
สงครามยูเครน-รัสเซียจะจบอย่างไร มอง 5 ฉากทัศน์ความเป็นไปได้ขัดแย้งสองชาติ
วันที่ 4 มีนาคม 2565 ท่ามกลางหมอกแห่งสงครามรัสเซีย ยูเครน ที่ปะทุขึ้นเป็นเวลาล่วงมากกว่าสัปดาห์ กระแสข่าวจากสนามรบ เสียงปืน ขีปนาวุธจากแนวหน้าที่ดังกล่าวเสียงเจรจาทางการทูต ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ท่ามกลางความขัดแย้งของทั้งสองชาติจะดำเนินไปจนถึงจุดไหน และจะสิ้นสุดอย่างไร
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่กระบวนการด้านการทูตจะทำให้ “ปากกาคมกว่ากระบอกปืน” แม้ไม่อาจคาดการณ์สถานในอนาคตได้อย่างแม่นย่ำ แต่นี่คือฉากทัศน์ตามบทวิเคราะห์จาก BBC ที่พอจะเป็นไปได้ของความขัดแย้งสองชาติในขณะนี้ แต่ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด ผลลัพธ์ล้วนบอบช้ำทั้งสองฝ่าย
สงครามระยะสั้น
ภายใต้สถานการณ์ที่รัสเซียเดินทัพพร้อมสรรพกำลังทหารของตน ทั้งปืนใหญ่รถถังและระดมขีปนาวุธโจมตีทั่วยูเครน ก่อนหน้านี้กองทัพอากาศรัสเซียแทบไม่มีบทบาทในการโจมตี ทว่าตอนนี้ รัสเซียเปิดเกมรุกด้วยการใช้กองทัพอากาศเข้าโจมตียูเครน ไปพร้อม ๆ กับเปิดฉากโจมตีไซเบอร์ มุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ แหล่งพลังงานและเครือข่ายสื่อสารถูกตัดขาด
พลเรือนไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บ แม้ชาวยูเครนในกรุงเคียฟจะต้านทานอย่างกล้าหาญมานานถึงสัปดาห์ แต่เชื่อว่าภายในไม่กี่วันหลังจากนี้ รัสเซียจะพิชิตกรุงเคียฟได้ในที่สุด รัฐบาลเซเลสกีอาจต้องหลบลี้หนีภัยตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ส่วนยูเครนก็จะได้รัฐบาลหุ่นเชิดเครมลิน ประธานาธิบดีปูตินถอนกำลังบางส่วนกลับ เหลือไว้เพียงบางส่วนเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัย แต่จะมีผู้ลี้ภัยชาวยูเครนไม่น้อยที่หนีไปยุโรปตะวันตก
ผลลัพธ์นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่อาจเปลี่ยนแปลง เช่น กองกำลังของรัสเซียมีศักยภาพโจมตีมากขึ้น พร้อมจำนวนทหารที่เพิ่มขึ้น ขวัญกำลังใจชาวยูเครนเริ่มหายไป ปูตินอาจบรรลุการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในเคียฟ แต่รัฐบาลหุ่นเชิดที่สนับสนุนรัสเซียจะผิดกฎหมายและเสี่ยงต่อการก่อความไม่สงบในประเทศระยะยาว ผลลัพธ์ดังกล่าวจะยังคงไม่เสถียรและโอกาสที่ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นอีกครั้งก็จะมีสูง
สงครามยืดเยื้อ
อาจเป็นไปได้มากกว่าที่สิ่งนี้จะพัฒนาไปสู่สงครามยาวนานยืดเยื้อ กองกำลังของรัสเซียอาจถูกชาวยูเครนบดที่ขวัญกำลังใจดีกว่าบดขยี้ อาจใช้เวลานานกว่าที่รัสเซียคิดไว้ว่าจะยึดกรุงเคียฟอย่างง่ายดาย นำไปสู่การปิดล้อมที่ยาวนานขึ้น การสู้รบลักษณะนี้สะท้อนถึงการต่อสู้อันโหดร้ายและยาวนานของรัสเซียในช่วงทศวรรษ 1990 เพื่อยึดและทำลายเมืองกรอซนีย์ เมืองหลวงของเชชเนียเป็นส่วนใหญ่
และแม้ว่ารัสเซียอาจยึดเมืองหลักอื่น ๆ ของยูเครนได้แต่ก็ไม่อาจประสบปัญหาการจัดส่งหรือผลัดเปลี่ยนกำลังพลในยูเครนซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ กองทัพยูเครนอาจเคลื่อนไหวระบบแบบขบวนการใต้ดิน ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า มีขวัญกำลังใจดีกว่า และยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวยูเครน
ขณะที่ชาติตะวันตกก็คอยมอบอาวุธให้ยูเครนสู้รบต่อไป การต่อสู้อาจยืดเยื้อไปจนกว่าจะเกิดแรงกระเพื่อมภายในทำเนียบเครมลินที่รัสเซียได้ผู้นำคนใหม่ ก่อนจะยอมถอยและจบด้วยความพ่ายแพ้ ดังเช่นกรณีสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน ปี 1989

ปูตินถูกโค่นล้ม
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่ใช่ชาวรัสเซียทุกคนจะหนุนสงครามและสนับสนุนวลาดิมีร์ ปูติน รายงานข่าวพบว่า หลายเมืองใหญ่ของรัสเซีย ทั้งกรุงมอสโก และนครเซนปีเตอร์สเบิร์ก มีชาวรัสเซียจำนวนไม่น้อยหาญกล้าออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านผู้นำ แม้ว่าสุดท้ายจะจบลงด้วยผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวจะถูกจำคุกก็ตาม
ศาสตราจารย์เซอร์ ลอว์เรนซ์ ฟรีดแมน ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านสงครามศึกษาที่คิงส์คอลเลจ ลอนดอน ให้ความเห็นว่า “ตอนนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบอบการปกครองในมอสโกเช่นเดียวกับในเคียฟ” อาจาย์ฟรีดแมนอธิบายเพิ่มว่า ตัวปูตินเองก็เป็นหายนะสงคราม ทหารรัสเซียหลายพันนายต้องเสียชีวิต
การคว่ำบาตรกัดกินเศรษฐกิจรัสเซีย ปูตินสูญเสียการสนับสนุนจากประชาชน บางทีอาจมีการคุกคามของการปฏิวัติมวลชน อาจเกิดกระแสคลื่นใต้น้ำภายในการเมืองเครมลิน โดยเฉพาะจากสมาชิกระดับสูงในกองทัพ และนักธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ
หากปูตินถูกโค่นลงจากอำนาจ ตะวันตกอาจผ่อนคลายการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ทั้งฟื้นสัมพันธ์ทางการทูต แต่อย่างไรก็ตาม นั่นอาจแลกมาด้วยการรัฐประหารนองเลือดภายในรัสเซีย อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเชื่อว่ารูปแบบนี้อาจเป็นไปได้ยากในขณะนี้

สงครามยุโรป
หากสถานการณ์ความรุนแรงในยูเครน ลุกลามออกมานอกพรมแดนยุโรป ปูตินอาจใช้โอกาสนี้ฟื้นอิทธิพลในพื้นที่เดิมของสหภาพโวเวียต ด้วยการส่งออกกำลังไปยังรัฐเก่าของโซเวียตอยาง มอลโดวา และจอร์เจีย ซึ่งทั้งสองยังไม่ใช่ส่วนหนึ่งของนาโต และนั่นจะยิ่งเป็นการแผ่ขยายความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโตลุกลามบานปลายเป็นสงครามขัดแย้งหลายพื้นที่ของยุโรป
นี่อาจเป็นอันตรายอย่างมหาศาลและเสี่ยงต่อการทำสงครามกับนาโต ภายใต้มาตรา 5 ของกฎบัตรพันธมิตรทางทหารของนาโตที่ว่า หากชาติสมาชิกถูกโจมตี เท่ากับชาตินาโตทั้งหมดถูกโจมตี แต่ปูตินอาจเสี่ยงหากเขารู้สึกว่านี่เป็นวิธีเดียวที่จะรักษาความเป็นผู้นำของเขาไว้ได้ หากเขาต้องเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้ในยูเครน เขาอาจถูกล่อลวงให้บานปลายออกไปอีก
ตอนนี้เราทราบแล้วว่า ผู้นำรัสเซียเต็มใจที่จะทำลายบรรทัดฐานระหว่างประเทศที่มีมายาวนาน ตรรกะนี้สะท้อนได้จากการที่ปูตินสั่งให้กองยุทธการณ์นิวเคลียร์อยู่ในระดับ “เตรียมพร้อมสูงสุด” นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ตั้งข้อสงสัยว่านี่อาจเป็นแนวโน้มความรุนแรงทีอาจมาถึง ทั้งเป็นเครื่องเตือนใจชาติตะวันตกว่า รัสเซียกล้าบ้าบิ่นพอที่จะเปิดสงครามนิวเคลียร์
เจรจาทางการทูต
ภายใต้เสียงกระบอกปืนที่ดังกว่าเสียงเจรจาบนโต๊ะการทูต เป็นไปได้หรือไม่ที่เส้นทางการเจรจายังคงเปิดอยู่แม้เสียงปืนยังดังระงม ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสได้พูดคุยกับประธานาธิบดีปูตินทางโทรศัพท์ นักการทูตกล่าวว่าความรู้สึกกำลังถูกขยายออกไปที่มอสโก และน่าประหลาดใจที่เจ้าหน้าที่ของรัสเซียและยูเครนได้พบปะเพื่อพูดคุยเรื่องพรมแดนกับเบลารุส แม้อาจไม่มีความคืบหน้ามากนัก แต่อย่างน้อย ดูเหมือนว่าปูตินจะยอมรับความเป็นไปได้ของการเจรจาหยุดยิง
คำถามสำคัญคือ ชาติตะวันตกสามารถเสนอสิ่งที่เรียกว่า “การทูตแบบ off-ramp” เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์นี้ การยื้อทำสงครามไปยิ่งไม่ดีสำหรับรัสเซีย มาตรการคว่ำบาตรเริ่มทำให้มอสโกไม่สงบ ปูตินจะกลายเป็นผู้นำที่น่าอับอายหากแพ้สงคราม จีนอาจเข้าแทรกแซง กดดันมอสโกให้ประนีประนอม โดยใช้คำขู่เรื่องการซื้อก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของรัสเซีย ปูตินจึงอาจเริ่มมองหาทางลง
ในขณะเดียวกันทางการยูเครนเห็นว่าประเทศของตนถูกทำลายอย่างต่อเนื่องและสรุปได้ว่าการประนีประนอมทางการเมืองอาจดีกว่าการสูญเสียชีวิตที่ร้ายแรงเช่นนี้
ดังนั้นนักการทูตจึงมีส่วนร่วมและทำข้อตกลงเสร็จสิ้น ยูเครนยอมรับอธิปไตยของรัสเซียเหนือไครเมียและบางส่วนของแคว้นดอนบาส ในทางกลับกัน ปูตินยอมรับเอกราชของยูเครนและสิทธิ์ในการกระชับความสัมพันธ์กับยุโรป นี้อาจดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่มันไม่ได้อยู่นอกเหนือขอบเขตของความเป็นไปได้ที่สถานการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากซากปรักหักพังของความขัดแย้งนองเลือด