
โดย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)
ลงทุนตราสารหนี้ต้องจ่ายภาษีไหม
สำหรับผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาเมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะลงทุนเองโดยตรงในตลาดแรกหรือซื้อต่อจากผู้ลงทุนอื่นในตลาดรอง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ ผลตอบแทนรูปแบบใดต้องเสียภาษีและอัตราเท่าไหร่ สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
ผู้ลงทุนธรรดาลงทุนเองโดยตรง
ดอกเบี้ย กรณีตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flxed-rate bond)
- เปิดชื่อ 10 อันดับโรงเรียนดัง กทม. นักเรียนแห่สมัครสอบเข้า ม.1 สูงสุด
- Café Amazon เฉลยเอง ไวรัลนกหน้าร้านสะดวกซื้อ กำลังจะเกิดอะไรขึ้น?
- ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เสียชีวิต อายุ 55 ปี หลังซ้อมแข่งรถที่บุรีรัมย์
- หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
- สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ส่วนลดจากราคาหน้าตั๋วกรณีตราสารหนี้ไม่จ่ายดอกเบี้ย (Zero coupon bond)
- หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เฉพาะผู้ทรงคนแรก
- สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กำไรจากการขาย
- หักภาษี ณที่จ่าย 15%
- สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้
เงินปันผล
- หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
- ยกเว้นกองทุนรวมตราสารหนี้100%
- สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กำไรจากการขายหน่วยลงทุน
- ได้รับการยกเว้น
หมายเหตุ : นักลงทุนที่มีฐานภาษีไม่ถึง 15% สามารถขอคืนภาษีได้ โดยจะต้องนำรายได้ดอกเบี้ยทุกประเภทที่ได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ยงินฝาก และดอกเบี้หุ้นกู้ มารวมคำนวนในการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ในขณะที่หากลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ นักลงทุนจะไม่สามารถขอคืนภาษีได้แม้ว่าจะมีฐานภาษีไม่ถึง 15% เพราะผู้เสียภาษีคือกองทุนรวม ไม่ใช่นักลงทุน