6 ท่ายืดออกกำลังกาย ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม
PIXABAY
คอลัมน์ : สุขภาพดีกับรามาฯ
ผู้เขียน : อ.นพ.เตชิต จิระวิชิตชัย 
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ท่าที่ 1

– มือประสานเหนือท้ายทอย หลังตรง ไม่เกร็งคอ

– กดศีรษะให้คอก้มลงจนตึงบริเวณหลังคอ

– นับ 1-10 ช้า ๆ แล้วค่อย ๆ ผ่อนมือออก

ท่าที่ 2

– ใช้มือข้างขวาจับขอบเก้าอี้และใช้มือซ้ายอ้อมหลังศีรษะด้านขวา กดลงมาจนรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อคอและบ่าขวา

– นับ 1-10 ช้า ๆ แล้วค่อย ๆ ผ่อนมือออก

– ทำสลับกับอีกข้าง

ออกกำลังกาย

ท่าที่ 3

– ยกแขนขวาไปด้านซ้ายในท่าเหยียด ศอกตรง

– เอามือซ้ายงอศอก ดันแขนขวาบริเวณเหนือศอกเข้าหาลำตัวมากขึ้น

– นับ 1-10 ช้า ๆ ค่อย ๆ ผ่อนมือออก

– ทำสลับกับอีกข้าง

ท่าที่ 4

– ยกแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะ

– งอศอกขวาจนมือขวาแตะไหล่ซ้าย

– ใช้มือซ้ายดันศอกขวาเข้าหาตัวค้างไว้

– นับ 1-10 ช้า ๆ

– ทำสลับกับอีกข้าง

ท่าที่ 5

– เหยียดแขนขวาไปด้านหน้า

– กระดกข้อมือขึ้นใช้มือซ้ายดันบริเวณนิ้ว เพื่อกระดกข้อมือขึ้นเข้าหาตัวจนรู้สึกตึง

– นับ 1-10 ช้า ๆ

– ทำสลับกับอีกข้าง

ท่าที่ 6

– เหยียดแขนขวาไปด้านหน้า

– กระดกข้อมือลงใช้มือซ้ายดันบริเวณหลังมือ เพื่อกระดกข้อมือลงเข้าหาตัวจนรู้สึกตึง

– นับ 1-10 ช้า ๆ

– ทำสลับกับอีกข้าง

ข้อควรระวัง

-ไม่ควรยืดกล้ามเนื้อขณะมีอาการอักเสบมาก (ปวด บวม แดง ร้อน)

-ขณะนับ 1 -10 ไม่ควรกลั้นหายใจ อาจใช้การออกเสียงเพื่อหลีกเลี่ยงการกลั้นหายใจ

-ยืดจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ เพราะถ้ายืดจนเจ็บอาจยิ่งอักเสบมากขึ้นได้

-หากมีอาการชา อ่อนแรงร่วมกับการปวด ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนเพิ่มเติม

หมายเหตุ : อ.นพ.เตชิต จิระวิชิตชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล