งบประมาณ 2566 : เปิด 10 กระทรวง ได้เงินมากที่สุด

ประยุทธ์ สภา

เปิดรายละเอียด กระทรวงใด-หน่วยงานใด ได้รับการจัดสรรงบประมาณในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มากที่สุด

วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาผู้แทนราษฎร เริ่มเปิดอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 วงเงินกว่า 3.185 ล้านล้านบาท กำหนดพิจารณา 3 วัน คือตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน 2565 ก่อนที่จะลงมติ จาก ส.ส.ในสภาด้วยจำนวน ส.ส.ที่มีอยู่ 476 คน ฝ่ายรัฐบาลมี 268 คน ฝ่ายค้านมี 208 คน

โครงสร้างงบประมาณ

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 จำนวน 3,185,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85,000 ล้านบาท จากปีงบประมาณ พ.ศ 2565 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 โดยวงเงินงบประมาณดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.79 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

  • งบประมาณรายจ่าย อยู่ที่ 2,396,942.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 23,932.7 ล้านบาท
  • รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ (ปี 2565 ตั้งไว้จำนวน 596.7 ล้านบาท)
  • รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ (ปี 2565 ตั้งไว้จำนวน 24,978.6 ล้านบาท)
  • รายจ่ายลงทุน กำหนดไว้เป็นจำนวน 695,077.4 ล้านบาท กำหนดไว้เป็นจำนวน 695,077.4 ล้านบาท
  • รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ได้จัดสรรไว้เป็นจำนวน 100,000 ล้านบาท เท่ากับ ปีงบประมาณ 2565

6 กลุ่มงบประมาณ

จำแนกตามกลุ่มงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิธีการ งบประมาณ พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย

    1. งบประมาณรายจ่ายงบกลาง กำหนดไว้เป็นจำนวน 590,470.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 18.6 ของวงเงินงบประมาณ
    2. งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ กำหนดไว้เป็นจำนวน 1,090,329.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.2 ของวงเงินงบประมาณ
    3. งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ กำหนดไว้เป็นจำนวน 218,477.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 6.9 ของวงเงินงบประมาณ
    4. งบประมาณรายจ่ายบุคลากร กำหนดไว้เป็นจำนวน 772,119.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 24.2 ของวงเงินงบประมาณ
    5. งบประมาณ รายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน กำหนดไว้เป็นจำนวน 206,985.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของวงเงินงบประมาณ
    6. งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ กำหนดไว้เป็นจำนวน 306,618.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.6 ของวงเงินงบประมาณ

แบ่งตาม 6 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงินทั้ง 3,185,000.0  ล้านบาท ประกอบด้วยแผนงานรวม 61 แผนงาน เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีความสุข ประเทศ มีความมั่นคงในทุกมิติ ทุกระดับ ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ดังนี้

    1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง จำนวน 296,003.6 ล้านบาท ร้อยละ 9.3 ของวงเงินงบประมาณ
    2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 396,125.5 ล้านบาท ร้อยละ 12.4 ของวงเงินงบประมาณ
    3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 549,514.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของวงเงินงบประมาณ
    4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม จำนวน 759,861.3 ล้านบาท ร้อยละ 23.9 ของวงเงินงบประมาณ
    5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 122,964.9 ล้านบาท ร้อยละ 3.9 ของวงเงินงบประมาณ
    6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 658,012.7 ล้านบาท ร้อยละ 20.7 ของวงเงินงบประมาณ

กระทรวง-หน่วยงาน ได้งบประมาณเท่าไร

งบประมาณ จำนวน 3,185,000 ล้านบาท รัฐได้จำแนกตามกระทรวง และหน่วยงาน จำนวน 32 หน่วยงาน โดยมีกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบเกินแสนล้านบาท คือ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรียงจากหน่วยงานมากที่สุดไปน้อย ดังนี้

    1. งบกลาง จำนวน 590,470.0 ล้านบาท ร้อยละ 18.5 ของวงเงินงบประมาณ
    2. กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 325,900.2 ล้านบาท ร้อยละ 10.2 ของวงเงินงบประมาณ
    3. กระทรวงมหาดไทย จำนวน 325,578.9 ล้านบาท ร้อยละ 10.2 ของวงเงินงบประมาณ
    4. กระทรวงการคลัง จำนวน 285,230.4 ล้านบาท ร้อยละ 9.0 ของวงเงินงบประมาณ
    5. ทุนหมุนเวียน จำนวน 206,985.6 ล้านบาท ร้อยละ 6.5 ของวงเงินงบประมาณ
    6. กระทรวงกลาโหม จำนวน 197,292.7 ล้านบาท ร้อยละ 6.2 ของวงเงินงบประมาณ
    7. กระทรวงคมนาคม จำนวน 180,502.0 ล้านบาท ร้อยละ 5.7 ของวงเงินงบประมาณ
    8. รัฐวิสาหกิจ จำนวน 162,989.7 ล้านบาท ร้อยละ 5.1 ของวงเงินงบประมาณ
    9. กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 156,408.7 ล้านบาท ร้อยละ 4.9 ของวงเงินงบประมาณ
    10. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 126,067.1 ล้านบาท ร้อยละ 4.0 ของวงเงินงบประมาณ
    11. ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี จำนวน 125,257.9 ล้านบาท ร้อยละ 3.9 ของวงเงินงบประมาณ
    12. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 124,748.2 ล้านบาท ร้อยละ 3.9 ของวงเงินงบประมาณ
    13. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 81,180.3 ล้านบาท ร้อยละ 2.5 ของวงเงินงบประมาณ
    14. กระทรวงแรงงาน จำนวน 54,338.5 ล้านบาท ร้อยละ 1.7 ของวงเงินงบประมาณ
    15. สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 32,477.8 ล้านบาท ร้อยละ 1 ของวงเงินงบประมาณ
    16. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 30,638.6 ล้านบาท คิดเป็น 1.0 ของวงเงินงบประมาณ
    17. กระทรวงยุติธรรม จำนวน 24,693.9 ล้านบาท ร้อยละ 0.8 ของวงเงินงบประมาณ
    18. กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 24,626.9 ล้านบาท ร้อยละ 0.8 ของวงเงินงบประมาณ
    19. หน่วยงานของศาล จำนวน 22,959.5 ล้านบาท ร้อยละ 0.7 ของวงเงินงบประมาณ
    20. จังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำนวน 21,727.7 ล้านบาท ร้อยละ 0.7 ของวงเงินงบประมาณ
    21. หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ จำนวน 19,085.0 ล้านบาท ร้อยละ 0.6 ของวงเงินงบประมาณ
    22. สภากาชาดไทย จำนวน 8,854.0 ล้านบาท ร้อยละ 0.3 ของวงเงินงบประมาณ
    23. ส่วนราชการในพระองค์ จำนวน 8,611.7 ล้านบาท ร้อยละ 0.3 ของวงเงินงบประมาณ
    24. หน่วยงานของรัฐสภา จำนวน 7,752.2 ล้านบาท ร้อยละ 0.3 ของวงเงินงบประมาณ
    25. กระทรวงการต่างประเทศ จำนวน 7,556.5 ล้านบาท ร้อยละ 0.2 ของวงเงินงบประมาณ
    26. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 6,822.1 ล้านบาท ร้อยละ 0.2 ของวงเงินงบประมาณ
    27. กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 6,748.0 ล้านบาท ร้อยละ 0.2 ของวงเงินงบประมาณ
    28. กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 6,489.5 ล้านบาท ร้อยละ 0.2 ของวงเงินงบประมาณ
    29. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 5,330.8 ล้านบาท ร้อยละ 0.2 ของวงเงินงบประมาณ
    30. กระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 4,490.8 ล้านบาท ร้อยละ 0.1 ของวงเงินงบประมาณ
    31. กระทรวงพลังงาน จำนวน 2,707.4 ล้านบาท ร้อยละ 0.1 ของวงเงินงบประมาณ
    32. หน่วยงานอื่นของรัฐ จำนวน 477.4 ล้านบาท ร้อยละ 0.01 ของวงเงินงบประมาณ

ขณะที่ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้ตัดงบประมาณในส่วนนี้ออกไป

10 กระทรวง ได้เงินมากที่สุด

    1. กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 325,900.2 ล้านบาท ร้อยละ 10.2 ของวงเงินงบประมาณ ลดลงจากปีก่อน -4,526.4 ล้านบา หรือ ร้อยละ -1.4  ของวงเงินงบประมาณ
    2. กระทรวงมหาดไทย จำนวน 325,578.9 ล้านบาท ร้อยละ 10.2 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10,065.8 ล้านบาท ร้อยละ 3.2  ของวงเงินงบประมาณ 
    3. กระทรวงการคลัง จำนวน 285,230.4 ล้านบาท ร้อยละ 9.0 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 11,627.6 ล้านบาท ร้อยละ 4.2 ของวงเงินงบประมาณ 
    4. กระทรวงกลาโหม จำนวน 197,292.7 ล้านบาท ร้อยละ 6.2 ของวงเงินงบประมาณ ลดลงจากเดิม -4,373.7 ล้านบาท ร้อยละ -2.2 ของวงเงินงบประมาณ 
    5. กระทรวงคมนาคม จำนวน 180,502.0 ล้านบาท ร้อยละ 5.7 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากเดิม 7,337.7 ล้านบาท ร้อยละ 4.2 ของวงเงินงบประมาณ 
    6. กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 156,408.7 ล้านบาท ร้อยละ 4.9 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มจากเดิม 2,379.4 ล้านบาท ร้อยละ 1.5 ของวงเงินงบประมาณ 
    7.  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 126,067.1 ล้านบาท ร้อยละ 4.0 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากเดิม 16,214.5 ล้านบาท ร้อยละ 14.8 ของวงเงินงบประมาณ
    8. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 124,748.2 ล้านบาท ร้อยละ 3.9 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากเดิม 1,301.6 ล้านบาท ร้อยละ 1.1 ของวงเงินงบประมาณ
    9. กระทรวงแรงงานจำนวน 54,338.5 ล้านบาท ร้อยละ 1.7 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากเดิม 4,636.6 ล้านบาท ร้อยละ 9.3 ของวงเงินงบประมาณ
    10. สำนักนายกรัฐมนตรีจำนวน 32,477.8 ล้านบาท ร้อยละ 1 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากเดิม 464 ล้านบาท ร้อยละ 1.5 ของวงเงินงบประมาณ

4 พรรคร่วม งบเพิ่มทุกกระทรวง

อย่างไรก็ตาม กระทรวงที่มีพรรคร่วมรัฐบาล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทั้ง 8 กระทรวง จาก 4 คือ พรรคภูมิใจไทยที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูลนั่งหัวหน้าพรรค พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์นั่งหัวหน้าพรรค พรรคชาติไทยพัฒนา ที่มี นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา เป็นหัวพรรค และมีนายวราวุธ ศิลปอาชา นั่งเป็นรัฐมนตรี รวมถึงพรรครวมพลัง (รวมพลังประชาชาติไทย) เดิม ที่มีนาย เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรค

พรรคภูมิใจไทย ที่กำกับดูแล 3 กระทรวงได้แก่ กระทรวงคมนาคม เพิ่มขึ้น 4.2% จากปี 2565 กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มขึ้น 1.5% จากปี 2565 และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพิ่มขึ้น 4.7% จากงบปี 2565

ขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ที่กำกับดูแล 3 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มขึ้น 14.8% จากปี 2565 กระทรวงพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 2.3% จากปี 2565 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 24,626,9 ล้านบาท

ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา กำกับดูแล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 30,638.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากงบปี 2565 เช่นเดียวกับพรรครวมพลัง (รวมพลังประชาชาติไทยเดิม) ที่กำกับดูแล กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 124,748.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.1% จากงบปี 2565