ฝรั่งเศสเลือกตั้งประธานาธิบดีในไทยด้วย ดีเดย์ 10 เม.ย. โพลชี้ มาครง-เลอแปน สูสี

มาครง-เลอแปน
PHOTO : REUTERS

ฝรั่งเศสเลือกตั้งประธานาธิบดีในไทย ซึ่งจะจัดขึ้น 2 รอบ ดีเดย์ 10 เมษายน 2565

วันที่ 7 เมษายน 2565 สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย เผยแพร่ข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปี 2565 ในประเทศไทย ดังนี้

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศสในปี 2565 จะจัดขึ้น 2 รอบ

– รอบที่ 1 วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2565 (มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 12 คน ตามรายชื่อแนบท้าย)
– รอบที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2565 (ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2 คนที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการเลือกตั้งรอบที่ 1)

สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในประเทศไทย หน่วยเลือกตั้งจะเปิดให้ลงคะแนนตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. โดยมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งทั้งหมด 9,340 คน จากจำนวนชาวฝรั่งเศส 13,536 คนที่ขึ้นทะเบียนกับฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ทั้งนี้ คาดว่าชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีจำนวนทั้งหมดราว 35,000-40,000 คน

เลือกตั้งฝรั่งเศส
PHOTO :AFP

หน่วยเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในประเทศไทยมีจำนวนทั้งหมด 7 หน่วย ได้แก่

  • หน่วยเลือกตั้งที่ 1 และ 2 สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

ตั้งอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เขตบางรัก กรุงเทพฯ เป็นหน่วยเลือกตั้งสำหรับชาวฝรั่งเศสที่ลงทะเบียนเลือกตั้งและมีถิ่นพำนักในจังหวัดดังต่อไปนี้

1. อ่างทอง
2. พระนครศรีอยุธยา
3. กรุงเทพมหานคร
4. ฉะเชิงเทรา
5. ชุมพร
6. กาญจนบุรี
7. ลพบุรี
8. นครนายก
9. นครปฐม
10. นนทบุรี
11. ปทุมธานี
12. เพชรบุรี
13. ปราจีนบุรี
14. ประจวบคีรีขันธ์
15. ราชบุรี
16. สระแก้ว
17. สมุทรปราการ
18. สมุทรสาคร
19. สมุทรสงคราม
20. สระบุรี
21. สิงห์บุรี
22. สุพรรณบุรี

  • หน่วยเลือกตั้งที่ 3 เชียงใหม่

ตั้งอยู่ที่สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน่วยเลือกตั้งสำหรับชาวฝรั่งเศสที่ลงทะเบียนเลือกตั้งและมีถิ่นพำนักในจังหวัดดังต่อไปนี้
1. ชัยนาท
2. เชียงใหม่
3. เชียงราย
4. กำแพงเพชร
5. ลำปาง
6. ลำพูน
7. แม่ฮ่องสอน
8. นครสวรรค์
9. น่าน
10. พะเยา
11. พิจิตร
12. พิษณุโลก
13. แพร่
14. สุโขทัย
15. ตาก
16. อุทัยธานี
17. อุตรดิตถ์

  • หน่วยเลือกตั้งที่ 4 พัทยา

ตั้งอยู่ที่โรงเรียนฝรั่งเศสนานาชาติ พัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นหน่วยเลือกตั้งสำหรับชาวฝรั่งเศสที่ลงทะเบียนเลือกตั้งและมีถิ่นพำนักในจังหวัดดังต่อไปนี้

1. จันทบุรี
2. ชลบุรี
3. ระยอง
4. ตราด

  • หน่วยเลือกตั้งที่ 5 ภูเก็ต

ตั้งอยู่ที่สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศส ประจำจังหวัดภูเก็ต อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เป็นหน่วยเลือกตั้งสำหรับชาวฝรั่งเศสที่ลงทะเบียนเลือกตั้งและมีถิ่นพำนักในจังหวัดดังต่อไปนี้

1. กระบี่
2. นครศรีธรรมราช
3. นราธิวาส
4. ปัตตานี
5. พังงา
6. พัทลุง
7. ภูเก็ต
8. ระนอง
9. สตูล
10. สงขลา
11. ตรัง
12. ยะลา

  • หน่วยเลือกตั้งที่ 6 ขอนแก่น

ตั้งอยู่ที่สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศส ประจำจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นหน่วยเลือกตั้งสำหรับชาวฝรั่งเศสที่ลงทะเบียนเลือกตั้งและมีถิ่นพำนักในจังหวัดดังต่อไปนี้

1. อำนาจเจริญ
2. บุรีรัมย์
3. ชัยภูมิ
4. กาฬสินธุ์
5. ขอนแก่น
6. เลย
7. มหาสารคาม
8. มุกดาหาร
9. นครพนม
10. นครราชสีมา
11. หนองบัวลำภู
12. หนองคาย
13. เพชรบูรณ์
14. ร้อยเอ็ด
15. สกลนคร
16. ศรีสะเกษ
17. สุรินทร์
18. อุบลราชธานี
19. อุดรธานี
20. ยโสธร
21. บึงกาฬ

  • หน่วยเลือกตั้งที่ 7 เกาะสมุย

ตั้งอยู่ที่สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศส ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยเลือกตั้งสำหรับชาวฝรั่งเศสที่ลงทะเบียนเลือกตั้งและมีถิ่นพำนักในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สำหรับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศสในปี 2565 มี 12 คน ดังนี้

– นางนาตาลี อาร์โต (Nathalie Arthaud)
– นายฟาเบียง รูแซล (Fabien Roussel)
– นายเอมานูว์แอล มาครง (Emmanuel Macron)
– นายฌ็อง ลาซาล (Jean Lassalle)
– นางมารีน เลอ แปน (Marine Le Pen)
– นายเอริก แซมูร์ (Éric Zemmour)
– นายฌ็อง-ลุก เมล็องชง (Jean-Luc Mélenchon)
– นางอาน อีดาลโก (Anne Hidalgo)
– นายอียานิก ฌาโด (Yannick Jadot)
– นางวาเลรี เปแคร็ส (Valérie Pécresse)
– นายฟีลิป ปูตู (Philippe Poutou)
– นายนีกอลา ดูว์ปง-แอญ็อง (Nicolas Dupont-Aignan)

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานผลสำรวจความนิยมผู้สมัครล่าสุดจากโพลของ Ipsos Sopra Steria Cevipof ที่ทำให้หนังสือพิมพ์ เลอ มงด์ พบว่า นายมาครงจะเอาชนะนางเลอแปนได้ แม้ว่านักการเมืองหญิงฝ่ายขวาเริ่มมีกระแสโกยคะแนนนิยมมากขึ้นช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา


โพลดังกล่าวชี้ว่า นายมาครงจะเฉือนชนะนางเลอแปนในการเลือกตั้งรอบแรกวันที่ 10 เม.ย. ที่ 26.5% ต่อ 21.5% ช่องว่างแคบลงจากโพลครั้งก่อน วันที่ 21-24 มี.ค. ที่ 28% ต่อ 17.5% ส่วนการเลือกตั้งรอบสอง รอบตัดสิน นายมาครงจะเอาชนะนางเลอเปน วันที่ 24 เม.ย. ที่ 54% ต่อ 46%