อุบลราชธานี | มาตรา116 ยุยงปลุกปั่น และ ม.14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2560 | ||
ชุมนุม เจาะกะลาตามหาบักคำผาน | มาตรา116 ยุยงปลุกปั่น และ ม.14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2560 | ||
ชุมนุม Mob Fest | มาตรา116 ยุยงปลุกปั่น, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, พ.ร.บ.คุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง | ||
2 | ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง | ปักหมุดคณะราษฎร 2563 19-20 ก.ย. | มาตรา116 ยุยงปลุกปั่น และข้อหาที่เกี่ยวกับการชุมนุมอื่นๆ |
ยังไม่ทราบ ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค แจ้งความ | มาตรา14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2560 | ||
ชุมนุมคนนนท์ท้าชนเผด็จการเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 10 ก.ย. | |||
3 | อานนท์ นำภา | ปักหมุดคณะราษฎร 2563 19-20 ก.ย. | มาตรา116 ยุยงปลุกปั่น และข้อหาที่เกี่ยวกับการชุมนุมอื่นๆ |
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนคาดว่ากรณีการโพสต์จดหมายถึงในหลวง เมื่อ 8 พ.ย. ผู้แจ้งความ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล | มาตรา14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2560 | ||
4 | ภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ | ปักหมุดคณะราษฎร 2563 19-20 ก.ย. | ม.116 ยุยงปลุกปั่น และข้อหาที่เกี่ยวกับการชุมนุมอื่นๆ |
5 | ปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือ หมอลำแบงค์ | ปักหมุดคณะราษฎร 2563 19-20 ก.ย. | มาตรา116 ยุยงปลุกปั่น และข้อหาที่เกี่ยวกับการชุมนุมอื่นๆ |
6 | จตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน | ปักหมุดคณะราษฎร 2563 19-20 ก.ย. | ม.116 ยุยงปลุกปั่น และข้อหาที่เกี่ยวกับการชุมนุมอื่นๆ |
7 | ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ | ไล่ขี้ข้าศักดินา ที่หน้ารัฐสภา | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
ชุมนุมที่หน้าสถานฑูตเยอรมัน | ม.116 ยุยงปลุกปั่น | ||
8 | จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ หรือ อั๋ว | ไล่ขี้ข้าศักดินา ที่หน้ารัฐสภา | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
9 | ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี หรือฟอร์ต | ไล่ขี้ข้าศักดินา ที่หน้ารัฐสภา | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
10 | เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ หรือบิ๊ก | ไล่ขี้ข้าศักดินา ที่หน้ารัฐสภา | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
11 | ชนินทร์ วงษ์ศรี | ไล่ขี้ข้าศักดินา ที่หน้ารัฐสภา | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
ชุมนุมที่หน้าสถานฑูตเยอรมัน | ม.116 ยุยงปลุกปั่น | ||
12 | วัชรากร ไชยแก้ว | ชุมนุมที่หน้าสถานฑูตเยอรมัน | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
13 | เบนจา อะปัญ | ชุมนุมที่หน้าสถานฑูตเยอรมัน | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
14 | รวิสรา เอกสกุล หรือ เดียร์ | ชุมนุมที่หน้าสถานฑูตเยอรมัน | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
15 | ชลธิศ โชติสวัสดิ์ | ชุมนุมที่หน้าสถานฑูตเยอรมัน | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
16 | ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา | ชุมนุมที่หน้าสถานฑูตเยอรมัน | ม.116 ยุยงปลุกปั่น |
17. | ชินวัตร จันทร์กระจ่าง หรือ ไบรท์ | ชุมนุมคนนนท์ท้าชนเผด็จการเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 10 ก.ย. |
|
8 ธ.ค. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้แจ้งต่อสาธารณชนว่า แกนนำม็อบราษฎร เตรียมเข้ารับทราบข้อกล่าวหาคดี 112 ในอีก 3 คดี ของ 3 สถานีตำรวจ
เวลา 09.30 น. ที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ นักกิจกรรม/นักศึกษาจำนวน 9 ราย นำโดย ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล จะเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 ในคดีการชุมนุมที่หน้าสถานทูตเยอรมนี (26 ต.ค.) หลังก่อนหน้านี้มีการแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ต่อผู้กล่าวปราศรัยและผู้อ่านแถลงการณ์ในภาษาต่าง ๆ ไปแล้วจำนวน 9 ราย ต่อมาตำรวจได้ออกหมายเรียกในข้อหามาตรา 112 เพิ่มเติม
เวลา 10.00 น. ที่ สภ.เมืองนนทบุรี 4 แกนนำคณะราษฎร ได้แก่ ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และพริษฐ์ ชิวารักษ์ จะเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม ในคดีการชุมนุมคนนนท์ไม่ทนเผด็จการ ที่ท่าน้ำนนทบุรี (10 ก.ย.)
เวลา 13.00 น. ที่ สน.ชนะสงคราม จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และสมยศ พฤกษาเกษมสุข จะเข้ารับทราบข้อหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม ในคดีการชุมนุม 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ท้องสนามหลวง (19-20 ก.ย.)
การชุมนุมของม็อบราษฎรตลอดระยะเวล 5 เดือน สู่จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ฝ่ายความมั่นคง ต้องกลับไปหยิบกฏหมายอาญา มาตรา 112 ออกมาบริหารจัดการอีกครั้ง ซึ่งอาจนำไปสู่จุดเปลี่ยนทางการเมืองใหม่…อีกครั้ง