ศุภชัย เจียรวนนท์ “ซี.พี.แนะเอสเอ็มอีพลิกวิกฤตสู้โควิด”

ศุภชัย เจียรวนนท์

“ซี.พี.” โมเดลต้นแบบปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจสู้วิกฤต แนะเอสเอ็มอีพลิกสร้างโอกาส ชูจุดแข็งสินค้าที่มีศักยภาพลุยตลาดเป้าหมายจีน-อินเดีย ย้ำหลังโควิด “ทรัพยากรบุคคล-ข้อมูล” เป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุด แนะรัฐ “ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ” ดึงลงทุนสู่ EEC-SEC เร่งอัพเกรดเทคโนโลยี ปั้นไทยเป็นฮับการศึกษา หนุนสตาร์ตอัพ 

วันที่ 29 กันยายน 2564 “นายศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ CP บรรยายพิเศษในหัวข้อ ธุรกิจ-สังคม สร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าภัยโควิด” ในงานสัมมนา “สร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าภัยโควิด” ที่จัดโดย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงยุคโควิดในมุมมองของตนนั้น ว่า ในต่างประเทศอย่างอเมริกา ยุโรปเข้าระยะ 3 คือ การเริ่มฟื้นตัว ส่วนตอนนี้ประเทศไทยน่าจะพ้นระยะที่ 2 มาแล้วยังอยู่ในภาวะที่ยังไม่ใช่ระยะ 3 เพราะติดปัญหาเรื่องของวัคซีนว่าทำยังไงให้ฉีดได้ถึง 70-80% ของประชากรให้เร็วที่สุด 

สำหรับโควิด-19 เครือ ซี.พี.เป็นอะไรที่สาหัสไหมนั้นเรียกว่ากระทบทุกองค์กร แต่อาหารน่าจะกระทบน้อยที่สุด แต่เราจะเห็นผลกระทบได้อีกไม่เกิน 5 ปี สิ่งที่ต้องทำคือปรับตัวเยอะมากและถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นปกติไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่ต้องกรอบความคิดให้ได้ว่าหลายอย่างไม่เหมือนเดิม เพื่อให้มีโอกาสมากขึ้น เอาสถานการณ์นี้มาเปลี่ยนให้เราเข้มแข็งขึ้น ถ้าไม่ทำก็ถือว่าเป็นความผิดพลาด การปรับตัวเราทำงานหนักขึ้น แต่มองว่าวิกฤตเป็นโอกาสทำให้เราเข้มแข็งขึ้น  

ปรับตัวต้อง “ทำทันที”

สิ่งที่เราปรับเปลี่ยนเวลาเราเจอกับสถานการณ์แบบนี้ คือ ก่อนอื่น เราต้องเซฟลูกค้า รักษาพนักงาน และครอบครัวเขาอย่างไรให้พ้นวิกฤตได้ อันนี้ คือ สิ่งที่เราต้องทำทันที โอเปอเรชั่นของเราอย่างเรื่องอาหาร เราต้องมีการกักตัว หรือกระบวนการทำให้พนักงานในโรงงานไม่ติดโควิด ต้องอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัยจากโควิด เป็นต้น 

กรณีค้าปลีกต้องปรับเปลี่ยนในบางพื้นที่ปิดเร็วไม่มีนักท่องเที่ยว เราก็ต้องปรับ  เพราะไม่มีนโยบายปรับลดพนักงาน ต้องเดินหน้าต่อ ออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ส่งถึงบ้าน โดยเฉพาะโลจิสติกส์เป็นเรื่องสำคัญมาก ล้วนเป็นเรื่อนที่เราปรับเปลี่ยนทั้งหมด โยกย้ายพนักงานไปทำเรื่องใหม่ก็ปรับตัวหลายอย่าง 

หรือด้านโทรคมนาคม รายได้จากนักท่องเที่ยวมีมูลค่าหายไป 7-8% ขณะเดียวกันคนก็หันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีบวกมีลบ เราก็ต้องทำ “โซลูชั่นด้านซอฟต์แวร์” เพื่อให้คนทำงานที่บ้านได้ เรียนหนังสือที่บ้าน หาหมอออนไลน์จากบ้าน ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ช่วยแก้ไขปัญหา ธุรกิจด้วย ถือเป็นการเข้าปฏิรูปหรือทรานส์ฟอร์มเข้าสู่ยุคที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนมากขึ้น เพราะวิถีชีวิต วิถีธุรกิจคนเปลี่ยนไป  

เราก็ต้องมองภาพระดับภูมิภาคมากขึ้น เรามีธุรกิจในหลายประเทศกว่า 20 ประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะในภาคพื้นเอเชีย เราก้ต้องมองตลาดที่เหลือปรับจตัวอะไรบ้างปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ธุรกิจซึ่งได้คุยกันมาตลอดกับทุกหน่วยธุรกิจ  

SMEs อยู่ไม่ได้ รายใหญ่อยู่รอด 

ผมมองว่าไม่ใช่ว่าเอสเอ็มอีอยู่ไม่รอดแล้วรายได้ใหญ่ไปรอด ถ้าเรามองว่าอุตสาหกรรมที่ได้ผลบวกจากโควิด-19 อย่างอีคอมเมิร์ซผู้เล่นที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริง คือ ผู้เล่นระดับโลกอย่าง ลาซาด้า ช้อปปี้ อเมซอน อาลีบาบา ซึ่งกลับทำให้ค้าปลีกในประเทศโมเดิร์นเทรดทำงานหนักขึ้น หันไปออนไลน์มากขึ้น เป็นต้น 

เพราะฉะนั้นได้รับผลกระทบทั้งหมด จริง ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบหมด อุตสาหกรรมทั่วโลกกระทบหมด ยกเว้น ธุรกิจออนไลน์อีคอมเมิร์ซ และ Tech Industry จากการที่คนใช้เทคโนโลยีมากขึ้นในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก อย่างอเมริกา ขณะที่ทุกอุตสาหกรรมถดถอยยากจะเติบโต ถ้ามองประเทศที่เป็นทุนใหญ่ที่สุดก็ยังเหนื่อยเลย

การช่วยเหลือสังคมของ ซี.พี.

เรามีความสามารถเรื่องการผลิตเพราะผลิตอาหารโรงงานมีความสะอาด เรามี “โครงการครัวปันอิ่ม” แจกอาหาร 1 ล้านกล่อง และร่วมร้านอาหารขนาดเล็กอีกว่าพันกว่าร้าน ให้ทุนสนับสนุนทุนเขาทำอาหารแจกในชุมชนรวม  2 ล้านกล่อง ซึ่งจะทำต่อเนื่องไปอีก 

ในเวลาเดียวกันก็มีเรื่องสมุนไพรที่ช่วยรักษาได้ เราก็มาทำ โดยตั้งใจผลิตยาฟ้าทลายโจรให้ได้ 30 ล้านแคปซูล ถึง 100 ล้านแคปซูลเป็นวิธีการป้องกันโควิด-19 

และโรงพยาบาลสนามทำ 3 แห่ง เสร็จไปแล้ว 2 แห่งส่วนที่ 3 ทำ 600 เตียงรวมแล้วหากเสร็จทั้งหมดจะมี 1,200-1,300 เตียง เป็นความร่วมมือจาก WHA แวร์เฮาส์ร่วมมือกับโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลจุฬารัตน์ โรงพยาบาลเลิดสินเป็นกระทรวงการอุดมศึกษาฯ นี่เป็นมาตรการต่าง ๆ ที่เราคิดว่าทำและช่วยอะไรส่วนรวมได้บ้าง  

ขับเคลื่อนลงทุนเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันประเทศ

ความสามารถในการแข่งขันคงต้องพูดว่ามันขึ้นอยู่กับตัวเราด้วย อย่างถ้าถามโควิดทำให้เครือ ซี.พี.อ่อนแอลงไหม ตอบว่าอ่อนแอลง แต่ก็ทำให้แข็งแรงขึ้นมีศักยภาพสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ดังนั้น อยู่ที่ว่าประเทศไทยเราปรับตัวเร็วแค่ไหน และมองไปถึงโอกาสหลังโควิด หรือแม้กระทั่งระหว่างนี้ก็มีอะไรเยอะที่ต้องทำ ก่อนโควิดเราแข็งเรื่องอะไรเรื่องท่องเที่ยว เกษตร และสินค้าที่เกิดจากเกษตร เรื่องส่งออกในบางเรื่องอย่างอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ออโตเมชั่น เราพูดได้ว่าเราแข็งในด้านการแพทย์เช่นกันในระดับภูมิภาค

ถ้ามองภาพตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหญ่มี 3 ตัวหายไป  1 ยังเหลืออีก 2 คือ ส่งออก และเกษตร ดังนั้น ถ้าเครื่องยนต์ตัวใหญ่ที่ดับไปเราจะหาอะไรมาทดแทน ชดเชย และเพิ่มศักยภาพ ซึ่งเราก็เห็นนโยบายภาครัฐอย่างการลุยอีอีซี (เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) และเริ่มมีการผลักดัน SEC (เขตเศรษฐกิจภาคใต้) การสร้างแลนด์บริดจ์โลจิสติกส์ข้ามระหว่างมหาสมุทร เป็นเครื่องยนต์ใหม่

ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ 

เราจะฟื้นเศรษฐกิจอย่างไรจะ “ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ” ให้กลับมาเติบโตได้โดยเร็ว ก็คือ การลงทุนใหม่ ในเรื่องพื้นฐานใหม่ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน สร้างกระบวนการให้เอกชนปรับตัวทั้งขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี รวมถึงการดึงดูดการลงทุนเพราะถ้าเม็ดเงินเข้ามาในประเทศเหนือกว่าประเทศอื่น เพราะว่าเราป็นศูนย์กลางไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ อุตสาหกรรม 4.0 มาลงที่อีอีซี ตัวนี้จะทำให้ระบบเศรษฐกิจ เราเกิดการฟื้นตัวเร็ว

เมื่อเม็ดเงินไหลเข้ามาทุนใหญ่เข้ามา สิ่งที่ตามมาด้วยคือบุคลากรและทรัพยากรทางด้านข้อมูล ด้านซอฟต์แวร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้มาพร้อม ๆ กัน ASSET ที่แท้จริงคือทรัพยากรบุคคล เพื่อฟอร์มตัวเองให้พร้อมเข้าสู่ยุค 4.0 

การดึงดูดการลงทุนอย่างเรื่องพร็อพเพอร์ตี้ที่จะให้ต่างประเทศ ลงทุน 1 ล้านเหรียญ ในอสังหาริมทรัพย์ ตอนนี้คนไทยซื้อบ้านที่ดินทรัพย์สินในอังกฤษ อเมริกา ได้หมดแล้วแต่เราต้องเสียภาษีให้ที่นั่น อย่างที่อังกฤษเขาจะใช้รูปแบบที่ว่าหากซื้อบ้านแล้วเราไปขายขาดขาดทุน ถ้าเรากลับไปลงทุนใหม่จะสามารถนำส่วนที่ขาดทุนไปหักภาษีได้ เป็นต้น ซึ่งมันมีมาตรการหลายอย่างที่จะดึงดูดการลงทุน

ที่ผ่านมาในส่วนของรัฐบาลเอง มีการเปิดรับฟังความเห็นภาคเอกชนโดยผ่านทางองค์กรสถาบัน อย่างหอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาดิจิทัล และสภาอื่น ๆ อีกทางด้านเทรด ทางด้านโลจิสติกส์ซึ่งมันเป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะเป็นเสียงสะท้อนผ่านไปยังภาครัฐ อย่างการที่ผมเข้าไปอยู่ในคณะทำงาน ศบศ. ตรงนี้ก็มีโอกาศได้ฟีดแบ็กบ้างเป็นระยะ ๆ 

การพลิกฟื้นความเชื่อมั่นกลับมา

ในฐานะเอกชนนั้นซึ่งเอกชนทุกคนมั่นใจ ด้วยการผนึกกำลังกันทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ในเวลาเดียวกันเราก็ต้องผนึกกำลังกับทางรัฐว่าจะปรับกันอย่างไรถึงจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางได้ด้วยการ “ดึงกันเป็นลูกโซ่” ขึ้นไปทั้งรายใหญ่รายเล็ก แต่ถ้าเราคิดเหมือนเดิมไม่ทำอะไรเลยให้กับภูมิภาคให้โลก หรือเป็นศูนย์กลางเรื่องอะไร ถ้าเราเป็นศูนย์กลางเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ หรือ 2-3 เรื่องไม่ได้ เท่ากับว่าเราอาศัยอยู่บนเศรษฐกิจที่มีอยู่แต่ไม่สร้างประโยชน์ ให้กับระดับโลกหรือรดับภูมิภาคต่างประเทศ จะทำให้เค้าเข้ามาแข่งขันในบ้านเรา 

ถ้าเราเป็นฝ่ายตั้งรับเราก็ไม่สามารถที่จะแข่งขันได้ “การตั้งรับที่ดีที่สุดคือการรุก” แต่ถ้าเราตั้งรับเราจะรู้ว่าเราเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคเรื่องอะไรบ้าง เช่น เรารู้ว่าหลังโควิดจะเข้าสู่ยุค 4.0 เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ ออโตเมชั่น แต่เราไม่เคยสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือ ระบบนิเวศที่จะดึงดูดนักลงทุนที่เป็นเทคโนโลยีระดับโลกมาลงทุนในประเทศไทย และเอกชนไทยเองก็ไม่ลงทุนเทคโนโลยี รัฐบาลก็ไม่ลงทุนในมหาวิทยาลัย สร้างโรงเรียนเทคโนโลยีที่ดีระดับโลก หรือสร้างอินโนเวชั่นเซ็นเตอร์ที่ดีระดับโลก 

อย่างหลายประเทศช่วงโควิดเขาเข้าสู่เทคโนโลยีใส่บัดเจตเข้าไปในเรื่องของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอวกาศเป็นการคิดนอกรอบเพราะเขามองเรื่องการส่งคนออกไปดาวอื่น 

ถ้าเราจะเป็นคิดว่าฮับด้านอินโนเวชั่นเซ็นเตอร์ด้านเทคโนโลยี ถ้าทำได้และจับมือไปกับมหาวิทยาลัยหลัก ๆ กลายเป็นยิงปืนนัดเดียวได้นก 3 ตัว คือ 1.ได้อุตสาหกรรม 4.0 จากต่างประเทศเขามาเพราะเข้าเชื่อมั่น 2.ได้เป็นเซ็นเตอร์เป็นฮับด้านเทคโนโลยีในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3.เรากลายเป็นเอดดูเคชั่นฮับ (Education Hub) 

ดังนั้น เทคโนโลยีคือระบบนิเวศที่สำคัญที่จะทำให้มันเปลี่ยนแปลงและเราจะก้าวไปเป็นระดับโลก และจะทำให้เกิดสตาร์ตอัพขึ้นมา เราเห็นความสำคัญเรื่องสตาร์ตอัพที่ต้องมีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและเราเอาเทคโนโลยีต้องมาดิสรัประบบเศรษฐกิจด้วยทั้ง 2.0 และ 3.0 มันต้องมาทดแทน  เป็นที่น่าดีใจที่จากการสำรวจสตาร์ตอัพทั่วโลกพบว่าไทยคือ 1 ใน 3 ประเทศที่เขาอยากเข้ามาตั้งบริษัท แต่ระบบนิเวศด้านภาษีของเรายังไม่เอื้อแม้ในไทยการตั้งกองทุน (VC) สตาร์ตอัพขึ้นมาแต่ระบบการเก็บภาษี การขาดทุนต่างๆ ยังไม่เอื้อถ้าไทยปรับเปลี่ยนระบบจะทำให้การลงทุนเข้ามามากกว่านี้ไหลมา  

การจับมือกับแบงก์ใหญ่ตั้งกองทุนเวนเจอร์แคปปิตอล (VC) เพื่อไปลงทุนสตาร์ตอัพทั่วโลก 

ถ้าเราต้องลงทุนไปด้วยและได้รีเทิร์นด้วยจะดีแค่ไหน และยังเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจจะทำให้เรามีโอกาสมากขึ้น เท่ากับประเทศมีโอกาสมากขึ้นเพราะเราก็มีสิทธิประโยชน์ที่ว่าจะทำอย่างไรให้เขาเข้ามาลงทุนเพราะเรามีทุนให้ แต่เอกชนจะเดินคนเดียวไม่ได้ต้องผนึกกำลังกับทางภาครัฐเพื่อให้ประเทศไทยเป็นฮับเรื่องนี้ให้ได้  

คำแนะนำสำหรับ SMEs

ผมคิดว่าเอสเอ็มอีต้องปรับตัว มองตลาด อย่างเรื่องเกษตรปีที่แล้วไทยส่งออกผลไม้ไปจีนในปีที่ผ่านมา ประมาณแสนล้านบาท ขนาดคัดเกรดแบบตามมีตามเกิด แค่ 2% ที่พอจะส่งออกได้ ที่เหลือเสียหายเต็มไปหมด ผมมองว่าแค่ตลาดจีน ทำเรื่องผลิตภัณฑ์ผลไม้ต่อยอดไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างมาตรฐาน การสร้างแบรนด์ เฉพาะตลาดจีนประเทศเดียวทำให้เราปฎิรูประบบเกษตร  ถ้า SMEs มองว่าตลาดนี้มันยิ่งใหญ่เศรษฐกิจจีนก็โตขึ้นเรื่อยๆ ระบบเศรษฐกิจจีนมีมูลค่าถึง 15 ล้านล้านเหรียญภายในไม่เดิน 5 ปีซึ่งอาจแซงอเมริกา ถ้าเราจับตลาดได้ถูกจุดทำอะไรที่เขาทำไม่ได้แล้วเราทำได้ดีกว่า แล้วยกมาตรฐาน สร้างแบรนด์ผลไม้ไทยเมดอินไทยแลนด์เอามาปัดฝุ่นใหม่ ให้รู้ว่าอย่างจะซื้อไวน์ต้องซื้อจากฝรั่งเศส เป็นต้น 

และอย่างอินเดียที่มีประชากร 1300 คน และอีกไม่เกิน 5 ปีประชากรอินเดียอาจจะแซงจีน เศราฐกิจอินเดียน่าจะใหญ่เป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลก มูลค่า 2 ล้านล้านเหรียญ ส่วนอาเซียน 7 ประเทศรวมกันมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับอินเดีย หากเรามองตลาดของเศรษฐกิจที่กำลังโตขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรามองโอกาสเหล่านี้ โอกาสการทำตลาด ปรับตัวให้เข้ากับตลาดนั้น 

“เราต้องมีจุดแข็งเรื่องอะไร มีศักยภาพตรงไหน ตลาดคือที่ไหนกำลังจะโต แล้วเราควรจะปรับตัวอย่างไร หากเรามองว่าสินค้าที่เรามีกำลังถดถอย ต้องลงทุนใหม่ปรับใหม่ทรานส์ฟอร์มตัวเอง อัพสกิล รีสกิล คนเก่า เพราะข้อดีคือ ธุรกิจ SMEs สามารถปรับตัวได้เร็วกว่าธุรกิจใหญ่ได้หลายเท่า และ SMEs ไม่ต้องไปเริ่มต้นจากศูนย์เหมือนสตาร์ตอัพ”